简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:รู้ก่อนหลงกล! 10 รูปแบบธุรกิจที่มิจฉาชีพมักหลอกให้ลงทุน
ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย! โจรออนไลน์หลอกลงทุน โดยจากสถิติการรับแจ้งความฯ พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึงปัจจุบัน มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์กว่า 23,200 ราย สูงเป็นลำดับที่ 4 ของจำนวนเรื่องที่ได้รับแจ้งความทั้งหมด พบว่ามีมูลค่าความเสียหายกว่า 11,200 ล้านบาท สูงที่สุดเป็นลำดับที่ 1
จากข้อมูลของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) พบว่า มิจฉาชีพมักจะใช้วิธีการสร้างเว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันปลอม หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ปลอม นำเสนอข้อมูล ตัดต่อ คัดลอก ภาพบุคคลที่มีชื่อเสียง องค์กรหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ ประกาศโฆษณาชักชวนบุคคลทั่วไปให้มาลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ การันตีจะได้รับผลตอบแทนสูงในเวลาอันรวดเร็ว ใช้คำโฆษณาที่สวยหรู เช่น เป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุน เพื่ออนาคตที่ดีกว่า กล้าคิด กล้าลงทุน เพียงแค่เปิดใจ
นอกจากนี้มิจฉาชีพจะใช้การเทคนิคการซื้อโฆษณาเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงเป้าหมาย และในระหว่างนั้นเหยื่อจะได้พูดคุยกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน พูดคุย โน้มน้าวใช้จิตวิทยาล่อลวงให้เหยื่อลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เพิ่มสูงขึ้น
อุบายของคนร้ายท้ายที่สุดอ้างว่าเหยื่อทำผิดกฎต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถถอนเงินจากระบบได้
นอกจากนี้แล้วการลงทุนนั้นอาจจะเข้าข่ายเป็นแชร์ลูกโซ่ โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีการสร้างภาพว่าตน หรือธุรกิจของตนประสบความสำเร็จ ซึ่งในช่วงแรกเหยื่อก็จะได้รับผลตอบแทนจริงตามที่กล่าวอ้าง จากนั้นเหยื่อจะเกิดความโลภลงทุนเพิ่มเป็นจำนวนมาก และยังไปชวนบุคคลอื่นมาร่วมลงทุนด้วย ซึ่งมิจฉาชีพก็นำเงินมาหมุนจ่ายค่าตอบแทนแก่สมาชิกอื่นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีจำนวนสมาชิก และเงินลงทุนเป็นจำนวนมากแล้ว ก็จะหลบหนีไป รวมไปถึงการเข้าหาเหยื่อด้วยแอปพลิเคชันหาคู่ และใช้คำหวานโรแมนติกหลอกลวงเหยื่อ
10 รูปแบบธุรกิจที่มิจฉาชีพนำมาหลอกลวงลงทุน ดังนี้
1. สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ฝากซื้อขายเหรียญในเว็บไซต์ปลอม หลอกให้ลงทุนซื้อเหรียญสกุลใหม่ๆ แต่สุดท้ายไม่ได้เข้าตลาดซื้อขาย ธุรกิจการขุดเหมืองสกุลเงินดิจิทัล หรือการเช่าหรือซื้อกำลังขุดสกุลเงินดิจิทัล (Cloud Mining)
2. อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ (Forex) หลอกลงทุนเก็งกำไร
3. ทองคำ เพชร
4. หุ้นต่างประเทศ
5. หุ้น กองทุนรวม ในประเทศ เช่น Amata, Gulf, PTT, CPALL, บางจาก, AOT เป็นต้น
6. อสังหาริมทรัพย์
7. สินค้าอุปโภค เช่น คดีลงทุนฟาร์มเห็ด Turtle Farm, คดีลงทุนผักผลไม้ตลาดสี่มุมเมือง
8. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น คดี พรีมายา (Primaya)
9. โควตาสลากกินแบ่งรัฐบาล
10. ลงทุนเล่นการพนันออนไลน์
ที่มา : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบไหน ก่อนลงทุนควรหาข้อมูล ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน อย่าใจร้อน และอย่าหลงคารมคำอวดอ้าง เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพมีมากมาย ต้องระวังกันให้ดี และหากต้องการหาข้อมูลทางด้าน Forex สามารถเข้ามาอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ และตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM Group: โบรกเกอร์ชั้นนำ ได้รับการยกย่องในด้านประสบการณ์และการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม
บทความนี้นำเสนอมุมมองใหม่เกี่ยวกับการ "ล้างพอร์ต" ในฐานะบทเรียนสำคัญสำหรับนักเทรด โดยชี้ให้เห็นข้อดีที่ช่วยเตือนสติ ลดความประมาท ทบทวนความผิดพลาด และฝึกความอดทนเพื่อพัฒนาตนเองในเส้นทางการเทรด พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาต เพื่อป้องกันความเสี่ยงเพิ่มเติม โดยแนะนำแอป WikiFX เป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์อย่างครบถ้วน.
17 ข้อคิดดี ๆ จากหนังสือ
การวางแผนการเทรด Forex อย่างมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดทุกท่านประสบความสำเร็จในระยะยาว อย่าลืมว่าแผนการเทรดที่ดีจะช่วยปกป้องคุณในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน และเป็นเครื่องมือสำคัญในช่วงที่ตลาดเอื้อต่อการทำกำไร
XM
FxPro
Vantage
ATFX
OANDA
IQ Option
XM
FxPro
Vantage
ATFX
OANDA
IQ Option
XM
FxPro
Vantage
ATFX
OANDA
IQ Option
XM
FxPro
Vantage
ATFX
OANDA
IQ Option