简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Quasimodo ชื่อนี้ได้มาจากตัวละครเอกในนวนิยายปารีสสมัยช่วงศตวรรษที่15 เป็นชายหลังค่อม รูปร่างไม่สมประกอบ ไหล่ไม่เท่ากันข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่งต่ำ รูปร่างที่ไม่สมประกอบของ Quasimodo จึงเป็นที่มาของ Quasimodo pattern จะมีชื่อย่อว่า QM Pattern เป็นรูปแบบกราฟราคาที่เทรดเดอร์นิยมใช้เพื่อวิเคราะห์โอกาสการกลับตัวของราคา โดยอาศัยหลักการของทฤษฎี Dow Theory รูปแบบนี้โดดเด่นด้วยความเรียบง่าย เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็น Forex หุ้น หรือแม้แต่ทองคำ
เคยได้ยินคำว่า “Quasimodo” ไหม? ในการเทรด ไม่ได้หมายถึงตัวละครหลังค่อมจากนิยายนะ แต่หมายถึงรูปแบบกราฟราคาที่ช่วยให้นักเทรดสามารถคาดเดาทางราคา และเพิ่มโอกาสทำกำไรได้ วันนี้มาทำความรู้จักกราฟราคานี้ให้มากขึ้นกันครับ
Quasimodo ชื่อนี้ได้มาจากตัวละครเอกในนวนิยายปารีสสมัยช่วงศตวรรษที่15 ต่อมามีการสร้างเป็นละครอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นละครเวที และหนังก็มีหลากหลาย Version มาก และมาโด่งดังอีกครั้งในปี1996 Quasimodo ที่เป็นชายหลังค่อม รูปร่างไม่สมประกอบ ไหล่ไม่เท่ากันข้างหนึ่งสูงข้างหนึ่งต่ำ มีรูปแบบเหมือนกราฟราคาที่กล่าวมาข้างต้น รูปร่างที่ไม่สมประกอบของ Quasimodo จึงเป็นที่มาของ Quasimodo pattern
ขอบคุณรูปจาก cults3d.com/en/3d-model
Quasimodo Pattern จะมีชื่อย่อว่า QM Pattern เป็นรูปแบบกราฟราคาที่เทรดเดอร์นิยมใช้เพื่อวิเคราะห์โอกาสการกลับตัวของราคา โดยอาศัยหลักการของทฤษฎี Dow Theory รูปแบบนี้โดดเด่นด้วยความเรียบง่าย เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็น Forex หุ้น หรือแม้แต่ทองคำ
ลักษณะของรูปแบบกราฟ QM Pattern เป็นรูป M หรือ W ที่ประกอบด้วย 3 จุดสวิงคล้ายกับบรูปแบบ Head and Shoulders แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่เมื่อมีการฟอร์ม Head แล้วการปรับฐานที่ตามมาก่อนเกิดไหล่ขวาจะหลุดหรือทะลุ Neckline อย่างรุนแรง ก่อนจะกลับไปฟอร์มตัวป็นไหล่ขวาที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไหล่ซ้าย จากนั้นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มราคาก็จะเกิดขึ้น
ขอบคุณรูปจาก www.mql5.com/it/job/150729
โดยมักเกิดขึ้นบริเวณจุดเปลี่ยนของแนวโน้มทั้งจากขาลงเป็นขาขึ้นและจากขาขึ้นเป็นขาลง จึงมักถูกนำมาใช้ในการบ่งบอกจุดกลับตัวของแนวโน้มราคาในลักษณะเดียวกับรูปแบบ Head and Shoulders และยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะเหมือนกัน คือ
รูปแบบ Bullish QM มีการกลับตัวขึ้นมีการทำลายโครงสร้างจากขาลงกลายเป็นขาขึ้น
เกิดขึ้นในช่วงท้ายของแนวโน้มขาลงที่กำลังจะเปลี่ยนกลับเป็นขาขึ้น ซึ่งอาจสังเกตหารูปแบบการฟอร์มตัวได้จากแนวโน้มราคาที่เป็นขาลงมาก่อนหน้าแล้วเริ่มฟอร์มรูปแบบที่ทำจุดต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower Low) พร้อมกับเกิดสัญญาณขัดแย้งหรือเริ่มมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง หลังจากฟอร์มส่วนตัวแล้วราคาเกิดการรีบาวน์อย่างรุนแรงทะลุแนวต้านเดิมที่เป็นจุดสูงก่อนหน้าแล้วทำจุดสูงใหม่ (Higher High) แต่ไม่สามารถยืนอยู่ได้ ทำให้ราคามีการปรับตัว (Correction) ลงมาไม่ต่ำกว่าจุดต่ำที่ไหล่ซ้ายที่ทำไว้ เมื่อราคาทดสอบแนวรับนี้แล้วเกิดการกลับตัวทะลุจุดสูงที่ทำไว้ตอนรีบาวน์ (ทำ Higher High) แนวโน้มราคาก็จะเปลี่ยนกลับจากขาลงเป็นขาขึ้นโดยสมบูรณ์
