简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ก.ล.ต.เผยแพร่บทความ “Climate Strategy กลยุทธ์บริหารพอร์ตในภาวะโลกรวน" ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสการเติบโตของเงินลงทุนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)
ก.ล.ต.เผยแพร่บทความ “Climate Strategy กลยุทธ์บริหารพอร์ตในภาวะโลกรวน” ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสการเติบโตของเงินลงทุนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change)
วันนี้ผู้เขียน ขอชวนมาทำความเข้าใจกลยุทธ์การลงทุนที่คำนึงถึงความเสี่ยงและโอกาสจาก climate change ที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุน เช่น บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เป็นต้น สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการลงทุนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อช่วยให้ผลการดำเนินงานของกองทุนมีความยืดหยุ่นต่อผลกระทบจาก climate change และเติบโตได้อย่างยั่งยืน สะท้อนการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนในฐานะผู้รับบริหารจัดการทรัพย์สินของผู้ลงทุน
ความเสี่ยง โอกาส และกลยุทธ์การลงทุนพิชิต climate change
อาจกล่าวได้ว่า หนึ่งในความเสี่ยงหลักของธุรกิจจัดการลงทุนคือ การละเลยของผู้บริหารจัดการลงทุนในการพิจารณาปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการ ซึ่งความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate risk) เป็นความเสี่ยงทางการเงินที่มิอาจละเลยได้ เพราะสามารถส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรของกิจการที่กองทุนลงทุน ดังนั้น การที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนคำนึงถึงความเสี่ยงและโอกาสจาก climate change ของกิจการที่กองทุนลงทุน นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการแล้ว ยังถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนเองด้วย ‘Strategy’ หนึ่งในองค์ประกอบหลัก (pillar) ภายใต้กรอบคำแนะนำของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures : TCFD) และ International Sustainability Standards Board (ISSB) ซึ่งเป็นคณะทำงานและหน่วยงานที่ดูแลด้านมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศและความยั่งยืนของบริษัท ตามลำดับ โดย TCFD และ ISSB ได้แนะนำให้ผู้บริหารจัดการลงทุนดำเนินการเพื่อลดผลกระทบของ climate change ต่อทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการ ดังนี้
1) ผนวกความเสี่ยงและโอกาสจาก climate change ในกลยุทธ์การลงทุน หรือผลิตภัณฑ์การลงทุน
2) คำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำที่มีต่อกลยุทธ์การลงทุน หรือผลิตภัณฑ์การลงทุน
อย่างไรก็ดีแต่ละกลยุทธ์การลงทุนหรือผลิตภัณฑ์การลงทุนอาจได้รับความเสี่ยงและโอกาสจาก climate change ในรูปแบบและระดับที่แตกต่างกัน ผู้เขียนจึงขอหยิบยกบางวิธีการที่ผู้บริหารจัดการลงทุนสามารถนำไปใช้ในการ ระบุประเด็นความเสี่ยงและโอกาสจาก climate change ในการบริหารจัดการลงทุนตามแนวทางของ TCFD ดังนี้
• วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) : การระบุกลุ่มอุตสาหกรรมที่มี climate risk สูง[1] เพื่อประเมินว่ากองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวหรือไม่ โดยผู้บริหารจัดการลงทุนอาจพิจารณาผลกระทบต่อกิจการในห่วงโซ่ทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ด้วย เพื่อให้การวิเคราะห์มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
• วิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative approach) : การใช้การจัดอันดับ climate risk ของกิจการ ที่อาจจัดทำโดยบุคคลที่ 3 เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อกองทุนหากลงทุนในกิจการที่มี climate risk สูงกว่ากิจการอื่น ๆ
• วิธีการพิจารณาตามประเภททรัพย์สินต่าง ๆ (Asset class approach) อาทิ
ตราสารทุน และตราสารหนี้ของภาคเอกชน: การประเมินผลกระทบทางการเงินของกิจการจากความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risk) และความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (transition risk)[2] พร้อมกับการพิจารณากลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ และการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อพิจารณาการตอบสนองต่อ climate risk
ตราสารหนี้ภาครัฐ: การพิจารณาอันดับประเทศตามดัชนีการเกิดคาร์บอน (carbon intensity) หรือสัดส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศที่ออกตราสาร
Active หรือ Passive Fund ก็บริหารจัดการ climate risk ได้เช่นกัน
กองทุนอาจมีแนวทางการบริหารแบบเชิงรุก (active) หรือเชิงรับ (passive) ตามกลยุทธ์ที่ผู้บริหารจัดการลงทุนใช้ในการบริหารจัดการกองทุนนั้น ๆ แต่ไม่ว่าจะบริหารแบบ active หรือ passive ก็สามารถบริหารจัดการ climate risk ของกองทุนได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น
• กรณี Active Fund: อาจมีการให้น้ำหนักการลงทุนเน้นไปยังกิจการที่มีความก้าวหน้าด้านการลดการปล่อยคาร์บอน และลดน้ำหนักการลงทุนในกิจการที่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
• กรณี Passive Fund: อาจใช้ดัชนีอ้างอิง (index) ที่สอดรับกับเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เช่น Paris Aligned Benchmark เป็นต้น หรือการลงทุนในตราสารหนี้สีเขียว (Green bonds) ที่มีวัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุน เพื่อช่วยลดปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ
ทั้งนี้ สามารถศึกษาแนวทางการผนวกโอกาสและความเสี่ยงจาก climate change และตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ ก.ล.ต.
ท้ายนี้ climate change เริ่มส่งผลกระทบที่เด่นชัดและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นำมาซึ่งการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงถือเป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงหวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดการลงทุนมีความตื่นตัวต่อประเด็นความเสี่ยงและโอกาสจากสถานการณ์ที่เกี่ยวกับ climate change ที่เป็นสาระสำคัญต่อการปกป้องทรัพย์สินของผู้ลงทุนจากความเสี่ยงดังกล่าว พร้อมไปกับการพิจารณาจัดสรรเงินลงทุนในกิจการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ สะท้อนการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และช่วยให้เราสามารถส่งต่อโลกที่ดีกว่าให้คนรุ่นถัดไปได้
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ในปีนี้ อย่าลืมว่า การสร้างวินัยในการเทรด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เสร็จได้ในวันเดียว มันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความสำเร็จในการเทรดจะไม่เกิดขึ้นจากการกระทำที่หุนหันพลันแล่น แต่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตัวเอง และการทำตามแผนอย่างเคร่งครัด
ช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ อย่าประมาทครับ! แม้ตลาดจะดูสงบ แต่ความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ก็มีมาก หากเป็นไปได้ควรปิดพอร์ตพักไว้ก่อน แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่หลังวันหยุดจะปลอดภัยที่สุด เทรดให้รอบคอบนะครับนักเทรดทุกท่าน!
บทวิเคราะห์ทองคำ
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์
TMGM
FxPro
IQ Option
FOREX.com
Neex
STARTRADER
TMGM
FxPro
IQ Option
FOREX.com
Neex
STARTRADER
TMGM
FxPro
IQ Option
FOREX.com
Neex
STARTRADER
TMGM
FxPro
IQ Option
FOREX.com
Neex
STARTRADER