简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทองคำถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยนักลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ สะท้อนจากข้อมูลของ World Gold Council
ทองคำถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยนักลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ สะท้อนจากข้อมูลของ World Gold Council ที่บ่งชี้ว่าผลตอบแทนของทองคำสูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงอย่างมาก โดย World Gold Council พบว่าในปีที่อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าระดับ 3% ทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% โดยเฉลี่ย
ราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้น การกระจายวัคซีนที่ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ว่าอุปสงค์การใช้นำมันอาจเพิ่มสูงขึ้นหลังเศรษฐกิจฟื้นตัว
ปัจจุบันอัตราการออมส่วนบุคคลในสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง เมื่อมีการผ่อนคลายข้อจำกัดจะกลับมากระตุ้นอุปสงค์ในหมู่บริโภค
กลับกันในฝั่งของอุปทานกลับเผชิญปัญหาขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบสำหรับการผลิต รวมถึงแรงงาน ทำให้ภาคการผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้น
รัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจผ่านการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลัง ซึ่งจะเป็นกระตุ้นการใช้จ่ายซึ่งนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อเช่นกัน
ล่าสุดดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ดีดตัวขึ้น 0.8% ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.2% เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 4.2% ซึ่งเป็นการดีดตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2008 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6% สะท้อนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นชัดเจน ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อผ่านทาง 10-year Breakeven Inflation Rate พุ่งขึ้นแตะ 2.54% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2013 เช่นกัน
การพุ่งขึ้นแรงของเงินเฟ้อทำให้ตลาดสงสัยในจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มองว่าการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นแค่ชั่วคราวเท่านั้น จนกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า “Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย รวมถึงลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เร็วกว่าที่คาดไว้” เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวหนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น พร้อมกับหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น จนกดดันราคาทองคำให้ร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,808 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในระหว่างการซื้อขายของวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี เมื่อเจ้าหน้าที่ Fed ออกมาเน้นย้ำถึงจุดยืนในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้นักลงทุนลดการคาดการณ์เกี่ยวกับเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed และเป็นที่มาสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการทะยานขึ้นของราคาทองคำในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วต่อเนื่องมาถึงสัปดาห์นี้
นี่สะท้อนให้เห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อและตลาดแรงงาน รวมไปถึงการคาดการณ์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ถือว่ามีบทบาทสำคัญที่จะกำหนดทิศทางราคาทองคำในระยะถัดไป จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนทองคำต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
“หากเงินเฟ้อพุ่งขึ้นแรง แต่ Fed ไม่เร่งคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะเป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นบวกต่อราคาอย่างมาก กลับกันหากเงินเฟ้อพุ่งขึ้นจนกระตุ้นให้ Fed เร่งคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อสกัดเงินเฟ้อ จะเป็นสภาพแวดล้อมที่เป็นลบต่อราคาเช่นกัน จึงแนะนำนักลงทุนติดตามปัจจัยดังกล่าวอย่าใกล้ชิด”
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ราคาทองคำร่วงลงในเช้าวันพุธ ในเอเชีย โดยพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง จากความเชื่อมั่นด้านความเสี่ยงที่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย และหนุนราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้น
โควิด-19 สายพันธุ์โอมครอนแล้ว Bitcoin ในปี 2022 เป็นการสร้างรายได้ใหม่และเงินเฟ้อช่วยหนุน ประเด็นเหล่านี้กำลังมีผลต่อทองคำ
สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิตทะยานขึ้น 14.09 ตอลลาร์ต่อออนซ์ ระหว่างวันการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์ และการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.31 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําวานนี้ได้รับแรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับความรุนแรงของ COVID-19
EC Markets
STARTRADER
FBS
XM
OANDA
IC Markets Global
EC Markets
STARTRADER
FBS
XM
OANDA
IC Markets Global
EC Markets
STARTRADER
FBS
XM
OANDA
IC Markets Global
EC Markets
STARTRADER
FBS
XM
OANDA
IC Markets Global