简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:กรมสุขภาพจิตเผยช่วงปี 63 อัตราฆ่าตัวตายคนไทยไต่ระดับขึ้น อยู่ที่ 7.3 ต่อแสนประชากร จากคงที่มา5-6 ปี เหตุปัจจัย 3 อันดับแรกยังคงเดิม ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล-ภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง -ผลกระทบภาวะเครียดเศรฐกิจ เฝ้าระวังมากขึ้นในกลุ่มเปราะบาง
กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังการแถลงเรื่องเช็คอินหัวใจในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19ว่า จากที่อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยอยู่ที่ 6 ต่อแสนประชากรคงที่มา 5-6 ปี แต่ในปี 2563 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไต่ระดับขึ้น อยู่ที่ 7.3 ต่อแสนประชากร
ผู้สื่อข่าวถามว่าเหตุปัจจัยของการฆ่าตัวตายที่ไต่ระดับขึ้นในปี2563เกิดจากสาเหตุใด พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า เหตุปัจจัยยังคงเรียงลำดับ 3 กลุ่มไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา คือ 1.ปัญหาความสัมพันธ์ส่วนบุคคล กับคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว ยังเป็นเหตุปัจจัยส่วนใหญ่ 2.ภาวะเจ็บป่วยทางกายเรื้อรัง หรือมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้าอยู่เดิมแล้ว และ3.ผลกระทบจากภาวะเครียดเรื่องเศรษฐกิจ และค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่น่าสังเกตว่าในช่วงปี 2563 กลุ่มที่ 3 ที่มีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มที่ต้องเพิ่มการเฝ้าระวังมากขึ้น
เมื่อถามย้ำว่าระบุได้หรือไม่ว่าสถานการณ์โควิด-19มีผลต่อการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ไม่ได้ เนื่องจากเวลาเกิดเหตุปัจจัยในการฆ่าตัวตายมาจากหลายเหตุปัจจัยของแต่ละบุคคล เพียงแต่ในปี 2563 มีการไต่ระดับขึ้นของการฆ่าตัวตาย จึงทำให้ต้องมีการเฝ้าระวัง เพราะว่าโดยทั่วไปเวลาอยู่ในสถานการณืที่มมีภาวะวิกฤติก็มทีความเส่ายวงต่อกลบุ่มที่เดิมมีความเสี่ยงเดิมๆอยู่แล้ว ก็จะกลายเป็นเปราบางมากขึ้น จึงเป็นมาตรการที่จะต้องเตรียมในการเฝ้าระวังดูแล
พญ.พรรณพิมล กล่าวด้วยว่า สำหรับสภาวะสุขภาพจิตคนไทยขึ้นลงตามสถานการณ์ของโรคโควิด-19 โดยช่วงการระบาดใหญ่เมื่อปลายเดือนมี.ค.2563 พบว่ากลุ่มที่มีความเครียดสูงอยู่ที่ 8 % ซึ่งสูงกว่าเกรฑ์ปกติ เพราะโดยทั่วไปมีความเครียดจากการใช้ชีวิตปกติอยู่แล้ว โดยกลุ่มที่มีความเครียดสูงอยู่ที่ 2-3 % แต่เมื่อมีการระบาดของโรคกลุ่มเครียดมากเพิ่มเป็น 8 % หลังจากนั้นสถานการณ์ค่อยๆลดลงมา
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
FBS
VT Markets
FxPro
IC Markets Global
ATFX
OANDA
FBS
VT Markets
FxPro
IC Markets Global
ATFX
OANDA
FBS
VT Markets
FxPro
IC Markets Global
ATFX
OANDA
FBS
VT Markets
FxPro
IC Markets Global
ATFX