简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพรวมภาวะการเงินของโลก จากนักเศรษฐศาสตร์
ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Morning Wealth ว่าภาพรวมภาวะการเงินของโลกที่ผ่านมาเริ่มผ่อนคลายลงไปค่อนข้างมาก หลังจากธนาคารกลางหลักของโลกเริ่มทยอยปรับลด ดอกเบี้ย ลง ทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) รวมถึงล่าสุดที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมรอบล่าสุดเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อทยอยปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ หากมองไประยะข้างหน้า ธนาคารกลางหลักทั่วโลกมีโอกาสที่จะลด ดอกเบี้ย ลงต่อเนื่อง โดยประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ Fed จะมีการประชุมอีกจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.50% ขณะที่ในปีหน้าคาดว่ามีโอกาสจะลดลงประมาณ 1% หลังจากที่แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีแนวโน้มที่น่ากังวลเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ประเมินว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะยังไม่เข้าสู่ภาวะ Hard Landing ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว จึงมองว่าในระยะข้างหน้านโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกยังมีทิศทางปรับอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่าในปีหน้าทั้ง ECB และ BOE จะมีการลดดอกเบี้ยลงตามได้อีกประมาณ 1%
นอกจากนี้ ในมิติของกฎเกณฑ์การพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั่วโลกเริ่มลดความเข้มงวดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ภาวะทางการเงินของโลกเริ่มผ่อนคลายลงด้วยอย่างชัดเจน
ไทยเผชิญภาวะการเงินตึงตัว สินเชื่อหดตัวทุกประเภท
สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในปัญหาภาวะการเงินตึงตัวในระดับที่สูง เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในระยะสั้นยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการลดดอกเบี้ยลง
จึงประเมินว่า ภาวะทางการเงินหรือตลาดทางการเงินของไทยจะตึงตัวต่อเนื่อง ทั้งภาวะการตึงตัวทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนได้จากทิศทางค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วในภูมิภาค จนทำให้ ธปท. เข้าดูแลค่าเงินบาท
รวมถึงภาวะการตึงตัวจากในประเทศ จากข้อมูลการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินปัจจุบันยังมีความเข้มงวดขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนจากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อไตรมาส 2/67 ของระบบสถาบันการเงินที่หดตัวลงเกือบทุกประเภท ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อเช่าซื้อ, สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล อีกทั้งคุณภาพของสินเชื่อมีแนวโน้มที่ถดถอยและลดลงค่อนข้างมาก
ดร.ปุณยวัจน์ กล่าวต่อว่า ภาวะทางการเงินกับภาพรวมเศรษฐกิจถือว่ามีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง ทั้งนี้หากภาคการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกกระทบ จะมีผลกระทบต่อเนื่องตามมาต่อภาคเศรษฐกิจจริง รวมทั้งเกิดภาวะตัวเร่งทางการเงิน (Financial Accelerator) อีกด้วย
หนี้ครัวเรือนลดต่ำกว่า 90% เหตุแบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้
สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ล่าสุดในไตรมาส 2/67 ที่รายงานว่ามีสัดส่วนลดลงมาต่ำกว่า 90% ต่อ GDP เป็นครั้งแรก หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิดเป็นต้นมา ซึ่งหากมองผิวเผินอาจเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเจาะข้อมูลเข้าไปไส้ในของตัวเลขที่ลดลงดังกล่าว จะเห็นว่าเกิดจากการเติบโตของหนี้ที่ขยายตัวค่อนข้างต่ำ โดยการปล่อยสินเชื่อการเติบโตเพียง 1.3% ถือเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์
ทั้งนี้ มองว่าการปรับตัวลดลงของหนี้ครัวเรือนที่รวดเร็วเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน เพราะมาจากผลกระทบที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้หรือคนไม่สามารถกู้เงินได้ ดังนั้นการลดลงของหนี้ครัวเรือนครั้งนี้จึงยังไม่ใช่การลดลงของหนี้ครัวเรือนที่แข็งแรง
ดร.ปุณยวัจน์ กล่าวด้วยว่า การลดลงของสินเชื่อดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงผ่านภาคการบริโภคให้มีทิศทางปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการบริโภคกลุ่มที่อยู่อาศัย รถยนต์ รวมถึงสิ่งของสินค้าต่างๆ ที่ต้องพึ่งพิงการใช้จากแหล่งเงินที่มาจากการขอสินเชื่อ อีกทั้งจะทำให้แนวโน้มภาคการลงทุนในระยะต่อไปปรับตัวลดลงตามไปด้วย
จับตาปลายปีนี้แบงก์ชาติเริ่มหั่นดอกเบี้ย
สำหรับทิศทางดอกเบี้ยของ ธปท. ที่เหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้ คือวันที่ 16 ตุลาคม และวันที่ 18 ธันวาคม ทาง SCB EIC มองว่าภาคการเงินของไทยโดยเฉพาะภาคครัวเรือนมีความเปราะบางและยังมีปัญหาภาวะความตึงตัวในภาคการเงิน ซึ่งทำให้ ธปท. เริ่มให้ความสำคัญในประเด็นปัญหานี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการนำประเด็นภาวะทางการเงินที่ตึงตัวมาหารือในที่ประชุม
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า ในการประชุมของ กนง. ปลายปีนี้ในวันที่ 16 ตุลาคม จะมีมติให้คงดอกเบี้ยที่ 2.50% พร้อมทั้งคาดว่า กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยและมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงในช่วงต้นปี 2568 มาอยู่ที่ระดับ 2% โดยคาดว่าน่าจะเป็นระดับดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ภาวะทางการเงินของไทยผ่อนคลายลงได้บ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทสัมภาษณ์พิเศษ จากชุมชน SkyLine Judge โดย WikiFX
การสร้างความมั่นคงในพอร์ตการลงทุนในปีใหม่ไม่ใช่แค่การเลือกสินทรัพย์ที่ดี แต่เป็นการวางแผนอย่างรอบคอบและการบริหารจัดการที่เหมาะสม การกระจายความเสี่ยง, การปรับกลยุทธ์ตามสภาพตลาด, การติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ และการมีวินัยในการลงทุนจะช่วยให้พอร์ตการลงทุนของคุณมีความมั่นคงและเติบโตในระยะยาว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในปีใหม่ การมีแผนที่ดีจะช่วยให้คุณรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ
ในปี 2025 นี้ นักลงทุนควรมีการปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายและการติดตามข่าวสารเศรษฐกิจและการเมืองอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้สามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเลือกกลยุทธ์เทรดที่เหมาะสมสำหรับปีใหม่ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ทั้งจากการวิเคราะห์สภาพตลาด, การบริหารความเสี่ยง, การใช้เทคโนโลยี, การติดตามข่าวสาร, และการพัฒนาตนเอง กลยุทธ์ที่ดีควรเป็นกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การเทรดในปี 2025 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างผลกำไรที่มั่นคงในระยะยาว
FXTM
IQ Option
Pepperstone
TMGM
FBS
IC Markets Global
FXTM
IQ Option
Pepperstone
TMGM
FBS
IC Markets Global
FXTM
IQ Option
Pepperstone
TMGM
FBS
IC Markets Global
FXTM
IQ Option
Pepperstone
TMGM
FBS
IC Markets Global