简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: เราเป็นเทรดเดอร์สไตล์ไหน เพราะหากเราไม่รู้ว่าเรามีสไตล์การเทรดอย่างไร เราก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าเราต้องพัฒนาตนเองในด้านใด และเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
ใครเทรดมาสักพักแล้ว หรือใครที่กำลังจะเริ่มเทรดแต่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นนักเทรดสไตล์ไหน ซึ่งก็ละเลยในการค้นหาตัวเองเหมือนกันบอกเลยว่า...เส้นทานการเป็นนัดเทรดของคุณอาจจะไม่รุ่งได้ ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าการรู้สไตล์การเทรดของตัวเองสำคัญแค่ไหน และบอกถึงรูปแบบของการเทรดว่าคุณเป็นนักเทรดสไตล์ไหน อย่ารอช้ามาเริ่มกันเลย
ความสำคัญของสไตล์การเทรด
ก่อนที่เราจะเข้าสู่เรื่องการเทรด สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ เราเป็นเทรดเดอร์สไตล์ไหน เพราะหากเราไม่รู้ว่าเรามีสไตล์การเทรดอย่างไร เราก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าเราต้องพัฒนาตนเองในด้านใด และเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แอดขอเปรียบเทียบกับการเป็นนักฟุตบอล หากเราไม่รู้ว่าเราเป็นนักฟุตบอลในตำแหน่งใด เราก็จะไม่ทราบว่าทักษะใดที่สำคัญสำหรับเราและเราควรฝึกอะไรเพิ่ม
สำหรับนักฟุตบอลในตำแหน่งกองหลัง จำเป็นต้องมีความแข็งแกร่งในเรื่องการยืนตำแหน่ง ทักษะการแย่งบอล การตัดสินใจ การอ่านเกม การคาดเดาทิศทางของบอล และการตัดจังหวะการทำประตูของกองหน้า ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กองหลังต้องทำ ขณะที่กองกลางนั้น ทักษะการแย่งบอล การครองบอล การผ่านบอล และการสร้างสรรค์เกมรุกมีความสำคัญมากกว่า จะเห็นได้ว่าตำแหน่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่และทักษะที่ต้องใช้แตกต่างกัน
การเทรดเราก็แบ่งลักษณะการเทรดออกเป็น 4 รูปแบบได้แก่
1.การเทรดแบบ Scalping
การเทรดแบบ Scalping คือการเทรดที่เน้นการทำกำไรในช่วงเวลาสั้นๆ โดยปกติจะถือ position ไม่เกิน 1 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น ระบบเทรดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถเฝ้ารอจังหวะการเทรดได้อย่างต่อเนื่อง การเทรดแบบนี้จะต้องนั่งหน้าจอตลอดเวลาในช่วงเวลาที่กำหนด แม้จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่อย่าคิดว่าจะใช้เวลาเพียงแค่นั้น เพราะการรอให้เกิดสัญญาณเทรดอาจกินเวลาวันละ 3 – 4 ชั่วโมง
ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเทรด Scalping ได้แก่ ความมีวินัยสูง รู้จักการ Cut loss การบริหารจัดการพอร์ท และการควบคุมอารมณ์ขณะเทรด หากจะเปรียบเทียบ เทรดเดอร์แบบ Scalping เป็นตำแหน่งที่ยากที่สุด แต่หากประสบความสำเร็จ จะสามารถทำรายได้มากที่สุด เพราะมีจังหวะในการทำกำไรเยอะมาก
2.การเทรดแบบ Day Trading
Day Trading คือการเทรดระหว่างวันที่ไม่เน้นการถือ Position ข้ามคืน ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน ก็ต้องปิด Position ก่อนสิ้นวัน ระบบการเทรดนี้พบได้ทั่วไปในบริษัทกองทุน และเป็นที่นิยมในหมู่นักเทรด เนื่องจากเป็นงานที่ให้ความอิสระ หลายคนถึงกับลาออกจากงานประจำเพื่อมาเทรดแบบเต็มตัว อย่างไรก็ตาม Day Trading มีความกดดันสูง หากไม่สามารถทำกำไรได้ก็อาจประสบปัญหาได้
การเทรดแบบ Day Trading ต้องการวินัยสูง เทรดเป็นระบบและมีสถิติรองรับอย่างชัดเจน นอกจากนี้ เทรดเดอร์ยังต้องฝึกฝนจิตใจเพื่อรับมือกับความผันผวน การเทรดนี้มีการจัดการและวางแผนการเทรดอย่างชัดเจน และจะไม่เกินระยะเวลา 1 วัน
3.การเทรดแบบ Swing Trading
การเทรดแบบ Swing เป็นการเทรดระยะกลาง โดยใช้ Time Frame ที่ใหญ่ขึ้น เช่น Time Frame Daily หรือ Time Frame 4 ชั่วโมงขึ้นไป ระยะเวลาการถือ position อาจอยู่ตั้งแต่หลักสัปดาห์จนถึงหลักเดือน โดยไม่ถือครองหลายเดือนมากนัก ระบบการเทรดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย เพราะไม่ต้องรีบเข้าและออกจากการเทรด และไม่จำเป็นต้องดูกราฟบ่อย เนื่องจากการพยากรณ์หนึ่งครั้งสามารถครอบคลุมระยะเวลาหลายแท่งเทียน
