简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
แอดเหยี่ยวขอถามนักเทรดทุกคนว่า นักเทรดกำลังเป็นเหมือนทฤษฎี Loss Aversion อยู่หรือเปล่า? กลัวการขาดทุนจนทำให้พอร์ตไม่เติบโต การไม่กล้า Stop Loss อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการพัฒนาพอร์ตของคุณ จิตวิทยานี้ชี้ให้เห็นว่าคนเรามักให้ค่าความทุกข์จากการสูญเสียมากกว่าความสุขจากการได้กำไร ในบทความนี้มาลองสำรวจตัวเองกัน!
ทฤษฎี Loss Aversion คืออะไร?ทฤษฎี Loss Aversion เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่อธิบายว่ามนุษย์ให้ความสำคัญกับความสูญเสียหรือความเจ็บปวดมากกว่าความสุขที่ได้จากสิ่งที่ได้รับ ผลวิจัยเผยว่าการสูญเสียมีผลกระทบทางอารมณ์มากกว่าความสุขจากการได้รับถึงสองเท่า โดย Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และ Amos Tversky เพื่อนร่วมวิจัยของเขา ได้ทดสอบและนิยามทฤษฎีนี้ เพื่ออธิบายว่าทำไมมนุษย์ถึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสีย แม้การเลี่ยงนี้จะขัดขวางโอกาสในการเติบโตก็ตาม
ตัวอย่าง Loss Aversion ในชีวิตประจำวัน
ความเกี่ยวข้องของ Loss Aversion กับการลงทุนในโลกการลงทุน ความกลัวที่จะสูญเสียทำให้นักลงทุนหลายคนไม่กล้าตัดสินใจ Stop Loss แม้ว่าสถานการณ์จะบ่งชี้ว่าเป็นการตัดสินใจที่สมเหตุสมผล การถือหุ้นต่อด้วยความหวังว่ามูลค่าจะกลับมาเป็นกำไร เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พอร์ตลงทุนไม่เติบโต เมื่อราคาหุ้นลดลง นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงการขายเพราะกลัวความเจ็บปวดจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง ผลที่ได้คือนักลงทุนขายหุ้นในจุดที่ขาดทุนหรือทำกำไรน้อยเกินไป
ผลการทดลองที่สะท้อนทฤษฎีนี้ตัวอย่างเช่น การแจกโบรชัวร์การตรวจมะเร็งเต้านมให้ผู้หญิงสองกลุ่ม ซึ่งเนื้อหาในโบรชัวร์กลุ่มหนึ่งเน้นถึงประโยชน์จากการตรวจ อีกกลุ่มหนึ่งเน้นถึงความเสี่ยงหากไม่ตรวจ ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลแบบ “เน้นความสูญเสีย” มีการตื่นตัวและลงมือทำตามมากกว่า แม้ข้อมูลพื้นฐานจะเหมือนกัน แต่การย้ำถึงผลเสียกลับกระตุ้นการตอบสนองได้ดีกว่า
การประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆทฤษฎี Loss Aversion ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต เพราะความกลัวการสูญเสียทำให้คนยอมจ่ายเบี้ยประกันราคาสูงเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังอธิบายพฤติกรรมในความสัมพันธ์ เช่น การที่คู่รักหลายคู่เลือกทนทุกข์ในความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุขเพียงเพราะไม่อยากสูญเสียสิ่งที่เคยลงทุนทั้งเวลาและความรู้สึกไป
สรุปทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลจาก uhas
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
ถอดคำแถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ผู้ตัดสินของ SkyLine Guide ครั้งแรกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยง WikiFX SkyLine Appreciation Dinner ซึ่งในงานนี้ WikiFX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการก่อตั้ง SkyLine Judge Community ชุมชนมืออาชีพใหม่ที่มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคคลชั้นนำจากวงการต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต โดยมีคำขวัญว่า "ที่ที่นักเทรดมืออาชีพรวมตัวและเติบโต
แอดเหยี่ยวพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโบรกเกอร์แบบ No Dealing Desk (NDD) ที่ส่งคำสั่งไปยังตลาดกลางโดยตรง ไม่มีการแทรกแซงจากโบรกเกอร์ ซึ่งแตกต่างจาก Dealing Desk (DD) ที่จัดการคำสั่งเอง การใช้โบรกเกอร์ NDD ทำให้มั่นใจในความโปร่งใสและไม่มีการปรับแต่งกราฟหรือคำสั่งซื้อขาย
Vantage
FBS
VT Markets
XM
STARTRADER
FXTM
Vantage
FBS
VT Markets
XM
STARTRADER
FXTM
Vantage
FBS
VT Markets
XM
STARTRADER
FXTM
Vantage
FBS
VT Markets
XM
STARTRADER
FXTM