简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
ตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตาม
วันอังคารที่ 05 ธ.ค. 2023
•22.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการบริการสหรัฐฯ (ISM Services PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 51.8 ตัวเลขคาดการณ์ 52.5
•22.00 น. : ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่สหรัฐฯ (JOLTS Job Openings)
ตัวเลขครั้งก่อน 9.55M ตัวเลขคาดการณ์ 9.33M
วันพุธที่ 06 ธ.ค. 2023
•20.15 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรหรัฐฯโดย ADP (ADP Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 113K ตัวเลขคาดการณ์ 120K
วันพฤหัสบดีที่ 07 ธ.ค. 2023
•20.30 น. : ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 218K ตัวเลขคาดการณ์ 221K
วันศุกร์ที่ 08 ธ.ค. 2023
•20.30 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ (Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 150K ตัวเลขคาดการณ์ 185K
•20.30 น. : อัตราการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Rate)
ตัวเลขครั้งก่อน 3.9% ตัวเลขคาดการณ์ 3.9%
•22.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิชิแกนสหรัฐฯ (Prelim UoM Consumer Sentiment)
ตัวเลขครั้งก่อน 61.3 ตัวเลขคาดการณ์ 62.0
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ให้แนวโน้มค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ที่ 34.35-35.15 บาทต่อดอลลาร์ โดยควรจับตาไฮไลท์สำคัญ อย่าง รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่อาจสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินได้ และรอติดตาม รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของไทย
นับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน ก่อนที่จะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (แกว่งตัวในกรอบ 34.72-35.20 บาทต่อดอลลาร์) หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่าง ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรม ออกมาแย่กว่าคาด อีกทั้งถ้อยแถลงของประธานเฟด ก็ยังไม่สามารถทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมากังวลต่อโอกาสที่เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยต่อได้
ส่งผลให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และส่วนราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ (All-time High) ซึ่งทำให้ผู้เล่นบางส่วนในตลาดทยอยขายทำกำไรทองคำ โดยโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท
ส่วนเงินดอลลาร์นั้น มองว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้น หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมออกมาดีกว่าคาดและชี้ว่าเฟดอาจไม่รีบลดดอกเบี้ยได้เร็วและลึกอย่างที่ตลาดกำลังคาดการณ์อยู่
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) ในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทั้ง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) รวมถึง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment)
ทั้งนี้หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมาประเมินว่า เฟดมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสที่เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งภาพดังกล่าวจะส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น
โดยมองว่า ควรระวังความเสี่ยงดังกล่าว เนื่องจาก หากพิจารณาจาก CME FedWatch Tool จะเห็นได้ว่า ผู้เล่นในตลาดได้หวังว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนมีนาคม และอาจลดดอกเบี้ยลงได้ราว -125bps ในปีหน้า ซึ่งถือว่า เป็นมุมมองที่ยังไม่ได้สอดคล้องกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดมากนัก
2. ฝั่งยุโรป – ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE และ ECB โดยล่าสุดผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ต่างมองว่า ทั้ง BOE และ ECB มีโอกาสลดดอกเบี้ยลงในปีหน้าไม่น้อยกว่า -75bps หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อล่าสุดชะลอตัวลงชัดเจน นอกจากนี้ หากรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในสัปดาห์นี้ หดตัวลงต่อเนื่อง ก็อาจยิ่งย้ำมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาด และอาจส่งผลกดดันให้สกุลเงินฝั่งยุโรป โดยเฉพาะเงินยูโร (EUR) อ่อนค่าลงได้บ้าง
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงการที่ค่าเงินเริ่มมีเสถียรภาพและแข็งค่าขึ้นจะหนุนให้ทั้งธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) และธนาคารกลางอินเดีย (RBI) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4.35% และ 6.50% ตามลำดับ ส่วนในภาพเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศของจีน (Exports & Imports) เพื่อประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
4. ฝั่งไทย – ความไม่แน่นอนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ Digital Wallet อาจทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนพฤศจิกายน ย่อลงเล็กน้อย ทว่าโดยรวมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัวได้ดี และเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพฤศจิกายน ทรงตัวใกล้ระดับ 0.60% มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงการย่อตัวลงของราคาพลังงาน และระดับฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงในปีก่อนหน้า จะกดดันให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ยังคงอยู่ที่ระดับ -0.30% อย่างไรก็ดี มองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการปรับนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในระยะสั้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มทยอยปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท. ทำให้ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินแบบ Outlook Dependent ธปท. อาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ไปจนถึงปี 2025
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
.
เปิดประสบการณ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพ ด้วยแอปพลิเคชัน Wikitrade ดาวน์โหลดตอนนี้รับบัญชีเทรดทดลอง 100,000 USD ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์มือใหม่หรือมีประสบการณ์มาก่อน Wikitrade จะพาคุณไปสู่โลกของการลงทุนอย่างมืออาชีพ!
ดาวน์โหลด WikiTrade เลย : https://wikitrade.onelink.me/kGMJ/1dvgd5o3
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ในปีนี้ อย่าลืมว่า การสร้างวินัยในการเทรด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เสร็จได้ในวันเดียว มันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความสำเร็จในการเทรดจะไม่เกิดขึ้นจากการกระทำที่หุนหันพลันแล่น แต่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตัวเอง และการทำตามแผนอย่างเคร่งครัด
ช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ อย่าประมาทครับ! แม้ตลาดจะดูสงบ แต่ความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ก็มีมาก หากเป็นไปได้ควรปิดพอร์ตพักไว้ก่อน แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่หลังวันหยุดจะปลอดภัยที่สุด เทรดให้รอบคอบนะครับนักเทรดทุกท่าน!
บทวิเคราะห์ทองคำ
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์
FxPro
Vantage
OANDA
VT Markets
ATFX
TMGM
FxPro
Vantage
OANDA
VT Markets
ATFX
TMGM
FxPro
Vantage
OANDA
VT Markets
ATFX
TMGM
FxPro
Vantage
OANDA
VT Markets
ATFX
TMGM