简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดยรวมแล้วผลการประชุม Fed รอบล่าสุด เรียกได้ว่าเป็นไปในเชิงสายเหยี่ยว(Hawkish) และเป็นที่มาที่ทำให้ราคาทองคำดิ่งลง
โดยรวมแล้วผลการประชุม Fed รอบล่าสุด เรียกได้ว่าเป็นไปในเชิงสายเหยี่ยว(Hawkish) หรือสนับสนุนการคุมเข้มนโยบายการเงินมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และเป็นที่มาที่ทำให้ราคาทองคำสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 18 มิถุนายนปรับตัวลดลง -6% ทำสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2020
ที่มาที่ไปที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงแรง เนื่องจาก พาวเวลล์ ประธาน Fed ระบุว่า กรรมการ Fed ได้เริ่มหารือกันเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE Tapering)
ขณะที่ Economic Projections หรือการคาดการณ์เศรษฐกิจของ Fed สะท้อนมุมมองเชิงบวกมากขึ้น โดย Fed ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ พร้อมคงคาดการณ์อัตราว่างงานที่ระดับ 4.5% ในปีนี้ และคาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 3.8% และ 3.5% ในปี 2022 และ 2023 ตามลำดับ อีกทั้ง Fed ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้สู่ระดับ 3.4% ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมีนาคมที่ระดับ 2.4% และเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อสู่ระดับ 2.1% และ 2.2% ในปี 2022 และ 2023 ตามลำดับ
ที่สำคัญคือ Dot Plot หรือการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยจาก Fed ประจำเดือนมิถุนายนบ่งชี้ว่า Fed จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปี 2023 ซึ่งถือว่าเป็นการเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าการคาดการณ์ในเดือนมีนาคม
“จะเห็นได้ว่าผลการประชุม Fed รอบนี้เป็น Hawkish Surprise ที่ตอกย้ำแนวโน้มว่า Fed จะเริ่มชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินในไม่ช้านี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนุนดัชนีดอลลาร์จนกดดันราคาทองคำอย่างหนัก นั่นทำให้ราคาทองคำร่วงหลุดแนวรับทางจิตวิทยาบริเวณ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหลุดลงมาเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะ 50, 100 และ 200 วันจนกระตุ้นแรงขายทางเทคนิคเพิ่มเติม ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลดลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,761.13 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน”
ต้องยอมรับว่าแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่เปลี่ยนไปส่งผลกระทบต่อราคาทองคำอย่างมาก อย่างน้อยๆ ในตอนนี้คือ ทำให้ภาพรวมทางเทคนิคในระยะสั้นและระยะกลางมีการเปลี่ยนแปลง โดยระยะสั้นราคาทองคำมีการจบรอบขาขึ้นกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง ขณะที่ระยะกลางมีการจบรอบขาขึ้นและเปลี่ยนกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ Sideway Down อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี ทิศทางในระยะยาวของราคาทองคำยังคงเป็นไปในเชิงบวก ประกอบกับความเห็นของเจ้าหน้าที่ Fed ที่มีสิทธิ์โหวตนโยบายการเงิน อาทิ ประธาน Fed, รองประธาน Fed และประธาน Fed สาขานิวยอร์ก ยังคงเป็นไปในเชิงเป็นกลางถึง Dovish ขณะที่เส้นทางการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ในอนาคตยังคงเต็มไปด้วยความท้าทาย
ดังนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อและตลาดแรงงาน รวมไปถึงการคาดการณ์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ถือว่าจะยังคงมีบทบาทสำคัญที่จะกำหนดทิศทางราคาทองคำในระยะถัดไป
ทั้งนี้ หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงินของ Fed นั่นจะเป็นปัจจัยหนุนสกุลเงินดอลลาร์และกดดันราคาทองคำ แต่หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่ำแย่ลงหลังจากนี้ อาจส่งผลให้ชะลอแผนการต่างๆ ทั้งการดำเนินการต่างๆ ของ Fed ทั้งการปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE Tapering) และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป ซึ่งนั่นจะเป็นปัจจัยที่กลับมาสร้างแรงหนุนให้แก่ราคาทองคำ นักลงทุนจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนมากยิ่งขึ้น และติดตามข่าวสารประกอบการลงทุนอย่างใกล้ชิด
แนะนำฟีเจอร์ “การเปิดเผย” เราแนะนำถ้าคุณอยากดูรีวิวโบรกเกอร์จากผู้ใช้จริง สามารถกดเข้าไปที่ ‘การเปิดเผย’ และคุณจะเจอการร้องเรียนโบรกเกอร์ Forex จากทั่วทุกมุมโลก เพื่อที่คุณจะได้เลือกโบรกเกอร์ Forex ที่ไม่เกิดปัญหาให้คุณปวดหัวได้ ลองใช้ดู ถ้าโบรกที่คุณใช้โดนร้องเรียนบ่อย ๆ ควรพิจารณาเลยล่ะ ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM
Pepperstone
IC Markets Global
FP Markets
Vantage
FxPro
XM
Pepperstone
IC Markets Global
FP Markets
Vantage
FxPro
XM
Pepperstone
IC Markets Global
FP Markets
Vantage
FxPro
XM
Pepperstone
IC Markets Global
FP Markets
Vantage
FxPro