简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Fibonacci Retracement คือ เครื่องดูระดับที่ซ่อนอยู่ของแนวรับและแนวต้านของราคาสินทรัพย์ที่มีโอกาสจะกลับตัว
มาเติมความรู้กันหน่อยนะครับ แอดเหยี่ยวอยากให้นักเทรดทุกคน ได้รู้จักกับอีกหนึ่งอินดิเคเตอร์ที่ใช้ง่าย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นคือลำดับตัวเลข Fibonacci ที่ช่วยบอกแนวรับ แนวต้านให้กับนักเทรด แล้วลำดับตัวเลขนี้มาจากที่ไหน และวิธีการนำมาใช้กับการเทรดอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
ลำดับตัวเลข Fibonacci ตั้งตามชื่อ Leonardo Fibonacci ซึ่งถือเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลก จากการเขียนเกี่ยวกับลำดับตัวเลข ดังกล่าวในหนังสือของเขาในช่วงต้นศตวรรษที่ 13 แต่เขากลับไม่ใช่เป็นผู้คิดค้น ลำดับตัวเลข Fibonacci เนื่องจากมีการค้นพบในภายหลังว่าลำดับเลข เป็นที่รู้จักในหมู่นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดีย
ลำดับเลข Fibonacci มีลักษณะอย่างไร?
คือ ลำดับตัวเลขที่เกิดจากการเอาตัวเลข 2 ตัวก่อนหน้ามาบวกกัน โดยจำนวน 2 ตัวแรก คือ 0 และ 1 ฉะนั้นจึงเรียงลำดับตัวเลขออกมาได้เรื่อยๆดังต่อไปนี้
0,1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,144,233,377 …………
ความน่าสนใจ คือ หากเราเอาตัวเลขใดๆก็ตามที่อยู่ในลำดับตัวเลข มาหารด้วยเลขก่อนหน้า เราจะได้ตัวเลขที่เข้าใกล้ 1.618 มากขึ้น โดยยิ่งตัวเลขมากเท่าไหร่ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะยิ่งเข้าใกล้มากขึ้นเท่านั้น (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
1/1 = 1
2/1 = 2
3/2 = 1.5
8/5 = 1.6
13/8 = 1.625
21/13 = 1.615
34/21 = 1.619
55/34 = 1.617
โดยเราจะพบเห็นสัดส่วนนี้ได้ในหลายอย่างตามธรรมชาติ เช่น ตาสัปประรด เกลียวรอบของเปลือกหอย คลื่นทะเล เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น อัตราส่วนดังกล่าวยังถูกพบในตลาดการเงินของมนุษย์เช่นกัน ซึ่งโดยปกติแล้วจะพบอัตราการกลับตัวที่ 61.8% หลังจากที่ความเคลื่อนไหวของราคามีความก้าวหน้าถึง 100% ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างเครื่องมือ Fibonacci Retracement ขึ้นมา
Fibonacci Retracement คืออะไร?
Fibonacci Retracement คือ เครื่องดูระดับที่ซ่อนอยู่ของแนวรับและแนวต้านของราคาสินทรัพย์ที่มีโอกาสจะกลับตัว โดยระดับหลักๆ ที่ใช้งานกันก็คือ 23.6%, 38.2%, 50.00%, 61.8% และ 78.6%
โดยระดับของตัวเลขเหล่านี้เกิดจากการใช้ตัวเลขหารตัวเลขที่มีตำแหน่งสูงกว่า 1, 2, 3 ลำดับถัดไป ก็จะได้ผลลัพธ์ค่าเฉลี่ยออกมาเป็นตัวเลขดังกล่าวนั่นเอง
ขอบคุณรูปจาก Fibonacci Retracement: bybit
ตัวเลขดังกล่าวก็จะถูกแปลงออกมาเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้
0.618 = 61.8%
0.382 = 38.2%
0.236 = 23.6%
ระดับ 78.6% หรือ 0.786 นั้นก็เป็นอีกหนึ่งระดับที่สำคัญ ซึ่งเกิดจากการหาค่าสแควรูทของระดับ 0.618 ซึ่งเป็นระดับแรกที่สำคัญนั่นเอง
อีกระดับหนึ่งที่อาจจะไม่ใช่ระดับที่คำนวนมาจาก Fibonacci Sequence แต่ถูกเพิ่มเข้ามาเนื่องจากเป็นจุดที่สำคัญสำหรับการกลับตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามทฤษฎีอื่นๆ ได้แก่ ระดับ 0.50 หรือ 50.00%
การใช้งานเครื่องมือ Fibonacci Retracement
