简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง ตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาด
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง ตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาแย่กว่าคาด
เตรียมรับมือความผันผวน ท่ามกลางการประชุมธนาคารกลางหลัก อาทิ เฟด, ECB และ BOJ พร้อมรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งสหรัฐฯ และจีน
มองว่า เงินดอลลาร์อาจพลิกกลับมาอ่อนค่าลง หากเฟดคงอัตราดอกเบี้ยพร้อมส่งสัญญาณจบรอบขาขึ้นดอกเบี้ยชัดเจน นอกจากนี้ เงินดอลลาร์อาจถูกกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร หาก ECB ขึ้นดอกเบี้ยและย้ำจุดยืนเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ ในส่วนของค่าเงินบาท โอกาสทยอยแข็งค่าเริ่มชัดเจนขึ้น หลังเงินบาทยังไม่สามารถอ่อนค่าทะลุแนวต้านโซน 34.90 บาทต่อดอลลาร์ไปได้ไกล โดยผู้เล่นในตลาดต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์ในจังหวะเงินบาทอ่อนค่า
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติก็เริ่มกลับมาซื้อสุทธิสินทรัพย์ไทยมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังคงต้องจับตาทิศทางราคาทองคำ รวมถึงค่าเงินหยวนจีนซึ่งมีผลกับเงินบาทพอสมควรในช่วงนี้ โดยเงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนออกมาแย่กว่าคาด กดดันให้เงินหยวนจีนผันผวนอ่อนค่าลง
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ก่อนที่ตลาดจะรับรู้ผลการประชุม FOMC ตลาดอาจผันผวนไปตาม รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนพฤษภาคม โดยหากอัตราเงินเฟ้อ CPI ชะลอลงสู่ระดับ 4.1% (+0.2%m/m) ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ซึ่งไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร ก็ชะลอลงสู่ระดับ 5.2% (+0.4%) ตามคาด ก็อาจช่วยให้ผู้เล่นในตลาดยังมองว่า เฟดอาจไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน แต่หากอัตราเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่า เฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน หรือ เพิ่มโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งถัดไป หากเฟดคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ มองว่า การชะลอตัวลงต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเริ่มเห็นผลกระทบต่อภาคการบริการ (ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของเศรษฐกิจ) ส่วนตลาดแรงงานก็ชะลอลงมากขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง และภาวะสินเชื่อ (Credit Condition) ที่ตึงตัวขึ้นอย่างชัดเจน จะส่งผลให้เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.00-5.25%
นอกจากนี้ ยังคาดว่า เฟดอาจมีการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจเพื่อให้สะท้อนแนวโน้มการชะลอลงของข้อมูลเศรษฐกิจที่ผ่านมามากขึ้น และที่สำคัญ คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot ใหม่ อาจยังคงสะท้อนว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.00-5.25% ซึ่งเราประเมินว่า ควรจะเห็นจำนวนเจ้าหน้าที่เฟดที่มีมุมมองดังกล่าวมากขึ้น และจำนวนเจ้าหน้าที่เฟดที่สนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ควรจะลดลงบ้าง อย่างไรก็ดี หากผลการประชุมเป็นไปตามเราคาด แต่ Dot Plot กลับสะท้อนโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ก็อาจส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวน โดยเงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้น สวนทางกับที่เราคาดการณ์ได้
2. ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน ผ่านรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี (ZEW Survey) เดือนมิถุนายน โดยตลาดมองว่า ความกังวลต่อแนวโน้มภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีน รวมถึงผลกระทบจากการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องของธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจกดดันให้บรรดานักลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์ต่างมีมุมมองเชิงลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนีเพิ่มเติม โดยดัชนี ZEW อาจลดลงสู่ระดับ -13.1 จุด
อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจยูโรโซนอาจชะลอลง แต่เราประเมินว่า ECB จะยังคงให้ความสำคัญต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย (Deposit Facility Rate) +25bps สู่ระดับ 3.50% พร้อมกับส่งสัญญาณชัดเจนว่า การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องยังมีความจำเป็น (ผู้เล่นในตลาดคาดว่า ECB อาจขึ้นดอกเบี้ยจนถึงระดับ 3.75%) โดยผู้เล่นในตลาดจะจับตาว่า ECB จะส่งสัญญาณว่าการขึ้นดอกเบี้ยจะมีอีกกี่ครั้ง
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจจีนอาจยังคงฟื้นตัวได้แย่กว่าคาด สะท้อนผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญเดือนพฤษภาคมที่อาจชะลอลงต่อเนื่อง โดยยอดค้าปลีก (Retail Sales) อาจขยายตัวราว +14%y/y (ชะลอลงจาก +18% ในเดือนก่อนหน้า) ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) จะโตเพียง +3.5%y/y ลดลงจาก +5.6% ในเดือนก่อน ซึ่งภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แย่กว่าคาดนั้น จะหนุนโอกาสที่ทางการจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเรามองว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ลง -10bps สู่ระดับ 2.65% ซึ่งแม้อาจไม่ได้ส่งผลบวกโดยตรงมากนัก แต่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็อาจหนุนให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจดีขึ้นจากความหวังว่าทางการจีนพร้อมเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
อีกไฮไลท์สำคัญ คือ ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยมองว่า BOJ จะยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ โดยจะ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.10% และยังคงตรึงบอนด์ยีลด์ 10 ปี ไว้ที่ระดับ 0.00%+/-0.50% จนกว่า BOJ จะมั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มอยู่ใกล้ระดับ 2% ได้ในระยะยาว แม้ว่าปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่า 3.5% ก็ตาม แต่ BOJ ยังคงกังวลว่า อัตราการเติบโตของค่าจ้างยังไม่สูงพอที่จะหนุนให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ใกล้ระดับ 2% ได้ในระยะยาว
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การใช้ Sentiment Analysis เป็นการเทรดที่มีความทันสมัยและเต็มไปด้วยศักยภาพในการทำกำไรจากข้อมูลที่อาจมองข้ามได้ในตลาดดั้งเดิม ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ความคิดเห็นและความรู้สึกของนักลงทุนในช่วงเวลาต่างๆ Sentiment Analysis ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะการเคลื่อนไหวของตลาดและทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความโลภอาจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้คุณไปสู่การทำกำไรที่สูงขึ้น แต่ในทางกลับกันมันก็สามารถทำให้คุณหลุดออกจากเส้นทางการเทรดที่มีระเบียบได้อย่างง่ายดาย การยอมรับความเสี่ยง การตั้งขีดจำกัดในการเทรด และการรักษาวินัยในตัวเองจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากความโลภ และสามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
IQ Option
ATFX
Tickmill
FP Markets
XM
FOREX.com
IQ Option
ATFX
Tickmill
FP Markets
XM
FOREX.com
IQ Option
ATFX
Tickmill
FP Markets
XM
FOREX.com
IQ Option
ATFX
Tickmill
FP Markets
XM
FOREX.com