简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โซเชียลมีเดียทำพิษ หนุ่มสาวมะกันเกือบครึ่งตกอยู่ในภาวะ “คิดหมกมุ่นเรื่องเงิน”
หลักฐานมากมายบ่งชี้ว่าโซเชียลมีเดียมีผลกระทบเชิงลบต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) โดยไม่เพียงส่งผลกระทบเชิงลบต่อความรู้สึกที่ผู้คนมีต่อรูปร่างหน้าตาและสถานะทางสังคมของตนเองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสุขภาวะทางการเงินและสถานภาพทางเศรษฐกิจด้วย
รายงานฉบับล่าสุดจากเครดิต การ์มา (Credit Karma) ระบุว่า ชาวอเมริกันเกือบ 1 ใน 3 หรือ 29% ตกอยู่ในภาวะคิดหมกมุ่นเรื่องเงิน (Money Dysmorphia) ซึ่งอธิบายถึงความคิดที่บิดเบี้ยวเกี่ยวกับสถานะทางการเงิน โดยปัจจุบันคนกลุ่มนี้มักเปรียบเทียบสถานะทางการเงินของตนเองกับบุคคลอื่นและรู้สึกว่าตัวเองยังมีเงินไม่เพียงพอ
“ภาวะคิดหมกมุ่นเรื่องเงินก็คือการอยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น” นางคอร์ตนีย์ อะเลฟ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการเงินเพื่อผู้บริโภคของเครดิต การ์มาระบุ
เครดิต การ์มาระบุว่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ภาวะคิดหมกมุ่นเรื่องเงินนั้นพบเห็นได้มากเป็นพิเศษในกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยประมาณ 43% ของกลุ่มคน Gen Z และ 41% ของกลุ่มคน Gen Y หรือ Millennials กำลังต่อสู้อยู่กับการเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น และรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าในด้านการเงิน
“เรื่องนี้เป็นปัญหามานานมากแล้ว แต่โซเชียลมีเดียได้กระตุ้นให้ปัญหาดังกล่าวก้าวไปสู่อีกระดับ” นางแคโรลีน แมคคลานาฮาน นักวางแผนทางการเงินผู้มีใบรับรองและผู้ก่อตั้งบริษัทไลฟ์ แพลนนิ่ง พาร์ตเนอร์ส (Life Planning Partners) ในเมืองแจ็กสันวิลล์ของรัฐฟลอริดาระบุ
เครดิต การ์มาพบว่า คนที่มีอาการคิดหมกมุ่นเรื่องเงินจำนวนมากมีเงินออมสูงเหนือค่าเฉลี่ย แต่คนเหล่านี้ก็ยังใฝ่ฝันที่จะเป็นคนรวย
นางอะเลฟกล่าวว่า มีการบิดเบือนระหว่างความรู้สึกกับความเป็นจริง โดยมีชาวอเมริกันเพียง 14% ที่มองว่าตัวเองมีฐานะมั่งคั่ง
รายงานอีกฉบับจากเอเดลแมน ไฟแนนเชียล เอนจินส์ (Edelman Financial Engines) ระบุว่า คนเหล่านี้รู้สึกว่าตัวเองร่ำรวยได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะมีเงินมากเพียงใดก็ตาม
ผลสำรวจสถานะการเงินของผู้บริโภคโดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า ความมั่งคั่งสุทธิของภาคครัวเรือนโดยเฉลี่ยของสหรัฐพุ่งทะยานขึ้นตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้น 37% ระหว่างปี 2562-65
อย่างไรก็ตาม เอเดลแมน ไฟแนนเชียล เอนจินส์ระบุว่า มีชาวอเมริกันเพียง 14% ที่มองว่าตัวเองร่ำรวย และมาตรฐานความร่ำรวยมีแต่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ขณะที่ รายงานอีกฉบับจากเลนดิงคลับ (LendingClub) ระบุว่า ชาวอเมริกันกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้กว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่คนเหล่านี้ก็ยังพูดว่าพวกเขาใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน
ปัญหาเงินเฟ้อสูงและความไร้เสถียรภาพที่ยืดเยื้อยาวนานได้บั่นทอนกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ขณะที่อินสตาแกรมก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบเช่นกัน
“สิ่งที่เราพบคือความเชื่อมโยงระหว่างความรู้สึกไม่ดีต่อสถานะการเงินของคุณกับระยะเวลาที่คุณใช้โซเชียลมีเดีย” นางอิซาเบล บาร์โรว์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการเงินของเอเดลแมน ไฟแนนเชียล เอนจินส์ระบุ
การศึกษาของเอเดลแมน ไฟแนนเชียล เอนจินส์บ่งชี้ว่า ผู้บริโภคประมาณ 1 ใน 4 รู้สึกพึงพอใจน้อยลงต่อจำนวนเงินที่พวกเขามีก็เพราะโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ โซเชียลมีเดียยังทำให้บางคนใช้จ่ายเงินเกินตัวไปกับการซื้อสิ่งของแพง ๆ เช่น การพักร้อน, การรีโนเวตบ้าน หรือสินค้าหรูหรา เพราะเผชิญแรงกดดันจากความอยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
.
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/wikifxranking.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
Zero-Day Options คือเครื่องมือที่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่รักความท้าทาย ชอบการเทรดแบบจบภายในวัน และพร้อมรับมือกับความผันผวนที่สูง เทรดเดอร์ที่เก่งกาจสามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สำหรับมือใหม่ก็ต้องศึกษาและฝึกฝนให้มากก่อนที่จะกระโจนเข้าสู่สนามนี้
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
การทำงานของความกลัวในตลาดไม่ต่างจากการทำงานของสัญชาตญาณในตัวเรา เมื่อเรามองเห็นความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยง ความกลัวจะกระตุ้นให้เราหลีกเลี่ยงหรือป้องกันตัวเองจากการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดมีความผันผวนมากขึ้นหรือเมื่อมีข่าวที่ไม่ดีออกมา นักลงทุนมักจะตกอยู่ในสภาวะตกใจและเกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ง่าย
ATFX
IC Markets Global
Octa
FxPro
OANDA
FXTM
ATFX
IC Markets Global
Octa
FxPro
OANDA
FXTM
ATFX
IC Markets Global
Octa
FxPro
OANDA
FXTM
ATFX
IC Markets Global
Octa
FxPro
OANDA
FXTM