简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม มีมติเป็นเอกฉันท์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม มีมติเป็นเอกฉันท์ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี และนับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 11 ในการประชุมนโยบาย 12 ครั้งหลังสุด นับตั้งแต่ที่เฟดเริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2565 ส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวมแล้ว 5.25%
แถลงการณ์ของ Fed ระบุว่า แม้การชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักธุรกิจชาวอเมริกัน แต่ระดับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุดยังคงอยู่สูงกว่าระดับเป้าหมายของเฟดที่ 2% อีกทั้ง Fed ยังคงให้น้ำหนักความสำคัญอย่างมากต่อความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อมากกว่า ดังนั้นจึงตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกรกฎาคม หลังจากที่ไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งก่อน
ก่อนหน้านี้ บรรดานักลงทุนต่างคาดการณ์ว่า Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมรอบนี้ และจะยุติวงจรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยคงอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดแถลงข่าวภายหลังการประชุมว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคตนั้น เฟดจะตัดสินใจในการประชุมเป็นรายครั้ง รวมทั้งพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเวลานั้น โดยเฟดจะจับตาข้อมูลเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อาจจะไม่เกิดขึ้น
พาวเวลล์ ยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสคาดการณ์ในตลาดว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ โดยเขากล่าวว่า เราจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อเราเห็นว่าสถานการณ์เอื้ออำนวยให้เราดำเนินการเช่นนั้น แต่คาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่เกิดขึ้นในปีนี้
และเฟดจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่จะเห็นเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือ Soft Landing ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อชะลอตัวลง, อัตราว่างงานยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ และเศรษฐกิจไม่อยู่ในภาวะถดถอย
ทั้งนี้ จะมีการเปิดเผยดัชนีราคาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditures Price Index : PCE) เดือนมิ.ย.ในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed นิยมนำมาใช้อ้างอิงปรับเพิ่มขึ้น 3.8% ในเดือนพฤษภาคมจากปีก่อนหน้า แต่ลดลงจาก 4.3% ของเดือนเมษายน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานลดลงเหลือ 4.6% จาก 4.7%
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนวิเคราะห์ว่า ในส่วนของ “ทองคำ” แม้ว่า สถิติในอดีตจะชี้ว่า ราคาทองคำ มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หากเฟดจบรอบการขึ้นดอกเบี้ย แต่เรามองว่า ยังคงต้องระมัดระวังว่า บรรดาธนาคารกลางอื่นๆ จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีกหรือไม่ และบรรยากาศในตลาดการเงินจะเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อ (Risk-On) อีกนานเพียงใด เนื่องจากภาพดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อได้ยาก ทำให้เราคงมองเป้าราคาทองคำแถว 2,100 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และควรรอจังหวะราคาทองคำย่อตัวลงในการทยอยเข้าซื้อ เพื่อ hedge ความเสี่ยงการลงทุน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
บทวิเคราะห์ทองคำ
Vantage
GO MARKETS
STARTRADER
Pepperstone
Tickmill
FBS
Vantage
GO MARKETS
STARTRADER
Pepperstone
Tickmill
FBS
Vantage
GO MARKETS
STARTRADER
Pepperstone
Tickmill
FBS
Vantage
GO MARKETS
STARTRADER
Pepperstone
Tickmill
FBS