Fibonacci Retracement เป็นเครื่องมือที่ใช้ค่อนข้างง่าย ใช้หาว่าราคาจะพักตตัวตรงไหน และราคาจะขึ้นไปจุดไหน เหมาะกับสภาวะตลาดแนวโน้ม หรือตลาดที่เป็นเทรนด์ โดยการใช้เครื่องมือนี้มีด้วยกัน 2 รูปแบบ
1.แนวโน้มขาขึ้น จะลากเครื่องมือจากจุดต่ำสุดคือค่า 0 ไปจุดสูงสุดคือค่า 100
ขอบคุณรูปจาก Uhas Trader
2.แนวโน้มขาลง จะลากเครื่องมือจากจุดสูงสุดคือค่า 0 ไปจุดต่ำสุดคือค่า 100
ขอบคุณรูปจาก Uhas Trader
การวิเคราะห์เบื้องต้น
ค่าที่สำคัญของ Fibonacci คือค่า 61.8, 50.0, 38.2 เพราะเป็นจุดที่ราคาน่าจะพักตัว หากราคาขึ้นไปจนเกิน 3 ค่านี้ แล้วไปจนถึง ค่า 0 ที่ตั้งไว้นั้นแสดงว่าแนวโน้มตลาดอาจเปลี่ยนได้
ขอบคุณรูปจาก Uhas Trader
โดยค่า 61.8, 50.00 และ 38.2 คือ ค่าเป้าหมายการพักตัวของกราฟราคา หากราคาพักตัวเรียบร้อยแล้ว และปรับระดับขึ้นมาให้เราตั้งเป้าหมายที่ราคาจะขึ้นไปต่อที่ค่า 161.8 แต่อย่างไรก็ตามเราควรตั้งเป้าหมายราคาที่ค่า 100.0 ก่อน เพราะถือว่าเป็นจุดสูงสุดเก่า ถ้าราคาสามารถทะลุ ค่า 100.0 ไปได้มีโอกาสสูงที่ราคาจะไปถึงค่า 161.8
การปรับค่า Fibonacci Retracement
ก่อนใช้งานเราจะมาปรับค่า Fibonacci Retracement กันก่อน เพื่อให้การอ่านกราฟสะดวกมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนแรกให้ดับเบิลคลิกที่เส้นประ Fibonacci จนเกิดจุด 3 จุดขึ้นมาบริเวณเส้นประ หลังจากนั้น คลิกขวาที่จุด 3 จุด แล้วเลือก Fibo properties… ปรับค่าที่ Fibo Levels ในช่อง Description โดยเพิ่ม =%$ ไว้ข้างหลังตัวเลข (ตามภาพข้างล่าง) เพื่อให้ตำแหน่งของ Fibonacci Retracement แสดงราคา ณ ตรงนั้นด้วย
ขอบคุณรูปจาก Uhas Trader
หลังเพิ่ม =%$ ข้างหลังค่า Fibonacci ลงไปในช่อง Description แล้วตัวอินดิเคเตอร์จะแสดงตำแหน่งราคาบน Fibonacci Retracement ด้วย เพื่อให้เราดูกราฟราคาได้ง่ายมากยิ่งขึ้นและรู้ว่าตำแหน่งแต่ละค่าของ Fibonacci อยู่ที่ราคาเท่าไหร่
ขอบคุณรูปจาก Uhas Trader
หลังเพิ่ม =%$ ข้างหลังค่า Fibonacci ลงไปในช่อง Description ของ Fibonacci Retracement แล้วตัวอินดิเคเตอร์จะแสดงตำแหน่งราคาบน Fibonacci Retracement ด้วย เพื่อให้เราดูกราฟราคาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก Uhas Trader และbeincrypto
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=syrc
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้จัดแถลงข่าวหลังเสร็จสิ้นการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) โดยที่ประชุมเฟดมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50-4.75%
ถอดคำแถลงการณ์ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ผู้ตัดสินของ SkyLine Guide ครั้งแรกได้รับเชิญให้เข้าร่วมงานเลี้ยง WikiFX SkyLine Appreciation Dinner ซึ่งในงานนี้ WikiFX ได้ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการก่อตั้ง SkyLine Judge Community ชุมชนมืออาชีพใหม่ที่มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคคลชั้นนำจากวงการต่างๆ และขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต โดยมีคำขวัญว่า "ที่ที่นักเทรดมืออาชีพรวมตัวและเติบโต
TMGM
IQ Option
HFM
FP Markets
Vantage
EC Markets
TMGM
IQ Option
HFM
FP Markets
Vantage
EC Markets
TMGM
IQ Option
HFM
FP Markets
Vantage
EC Markets
TMGM
IQ Option
HFM
FP Markets
Vantage
EC Markets