ขอบคุณรูปจาก uhas
รูปแบบ Bearish QM มีการกลับตัวลงมีการทำลายโครงสร้างขาขึ้นกลายเป็นขาลง
เป็นรูปแบบ QM Pattern ที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของแนวโน้มขาขึ้นที่กำลังจะเปลี่ยนกลับเป็นขาลง ซึ่งอาจสังเกตหารูปแบบการฟอร์มตัวได้จากแนวโน้มราคาที่เป็นขาขึ้นมาก่อนหน้าแล้วเริ่มฟอร์มรูปแบบที่ทำจุดสูงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher High) พร้อมกับเกิดสัญญาณขัดแย้งหรือเริ่มมีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง หลังจากฟอร์มส่วนหัวแล้วราคาเกิดการปรับลงอย่างรุนแรงทะลุแนวรับเดิมที่เป็นจุดต่ำก่อนหน้าแล้วทำจุดต่ำใหม่ (Lower Low) แต่ราคาถูกดันกลับไปอีกครั้งขึ้นไปไม่สูงกว่าจุดสูงที่ไหล่ซ้ายที่ทำไว้ เมื่อราคาทดสอบแนวต้านนี้แล้วเกิดการปรับลงหลุดจุดต่ำที่เคยทำไว้ก่อนหน้า (ทำ Lower Low) แนวโน้มราคาก็จะเปลี่ยนกลับจากขาขึ้นเป็นขาลงโดยสมบูรณ์
ขอบคุณรูปจาก uhas
วิธีเทรดรูปแบบกราฟ QM Pattern + Demand Supply Zone
Demand Supply Zone คือ โซนของราคาที่มีแรงซื้อมากซึ่งจะถูกมองว่าเป็นโซนของแนวรับ หรือ โซนของราคาที่มีแรงขายมากซึ่งจะถูกมองว่าเป็นโซนของแนวต้าน สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ QM Pattern ได้ด้วย จากรูปจะเห็นได้ว่าราคาสร้างท่าเทรด QM และสร้าง SZ ไว้ตรงกับ QM รอราคากลับขึ้นมาที่ Zone ตรง QM ( แล้วรอให้เกิดพฤติกรรมคอนเฟิร์ม ) จึงสามารถกด Sell ได้ ซึ่ง SL เอาไว้บน HH เทรนด์ขาขึ้นและขาลงรูปแบบ QM ก็ได้แสดงให้เห็น จุดเข้าเปิดออเดอร์ stop loss, take profit ตรงไหน
ขอบคุณรูปจาก uhas
ขอบคุณรูปจาก uhas
สรุป
QM Pattern รูปแบบกราฟที่มีลักษณะหัวและไหล่ที่ไม่สมมาตรแต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นจุดสังเกตการกลับตัวของแนวโน้ม ไปจนถึงเป็นโอกาสในการเทรดของนักเทรดที่ชื่นชอบการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) ได้อีกด้วย ซึ่งรูปแบบกราฟนี้ไม่ได้เป็นเพียงกราฟเปล่า ๆ แต่ยังสนับสนุนด้วยทฤษฎีดาวที่หนุนหลังด้วยกฎของอุปสงค์และอุปทาน เป็นอีกหนึ่งรูปแบบกราฟที่มีความแม่นยำสูง
ขอบคุณข้อมูลจาก uhas และ Mitrade
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ในปีนี้ อย่าลืมว่า การสร้างวินัยในการเทรด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เสร็จได้ในวันเดียว มันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความสำเร็จในการเทรดจะไม่เกิดขึ้นจากการกระทำที่หุนหันพลันแล่น แต่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตัวเอง และการทำตามแผนอย่างเคร่งครัด
ช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ อย่าประมาทครับ! แม้ตลาดจะดูสงบ แต่ความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่ก็มีมาก หากเป็นไปได้ควรปิดพอร์ตพักไว้ก่อน แล้วกลับมาเริ่มต้นใหม่หลังวันหยุดจะปลอดภัยที่สุด เทรดให้รอบคอบนะครับนักเทรดทุกท่าน!
บทวิเคราะห์ทองคำ
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์
FP Markets
FxPro
IC Markets Global
FXTM
OANDA
Tickmill
FP Markets
FxPro
IC Markets Global
FXTM
OANDA
Tickmill
FP Markets
FxPro
IC Markets Global
FXTM
OANDA
Tickmill
FP Markets
FxPro
IC Markets Global
FXTM
OANDA
Tickmill