简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทวิเคราะห์ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (7 ส.ค.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้น ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐในสัปดาห์หน้า เพื่อประเมินทิศทางเงินเฟ้อและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.22% แตะระดับ 103.197
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 146.88 เยน จากระดับ 145.02 เยนในวันอังคาร (6 ส.ค.) และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 0.8618 ฟรังก์ จากระดับ 0.8530 ฟรังก์ แต่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3746 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3769 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0922 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0929 ดอลลาร์ในวันอังคาร ส่วนเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2685 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2698 ดอลลาร์
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.968% หลังจากกระทรวงการคลังสหรัฐได้เปิดประมูลพันธบัตรอายุ 10 ปี วงเงิน 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อวานนี้ แต่ได้รับการตอบรับอย่างซบเซาในตลาด โดย Bid-to-Cover Ratio ซึ่งเป็นมาตรวัดความต้องการพันธบัตรของนักลงทุน อยู่ที่ระดับ 2.32 เท่า ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2565
ผลการสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์พบว่า นักวิเคราะห์คาดว่าดอลลาร์จะดีดตัวขึ้นต่อไปในช่วง 3 เดือนข้างหน้า จากมุมมองที่ว่าตลาดได้ปรับตัวรับคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดมากเกินไปในปีนี้
ส่วนเงินเยนอ่อนค่าลง หลังจากนายชินอิจิ อุจิดะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งสัญญาณว่า BOJ จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากตลาดการเงินยังไร้เสถียรภาพ
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการรายงานเมื่อคืนนี้ สมาคมนายธนาคารเพื่อการจำนอง (MBA) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ยื่นขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 6.9% ในสัปดาห์ที่แล้ว หลังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองปรับตัวลง
ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่ยื่นขอสินเชื่อเพื่อการรีไฟแนนซ์เพิ่มขึ้น 16% ในสัปดาห์ที่แล้ว และพุ่งขึ้น 59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันที่ 14 ส.ค. รวมทั้งการแสดงความเห็นของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปีของเฟดซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค.นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ โดยการประชุมจะจัดขึ้นในหัวข้อ “Reassessing the Effectiveness and Transmission of Monetary Policy”
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
ถอดคำแถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ผู้ตัดสินของ SkyLine Guide ครั้งแรกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยง WikiFX SkyLine Appreciation Dinner ซึ่งในงานนี้ WikiFX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการก่อตั้ง SkyLine Judge Community ชุมชนมืออาชีพใหม่ที่มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคคลชั้นนำจากวงการต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต โดยมีคำขวัญว่า "ที่ที่นักเทรดมืออาชีพรวมตัวและเติบโต
Pepperstone
XM
Vantage
STARTRADER
OANDA
ATFX
Pepperstone
XM
Vantage
STARTRADER
OANDA
ATFX
Pepperstone
XM
Vantage
STARTRADER
OANDA
ATFX
Pepperstone
XM
Vantage
STARTRADER
OANDA
ATFX