简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันพฤหัสบดีที่ 11 ม.ค. 2024
•20.30 น. :ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนต่อเดือน (CPI m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.1% ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
•20.30 น. :ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ปีต่อปี (CPI y/y)
ตัวเลขครั้งก่อน 3.1% ตัวเลขคาดการณ์ 3.2%
•20.30 น. :ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 202K ตัวเลขคาดการณ์ 211K
วันศุกร์ที่ 12 ม.ค. 2024
•20.30 น. :ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ เดือนต่อเดือน (PPI m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.0% ตัวเลขคาดการณ์ 0.1%
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนสูง โดยมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าหนัก ตามการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการย่อตัวลงแรงของราคาทองคำ จากรายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ของสหรัฐฯ ล่าสุด ที่ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยเฟดที่ “เร็วและลึก”
อย่างไรก็ดี เมื่อผู้เล่นในตลาดได้พิจารณาข้อมูลการจ้างงานเชิงลึก ก็เริ่มพบว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ กลับไม่ได้แข็งแกร่งตามข้อมูลที่รายงาน และข้อมูลการจ้างงานโดยรวมก็ออกมาผสมผสาน (มีทั้งส่วนที่ดีและแย่) ขณะเดียวกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) ล่าสุด ที่ออกมาแย่กว่าคาด โดยเฉพาะในส่วนการจ้างงาน ก็ทำให้ ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมามองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็ไม่ได้แข็งแกร่งมากนัก และผู้เล่นในตลาดต่างยังคงมุมมองเดิมว่า เฟดมีโอกาสราว 64% ที่จะลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม ซึ่งมุมมองดังกล่าวส่งผลให้ เงินดอลลาร์ย่อตัวลงบ้าง ส่วนราคาทองคำก็สามารถรีบาวด์ขึ้น หนุนให้เงินบาททยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นได้
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ เดือนธันวาคม โดยผู้เล่นในตลาดจะให้ความสนใจ ต่อ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ซึ่งไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน ว่าจะมีทิศทางชะลอตัวลงต่อเนื่อง หรือ ไม่ โดยล่าสุด นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า Core CPI อาจชะลอลงเล็กน้อยสู่ระดับ 3.8% จากระดับ 4.0% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งหากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟด ที่ “เร็วและลึก” ต่อไปได้ ขณะที่ หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ กลับเร่งตัวขึ้น หรือ ออกมาสูงกว่าคาด ก็จะส่งผลให้ ผู้เล่นในตลาดต่างปรับลดโอกาสที่เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนมีนาคม ซึ่งภาพดังกล่าวจะหนุนให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นได้ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดที่มีมุมมองเป็นกลาง (Neutral) ต่อนโยบายการเงินของเฟด อาทิ Michael Barr (Voter), John Williams (Voter) และ Raphael Bostic (Voter) โดยผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดดังกล่าวจะมีการปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดบ้างหรือไม่ หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด นั้น ออกมาผสมผสาน โดยเฉพาะในส่วนของดัชนี ISM ภาคการบริการ ที่ชะลอลงอย่างชัดเจนและออกมาแย่กว่าคาดไปมาก
2. ฝั่งยุโรป – บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของยูโรโซน และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (Sentix Investor Confidence) นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของทั้ง ECB และ BOE
3. ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนธันวาคม ซึ่งคาดว่าอาจยังคง “ติดลบ” ราว -0.4% สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่ยังมีปัญหาอยู่ ทั้งนี้ ยอดการค้าระหว่างประเทศของจีนก็เริ่มมีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นบ้าง โดยนักวิเคราะห์ประเมิน ยอดการส่งออก (Exports) เดือนธันวาคม ขยายตัว +1.6%y/y ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี บรรยากาศในตลาดการเงินจีนอาจอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) หลังมีรายงานข่าวว่า Zhongzhi ธนาคารเงา (Shadow Banking) รายใหญ่ของจีน ได้ยื่นล้มละลายต่อศาล ซึ่งภาพดังกล่าวอาจกดดันตลาดการเงินจีนและมีโอกาสส่งผลให้เงินหยวนจีน (CNY) ผันผวนอ่อนค่าได้ ในส่วนของนโยบายการเงิน นักวิเคราะห์ประเมินว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.50% หลังอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ชะลอตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับ 3.2% ส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมก็มีทิศทางชะลอตัวลงบ้างสำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า โมเมนตัมการอ่อนค่ายังคงมีอยู่ ทำให้เงินบาทเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้าน 34.80 บาทต่อดอลลาร์ (โซนถัดไป คือ 35.00) หากผู้เล่นในตลาดต่างปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยเฟด นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำซึ่งอาจปรับตัวลดลงต่อได้ ขณะเดียวกัน บรรยากาศในตลาดการเงินจีนและทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) ก็อาจสร้างความผันผวนต่อสกุลเงินฝั่งเอเชียได้ หากผู้เล่นในตลาดต่างกังวลปัญหาหนี้ในจีนมากขึ้น จากข่าวการยื่นล้มละลายของธนาคารเงารายใหญ่ Zhongzhi
ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น คงมองว่า เงินดอลลาร์ยังมีโอกาสแข็งค่าขึ้น หากอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ไม่ได้ชะลอลงตามคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจต้องปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด จนอาจมองว่า เฟดมีโอกาสคงอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม เราคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.35-35.00 บาท/ดอลลาร์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จสามารถเปรียบเทียบกับการเดินเรือข้ามมหาสมุทรที่ต้องใช้การวางแผนและความระมัดระวังในทุกขั้นตอน ซึ่งใน 5 วิธีที่กล่าวถึงนี้ ไม่มีขั้นตอนใดที่สามารถขาดไปได้: 1. Plan (การวางแผน) = จุดหมายปลายทาง 2. Strategy (กลยุทธ์) = แผนที่เส้นทางเพื่อที่จะไปยังจุดหมายปลายทาง 3. Risk Management (การจัดการความเสี่ยง) = ขับเรืออย่างระวังเพื่อที่จะไม่ให้ไปชนภูเขาน้ำแข็ง 4. Lookout for News (ติดตามข่าวสาร) = มีไหวพริบที่ดี สังเกตุถึงความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น 5. Play Your Own Game (เล่นเกมส์ชีวิตของตัวเองโดยไม่ไปแข่งกับผู้อื่น) = มุ่งไปหาเป้าหมายที่เราตั้งไว้
เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้กล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจในงานเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัสเมื่อวานนี้ว่า
กฎสำคัญของการเทรดแบบ Scalping 1.ใช้กลยุทธ์ Scalping ที่มีคุณภาพ 2.หาจุดคุ้มทุน (Break-even stops) 3.อย่าคิดว่าการเทรดบ่อย ๆ จะทำให้ได้เงินเยอะ 4.ติดตามกลยุทธ์การเทรด 5.ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์การเทรดที่วางไว้ 6.เทรดด้วยอัตราการชนะที่มากกว่า 7.ใช้กรอบเวลาที่เหมาะสม 8.เริ่มต้นเล็ก ๆ ก่อน 9.เชี่ยวชาญในโครงสร้างตลาด 10.ฝึกฝนการเทรดทุกวัน
สเปรดมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการเทรดโดยตรง สเปรดที่ต่ำช่วยลดต้นทุนและรักษากำไรได้มากขึ้น โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดบ่อยหรือในปริมาณมาก สเปรดที่สูงสามารถลดกำไรเมื่อเวลาผ่านไป เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping และ Day Trading จะไวต่อสเปรดสูง เนื่องจากอาจลดหรือทำให้กำไรหายไป การเลือกโบรกเกอร์ที่มีสเปรดต่ำจึงสำคัญ ความผันผวนของตลาดอาจทำให้สเปรดกว้างขึ้น เทรดเดอร์มักเลือกเทรดในช่วงสภาพคล่องสูงและใช้คำสั่ง Limit เพื่อลดต้นทุน สุดท้าย การเลือกโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN และการหลีกเลี่ยงข่าวผันผวนช่วยจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น
Octa
Pepperstone
OANDA
Vantage
STARTRADER
IQ Option
Octa
Pepperstone
OANDA
Vantage
STARTRADER
IQ Option
Octa
Pepperstone
OANDA
Vantage
STARTRADER
IQ Option
Octa
Pepperstone
OANDA
Vantage
STARTRADER
IQ Option