简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันอังคารที่ 26 ก.ย. 2023
•21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (CB Consumer Confidence)
ตัวเลขครั้งก่อน 106.1 ตัวเลขคาดการณ์ 105.5
วันพฤหัสบดีที่ 28 ก.ย. 2023
•19.30 น. : ดัชนี GDP สหรัฐฯ (Final GDP q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 2.1% ตัวเลขคาดการณ์ 2.3%
•19.30 น. : จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 201K ตัวเลขคาดการณ์ 213K
วันศุกร์ที่ 29 ก.ย. 2023
• 19.30 น. : ดัชนีราคาผู้บริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ (Core PCE Price Index m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.2% ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
• 21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภครัฐมิชิแกนสหรัฐฯ (Revised UoM Consumer Sentiment)
ตัวเลขครั้งก่อน 67.7 ตัวเลขคาดการณ์ 67.7
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา Dot Plot ใหม่ของเฟดที่สะท้อนแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานกว่าคาด ยังคงหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง
เงินดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัว sideway เพื่อรอรับรู้ปัจจัยใหม่ ๆ โดยการแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจเริ่มชะลอลงบ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด ในส่วนของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่าเริ่มแผ่วลง แต่ต้องรอลุ้นฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งหากผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า กนง. อาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วในการประชุมครั้งนี้ ก็อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยกลับเข้าซื้อบอนด์ไทยได้
1. ฝั่งสหรัฐฯ – เนื่องจากสัปดาห์นี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอาจมีไม่มากนัก ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด หลังจาก Dot Plot ล่าสุด ยังคงสะท้อนแนวโน้มเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) อนึ่ง ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) เดือนกันยายน ที่มีโอกาสลดลงสู่ระดับ 105.5 จุด ตามภาพเศรษฐกิจที่ชะลอลงและแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ แนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE เดือนสิงหาคม ที่อาจชะลอลงสู่ระดับ 3.9% จาก 4.2% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเรามองว่า หากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่องในอัตราดังกล่าว ก็อาจลดโอกาสการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด โดยเราคงมุมมองเดิมว่า เฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว สวนทางกับ Dot Plot ล่าสุดที่ยังคงสะท้อนโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 1 ครั้ง (+25bps) สู่ระดับ 5.50-5.75%
2. ฝั่งยุโรป – ตลาดประเมินว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนี (Ifo Business Climate) ในเดือนกันยายน อาจปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สะท้อนถึงความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นของบรรดาผู้ประกอบการ ท่ามกลางผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ต่างคาดว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงต่อเนื่องของเศรษฐกิจยูโรโซนจะส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ของยูโรโซนในเดือนกันยายน ชะลอตัวลงต่อเนื่อ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI แม้ว่าจะได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบบ้าง แต่โดยรวมจะชะลอลง จากแนวโน้มการชะลอตัวลงของทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เราคาดว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วที่ระดับ Deposit Facility Rate 4.00%
3. ฝั่งเอเชีย – นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักมากขึ้น โดยภาพดังกล่าวจะสะท้อนผ่าน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนสิงหาคมที่จะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Manufacturing and Services PMIs) ของจีน ในเดือนกันยายน โดยตลาดมองว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น หลังทางการจีนได้ออกมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.2 จุด และ 51.5 จุด ตามลำดับ (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว)
4. ฝั่งไทย – เรามองว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจมีมติ “ไม่เป็นเอกฉันท์” ขึ้นดอกเบี้ย +25bps สู่ระดับ 2.50% ท่ามกลางแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของภาวะ El Nino, ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของการบริโภคตามแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (Policy Space) เพื่อรองรับความเสี่ยงในอนาคต ทั้งนี้ หาก กนง. ส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายของวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ เราประเมินว่า ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยกลับเข้าซื้อบอนด์ไทยมากขึ้น จากแรงกดดันต่อบอนด์ยีลด์ที่จะลดลง นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทที่เริ่มชะลอลงและอาจผ่านจุดอ่อนค่าสุดในปีนี้ไปแล้ว ก็อาจหนุนให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้าซื้อบอนด์ไทยได้เช่นกัน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
กฎสำคัญของการเทรดแบบ Scalping 1.ใช้กลยุทธ์ Scalping ที่มีคุณภาพ 2.หาจุดคุ้มทุน (Break-even stops) 3.อย่าคิดว่าการเทรดบ่อย ๆ จะทำให้ได้เงินเยอะ 4.ติดตามกลยุทธ์การเทรด 5.ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์การเทรดที่วางไว้ 6.เทรดด้วยอัตราการชนะที่มากกว่า 7.ใช้กรอบเวลาที่เหมาะสม 8.เริ่มต้นเล็ก ๆ ก่อน 9.เชี่ยวชาญในโครงสร้างตลาด 10.ฝึกฝนการเทรดทุกวัน
สเปรดมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการเทรดโดยตรง สเปรดที่ต่ำช่วยลดต้นทุนและรักษากำไรได้มากขึ้น โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดบ่อยหรือในปริมาณมาก สเปรดที่สูงสามารถลดกำไรเมื่อเวลาผ่านไป เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping และ Day Trading จะไวต่อสเปรดสูง เนื่องจากอาจลดหรือทำให้กำไรหายไป การเลือกโบรกเกอร์ที่มีสเปรดต่ำจึงสำคัญ ความผันผวนของตลาดอาจทำให้สเปรดกว้างขึ้น เทรดเดอร์มักเลือกเทรดในช่วงสภาพคล่องสูงและใช้คำสั่ง Limit เพื่อลดต้นทุน สุดท้าย การเลือกโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN และการหลีกเลี่ยงข่าวผันผวนช่วยจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น
บทวิเคราะห์บิตคอยน์
บทความนี้ชวนผู้อ่านสำรวจตนเองว่ากำลังเสพติดการเทรดหรือไม่ โดยชี้ให้เห็นสัญญาณสำคัญที่แสดงถึงการเสพติด เช่น การเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่มีแผน หมกมุ่นกับการติดตามข้อมูล ละเลยกิจกรรมอื่น ๆ เทรดด้วยอารมณ์ และประสบความเครียดเมื่อไม่ได้เทรด การตระหนักถึงสัญญาณเหล่านี้จะช่วยป้องกันผลกระทบต่อการเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพกายใจ
VT Markets
Vantage
FXTM
HFM
Tickmill
ATFX
VT Markets
Vantage
FXTM
HFM
Tickmill
ATFX
VT Markets
Vantage
FXTM
HFM
Tickmill
ATFX
VT Markets
Vantage
FXTM
HFM
Tickmill
ATFX