简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การห้ามซื้อขายฟอเร็กซ์ในบางประเทศเกิดจาก 2 เหตุผลหลัก ได้แก่ ความปลอดภัยของนักลงทุนและความเสถียรของค่าเงิน ตลาดฟอเร็กซ์มีความเสี่ยงสูง ทั้งจากเลเวอเรจและกลยุทธ์การตลาดของโบรกเกอร์ ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนขาดทุนหนัก นอกจากนี้ ในประเทศที่ใช้ระบบค่าเงินคงที่ ตลาดฟอเร็กซ์อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น วิกฤตเศรษฐกิจในอดีตของไทย แม้ฟอเร็กซ์จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ การเตรียมพร้อมและใช้เครื่องมือช่วยตรวจสอบจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนในตลาดนี้
โดยปกติแล้ว การห้ามซื้อขายฟอเร็กซ์ในบางประเทศมักมาจากเหตุผลสำคัญ 2 ประการ ซึ่งเป็นข้อกังวลหลักที่หลายรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง แน่นอนว่าอาจมีข้อยกเว้นและเหตุผลอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ทั้งสองข้อนี้ถือเป็นแกนหลักที่ช่วยไขปริศนาว่าทำไมหลายประเทศยังปิดกั้นตลาดฟอเร็กซ์ มาดูกันเลยว่าแต่ละเหตุผลนั้นคืออะไร!
1. ความปลอดภัยของนักลงทุน
ตลาดฟอเร็กซ์อาจดูเหมือนเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ แต่ในความจริงแล้วกลับมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงลิ่ว แอดเหยี่ยวขอชวนคิดง่าย ๆ ว่า การเทรดฟอเร็กซ์เหมือนการเดินอยู่บนสะพานเชือกที่โยกเยก หากไม่มีความรู้และการจัดการความเสี่ยงที่ดี คุณอาจตกลงมาเจ็บหนักได้!
ยกตัวอย่างในยุโรป สหภาพยุโรป (EU) ได้ตั้งหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง ESMA ที่ไม่ถึงกับห้ามเทรดฟอเร็กซ์ทั้งหมด แต่พวกเขาออกข้อจำกัดมากมายที่ช่วยปกป้องนักลงทุน เช่น การจำกัดเลเวอเรจและห้ามโบนัสเงินฝาก เพราะอะไรน่ะเหรอ? ลองคิดดูว่าหากโบรกเกอร์เสนอ “โบนัส” ที่ดูเหมือนจะเพิ่มทุนให้คุณ มันอาจสร้างภาพลวงตาว่าคุณมีทุนหนากว่าความเป็นจริงและช่วยลดความระมัดระวังในการลงทุนของคุณเอง ยิ่งไปกว่านั้น โบรกเกอร์บางรายอาจใช้กลยุทธ์โฆษณาที่ไม่ตรงไปตรงมา จนทำให้เทรดเดอร์มือใหม่หลงทางไปกับคำว่า “ถอนได้” ที่ซ่อนเงื่อนไขยุ่งยากไว้ข้างหลัง
อีกหนึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ “เลเวอเรจ” ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถซื้อขายได้มากกว่าทุนที่ตนมีจริง แต่หากมองให้ลึกลงไป เลเวอเรจก็เหมือนดาบสองคมที่เสี่ยงจะพาคุณขาดทุนย่อยยับ เพราะเมื่อคุณขาดทุน เงินที่เสียไปคือเงินที่ยืมมา! ระบบนี้จึงมักถูกมองว่าเป็นกลไกที่สร้าง “ความรู้สึกปลอม ๆ” ว่าเทรดเดอร์สามารถควบคุมตลาดได้ ทั้งที่จริงแล้วพวกเขาอาจอยู่ในจุดที่เสี่ยงที่สุด
2. ความเสถียรของค่าเงิน