การเทรดแบบ Swing ช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้หลากหลาย ผู้ที่เทรดในระบบนี้มักเป็นเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ มีแผนการเทรดที่ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจอตลอดเวลา แต่มีความรู้สูง รู้จักประยุกต์ใช้หลักการและทฤษฎีการเทรด รวมถึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเศรษฐกิจเป็นอย่างดี
4. การเทรดแบบ Position Trading
การเทรดแบบ Position Trading มักพบในกลุ่ม Hedge Fund และบริษัทที่บริหารจัดการเงินทุนขนาดใหญ่ ลักษณะการเทรดนี้ไม่ใช่การถือ Position เพียง 1-2 เดือน แต่สามารถถือ Position ได้นานถึง 1-2 ปี ต้นทุนสำคัญสำหรับการเทรดแบบนี้คือค่า Swap และค่าธรรมเนียมต่างๆ
การเทรดในระยะยาวจำเป็นต้องลดการใช้ Leverage ให้มากที่สุด และมักเน้นการบริหารจัดการสินทรัพย์ โดยเทรดในตลาด Spot เป็นหลัก มีการใช้ CFD บ้าง การเทรดแบบนี้ครบเครื่องที่สุดเพราะต้องคาดการณ์ระยะยาวและใช้ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจอทุกวัน แต่ต้องมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการพอร์ทและการจัดการเงินทุนของตนเอง
อะไรที่เป็นตัวกำหนดให้คุณเป็นเทรดเดอร์ประเภทไหน ?
สำหรับเทรดเดอร์อย่างเรา การเทรด Forex กับ Broker ที่เลือกควรสอดคล้องกับสไตล์การดำเนินชีวิตของเรา หากไม่ได้เทรดเป็นอาชีพหรือบริหารเงินจำนวนมาก การเทรดแบบ Scalping, Day Trading หรือ Swing Trading เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากคุณทำงานประจำ การเทรดแบบ Day Trading อาจไม่เหมาะสมเนื่องจากต้องเฝ้าหน้าจอทั้งวัน การเทรดแบบ Scalping และ Swing Trading จึงเป็นรูปแบบที่น่าสนใจและได้รับความนิยม เพราะไม่กระทบกับงานประจำ
เมื่อเลือกวิธีการเทรดได้แล้ว สิ่งสำคัญคือการฝึกฝนให้เก่งในรูปแบบที่เลือก เนื่องจากการฝึกในแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก Thaibrokerforex.
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
กฎสำคัญของการเทรดแบบ Scalping 1.ใช้กลยุทธ์ Scalping ที่มีคุณภาพ 2.หาจุดคุ้มทุน (Break-even stops) 3.อย่าคิดว่าการเทรดบ่อย ๆ จะทำให้ได้เงินเยอะ 4.ติดตามกลยุทธ์การเทรด 5.ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์การเทรดที่วางไว้ 6.เทรดด้วยอัตราการชนะที่มากกว่า 7.ใช้กรอบเวลาที่เหมาะสม 8.เริ่มต้นเล็ก ๆ ก่อน 9.เชี่ยวชาญในโครงสร้างตลาด 10.ฝึกฝนการเทรดทุกวัน
สเปรดมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการเทรดโดยตรง สเปรดที่ต่ำช่วยลดต้นทุนและรักษากำไรได้มากขึ้น โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดบ่อยหรือในปริมาณมาก สเปรดที่สูงสามารถลดกำไรเมื่อเวลาผ่านไป เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping และ Day Trading จะไวต่อสเปรดสูง เนื่องจากอาจลดหรือทำให้กำไรหายไป การเลือกโบรกเกอร์ที่มีสเปรดต่ำจึงสำคัญ ความผันผวนของตลาดอาจทำให้สเปรดกว้างขึ้น เทรดเดอร์มักเลือกเทรดในช่วงสภาพคล่องสูงและใช้คำสั่ง Limit เพื่อลดต้นทุน สุดท้าย การเลือกโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN และการหลีกเลี่ยงข่าวผันผวนช่วยจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น
บทวิเคราะห์บิตคอยน์
บทความนี้ชวนผู้อ่านสำรวจตนเองว่ากำลังเสพติดการเทรดหรือไม่ โดยชี้ให้เห็นสัญญาณสำคัญที่แสดงถึงการเสพติด เช่น การเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่มีแผน หมกมุ่นกับการติดตามข้อมูล ละเลยกิจกรรมอื่น ๆ เทรดด้วยอารมณ์ และประสบความเครียดเมื่อไม่ได้เทรด การตระหนักถึงสัญญาณเหล่านี้จะช่วยป้องกันผลกระทบต่อการเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพกายใจ
FP Markets
FXTM
Octa
GO MARKETS
TMGM
Vantage
FP Markets
FXTM
Octa
GO MARKETS
TMGM
Vantage
FP Markets
FXTM
Octa
GO MARKETS
TMGM
Vantage
FP Markets
FXTM
Octa
GO MARKETS
TMGM
Vantage