简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:หากย้อนไปวันนี้เมื่อ 24 ปีที่แล้ว 2 ก.ค. 2540 มีข่าวใหญ่ที่สั่นสะเทือนประวัติศาสตร์ไทย วันที่ “ฟองสบู่แตก” หลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย “วันที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากจดจำ”
หากย้อนไปวันนี้เมื่อ 24 ปีที่แล้ว 2 ก.ค. 2540 มีข่าวใหญ่ที่สั่นสะเทือนประวัติศาสตร์ไทย วันที่ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานที่สั่นคลอนได้นำประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในปี วันที่ “ฟองสบู่แตก” หลังการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย “วันที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากจดจำ”
ไทยเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงปี 10 ปีก่อนเกิดต้มยำกุ้ง เหตุผลหลัก ๆ เป็นเพราะการย้ายฐานผลิตของบริษัทใหญ่ ๆ มาในประเทศไทย และการส่งออกสินค้าสร้างรายได้เข้าประเทศ เมื่อเศรษฐกิจเติบโต ประเทศร่ำรวยขึ้น รัฐบาลจึงมีแนวคิดที่อยากจะให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค ในพ.ศ.2533 จึงเกิดแนวคิด “เสรีทางการเงิน” เพื่อให้การเคลื่อนย้ายเงินตราเป็นไปได้อย่างเสรี แทนที่จะจำกัดแบบเดิม เมื่อเศรษฐกิจไทยดี ใคร ๆ ก็อยากได้เงินบาท เงินบาทก็จะแข็งค่าขึ้น ซึ่งถ้าหากแข็งไปมาก ๆ ถึงขั้น 15-20 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สินค้าไทยก็จะแพง ส่งออกยาก รัฐจึงแก้ปัญหานี้ด้วยนโยบายตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไปไว้ที่ 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์
ประเทศไทยพยายามต่อสู้กับกลไกเหล่านี้ด้วยการเอาเงินสำรองระหว่างประเทศมาซื้อเงินดอลลาร์หรือเงินบาทกลับในปริมาณเท่า ๆ กัน เพื่อให้ความผันผวนไม่มากจนเกินไปนัก ในทางกลับกัน หากมีคนมาแลกเงินบาทเป็นดอลลาร์สหรัฐมาก ๆ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องเอาเงินดอลลาร์สหรัฐไปแลก แลกไปเรื่อย ๆ จนต้องเอาเงินสำรองระหว่างประเทศมาให้แลก
ต่างชาติกลุ่ม Hedge Fund เริ่มรู้แล้วว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตแบบเปราะบาง จึงเข้ามาโจมตีค่าเงิน เพื่อหวังทำกำไรมหาศาลจากเงินบาทลอยตัว เกิดเป็นตำนานของจอร์จ โซรอส นักทำลายค่าเงิน ที่เห็นช่องทางทำกำไรจากการที่เงินบาทไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง จึงได้โจมตีค่าเงินบาทด้วยการขายชอร์ตเงินบาท ในขณะนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยทำการป้องกันค่าเงินบาทด้วยการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปซื้อเงินบาทที่โซรอสขาย จนกระทั่งมูลค่า ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 1997 เพิ่มขึ้นเป็น 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 40% ของเงินทุนสำรอง สุดท้ายทุนสำรองระหว่างประเทศแทบไม่เหลือ และค่าเงินบาทอ่อนลงไปมาก
หลังจากที่พยายามยื้อมาเกือบครึ่งปี จากที่มีโจมตีค่าเงินบาทมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งสู้ไม่ไหวในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จากเดิมที่ตรึงไว้ 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลได้ตัดเชือกที่ตรึงเอาไว้และปล่อยให้เงินบาทลอยตัว จนทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวสูงสุดถึงเกือบ 52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ คนที่กู้เงินดอลลาร์มา 1 ล้านเหรียญ จากที่เคยมีหนี้เป็นเงินไทยเพียง 25 ล้านบาท ตื่นมาอีกทีหนี้งอกเพิ่มขึ้นมากลายเป็น 52 ล้านบาท และตอนนั้นประเทศไทยไม่ได้กู้เงินมาเพียงแค่ 1 ล้านเหรียญ แต่ทั้งประเทศมีการกู้เงินเป็นสกุลต่างประเทศประมาณ 70,000 ล้านเหรียญ ธุรกิจน้อยใหญ่จึงล้มหายตายจากไปมาก หลายคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวจนถึงขั้นสิ้นชีวิตเพราะไม่มีเงินใช้หนี้เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต้มยำกุ้ง ทำให้สัดส่วนระหว่างหนี้ต่างประเทศกับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
ทุกวันนี้ถือได้ว่าเราหลุดพ้นจากวิกฤตแล้ว แต่ก็ยังหลงเหลือซากตึกระฟ้าที่ยังสร้างไม่เสร็จไว้เป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น ต้มยำกุ้งเป็นฝันร้ายของคนไทยหลายคน มันหนักหนาสาหัส มันทำลายความฝัน ความหวัง และชีวิต ทั้งนี้ แม้ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยปี 2541 ติดลบ 7.6% แต่ใช้เวลาไม่นานในการฟื้นตัว ขณะที่ปัจจุบันเราและเพื่อนร่วมโลกก็เจอวิกฤตใหญ่อีกครั้งคือ โควิด-19 ซึ่งครั้งนี้รุนแรงกว่าต้มยำกุ้งด้วยซ้ำ เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคการส่งออกและท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง ขณะที่อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศเวลานี้ฟุบลงพร้อม ๆ กันจากมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งอาจใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งซะอีก
โลกนี้ไม่มีความแน่นอนจริง ๆ วันดีคืนดีก็มีเหตุการณ์ที่มาพรากทรัพย์สิน เงินทอง บ้าน รถ และพรากความสุขไปจากเรา อนาคตไม่รู้ว่าต้องเจอวิกฤตใดอีกบ้าง จะร้ายแรงกว่าครั้งก่อนหรือไม่ ไม่มีทางรู้ ยิ่งในตลาด Forex ที่เราเดิมพันกันด้วยค่าเงิน เกิดวิกฤตครั้งไหน ๆ ก็ย่อมส่งผลไปถึงค่าเงินอยู่แล้ว แต่ข้อดีของวงการนี้คือเราสามารถทำกำไรได้สองทาง ไม่ว่าค่าเงินจะขึ้นจะลง หากเราติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด คาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำ ยังไงเราก็ทำกำไรในตลาดนี้ได้แน่นอน
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFX เพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Octa
OANDA
XM
TMGM
Vantage
FP Markets
Octa
OANDA
XM
TMGM
Vantage
FP Markets
Octa
OANDA
XM
TMGM
Vantage
FP Markets
Octa
OANDA
XM
TMGM
Vantage
FP Markets