เหตุผลสำคัญอีกข้อคือ ประเทศที่มีระบบค่าเงินคงที่ (Fixed Exchange Rate) มักเลือกที่จะจำกัดหรือห้ามการซื้อขายฟอเร็กซ์ เพราะตลาดฟอเร็กซ์อาจเข้ามาทำลายสมดุลของระบบการเงินประเทศได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศไทยในอดีต ที่เคยตรึงค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์สหรัฐในอัตรา 20 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่เมื่อเศรษฐกิจไทยไม่สามารถแข่งขันกับสหรัฐฯ ได้ในระยะยาว การคงค่าเงินเช่นนี้กลายเป็นปัญหาใหญ่ นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญอย่าง “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ที่ค่าเงินบาทต้องลอยตัวและปล่อยให้อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวกำหนด
ปัจจุบันยังมีหลายประเทศ เช่น คิวบา ฮ่องกง และจอร์แดน ที่พยายามตรึงค่าเงินไว้เพื่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจในประเทศ หากปล่อยให้การซื้อขายฟอเร็กซ์เป็นไปอย่างเสรี ระบบค่าเงินคงที่เหล่านี้จะเสี่ยงพังครืนทันที เพราะตลาดฟอเร็กซ์จะดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาเก็งกำไรและแทรกแซงค่าเงิน ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนได้อีกต่อไป
โอกาสและความท้าทายในตลาดฟอเร็กซ์ประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย แม้ตลาดฟอเร็กซ์ยังไม่ถูกยอมรับอย่างเต็มที่ แต่ความนิยมในการเทรดฟอเร็กซ์กลับเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ซึ่งนำมาสู่ปัญหาโบรกเกอร์เถื่อนและการโกงที่ระบาดหนักในช่วงที่ผ่านมา แอดเหยี่ยวจึงขอแนะนำให้เทรดเดอร์ทุกคนปกป้องตัวเองด้วยการใช้แอป WikiFX แอปพลิเคชันที่ช่วยให้คุณตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โหลดไว้ติดเครื่องจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของโบรกเกอร์เถื่อน!
ตลาดฟอเร็กซ์อาจเป็นโอกาสทองสำหรับนักเทรดที่เข้าใจเกมและมีความรอบคอบ แต่ก็ไม่แปลกที่หลายประเทศยังคงปิดกั้นเพื่อปกป้องเศรษฐกิจและประชาชนของตนเอง ดังนั้นก่อนจะก้าวเข้าสู่ตลาดนี้ อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อม และใช้เครื่องมือที่ช่วยให้คุณเทรดได้อย่างมั่นใจ!
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ WikiEXPO : Emomotemi Agama —— เส้นทางแห่งนวัตกรรมและมุมมองด้านกฎระเบียบทางการเงิน
ESG คืออะไร? การลงทุนแบบยั่งยืน หรือ ESG คือการตัดสินใจลงทุนที่วิเคราะห์ปัจจัย 3 ด้านสำคัญ ได้แก่: - E (Environmental): การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานสะอาด การจัดการขยะ - S (Social): การดูแลพนักงานและชุมชน เช่น ความเท่าเทียมในที่ทำงาน - G (Governance): การกำกับดูแลกิจการที่ดี เช่น ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
5 กับดักที่นักเทรด Forex ต้องระวัง! 1. ไม่รักษาวินัย: ปล่อยให้อารมณ์ครอบงำ 2. เทรดแบบไม่มีแผน = ทางลัดสู่ความล้มเหลว 3. ตกหลุมพรางโบรกเกอร์เถื่อน 4. ตั้งเป้าหมายเกินจริง: ความฝันที่ไม่สมเหตุสมผล 5. การจัดการความเสี่ยงที่แย่
บทวิเคราะห์ทองคำ
XM
EC Markets
Neex
Octa
Tickmill
STARTRADER
XM
EC Markets
Neex
Octa
Tickmill
STARTRADER
XM
EC Markets
Neex
Octa
Tickmill
STARTRADER
XM
EC Markets
Neex
Octa
Tickmill
STARTRADER