简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แนวโน้มตลาดเดือนมิถุนายน Dot Plot เฟด ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์และตลาดการเงิน
แนวโน้มตลาดเดือนมิถุนายน
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยประเมิณว่า ในเดือนมิถุนายน ปัจจัยเสี่ยงที่กดดันตลาดการเงินโดยรวมได้คลี่คลายลงไปพอสมควร อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประชุมเฟดในเดือนมิถุนายนว่า เฟดจะส่งสัญญาณต่อการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตอย่างไร หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อและภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ชะลอตัว แต่ทว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัวอยู่
นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามผลการประชุมของบรรดาธนาคารกลางหลักอื่นๆ อาทิ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ซึ่งผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า ทั้ง ECB และ ECB จะส่งสัญญาณชัดเจน พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตลาดมองว่า BOJ อาจส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ ซึ่งอาจส่งผลกดดันให้เงินเยนญี่ปุ่นยังไม่สามารถพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้
โดยในส่วนนโยบายการเงินของเฟดนั้น มองว่า ตลาดการเงินได้รับรู้ แนวโน้มการ “คงอัตราดอกเบี้ย” ในการประชุมเดือนมิถุนายน ไปมากแล้ว (CME FedWatch Tool ชี้ว่า ตลาดให้โอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 82%)
ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ในการประชุมเดือนกรกฎาคม หรือ เดือนกันยายน (CME FedWatch Tool ชี้ว่า ตลาดให้โอกาสเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยราว 63%) ทำให้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจปรับมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของเฟดใหม่ หากคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยเฟด หรือ Dot Plot ใหม่ ชี้ชัดว่า เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจจะต้องเห็นจำนวนเจ้าหน้าที่เฟด (แต่ละ Dot แทนความเห็นเจ้าหน้าที่เฟดแต่ละท่าน) ที่คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.125% (ค่ากลางของ 5.00-5.25%) เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 10 ท่าน และควรเห็นจำนวนเจ้าหน้าที่เฟดที่คาดการณ์การเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยลดลงจาก 7 ท่าน ซึ่งในกรณีดังกล่าว เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสปรับตัวอ่อนค่าลง เพื่อสะท้อนการปรับมุมมองใหม่ของผู้เล่นในตลาด
และนอกเหนือจากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของเฟด เรามองว่า หากบรรดาธนาคารกลางหลัก อย่าง ECB และ BOE เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย พร้อมกับส่งสัญญาณชัดเจนว่า การขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องยังมีความจำเป็นอยู่ เพื่อควบคุมปัญหาเงินเฟ้อสูง (แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงต่อเนื่องแล้วก็ตาม) ภาพดังกล่าวอาจหนุนให้สกุลเงินฝั่งยุโรป อย่าง เงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) แข็งค่าขึ้นได้บ้าง หลังจากที่ปรับตัวอ่อนค่าลงตลอดเดือนที่ผ่านมา กดดันให้เงินดอลลาร์โดยรวมอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง หากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงย้ำจุดยืนใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ทำให้เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ทรงตัวใกล้เคียงกับระดับปัจจุบัน หรือ แข็งค่าขึ้นได้ยาก
นอกจากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของบรรดาธนาคารกลางหลัก เรามองว่า ปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน โดยเฉพาะ ตลาดการเงินฝั่งเอเชีย คือ แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้แย่กว่าที่ตลาดคาดไปมาก กดดันให้ นักลงทุนต่างขายสินทรัพย์จีน (โดยเฉพาะหุ้นจีน/หุ้นฮ่องกง) และทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลง อนึ่ง เราประเมินว่า ภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่แย่กว่าคาด อาจเพิ่มโอกาสให้ทางการจีนจำเป็นต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และธนาคารกลางจีน (PBOC) มีโอกาสใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยในกรณีดังกล่าว ตลาดก็อาจกลับมามีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีนมากขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นจีน/ฮ่องกงอาจปรับตัวขึ้น และค่าเงินหยวนก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้
ส่วนในมุมมองของค่าเงินบาท เรามองเงินบาทมีแนวโน้มผันผวน Sideway หรือ Sideway Down ในกรอบกว้าง 34.00-34.90 บาทต่อดอลลาร์ (จับตาแนวรับแรก 34.40-34.50 บาทต่อดอลลาร์) โดยเรามองว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าของเงินบาทนั้นแผ่วลงชัดเจน สะท้อนผ่านการที่เงินบาทยังไม่สามารถอ่อนค่าลงทะลุโซนแนวต้าน 34.80-34.90 บาทต่อดอลลาร์ไปได้ไกล ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าจะยังคงเป็น ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งอาจกระทบต่อทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ
นอกจากนี้ ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อาจแย่กว่าคาด ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่กดดันเงินบาทได้ ผ่านการอ่อนค่าลงของค่าเงินหยวนและแรงขายสินทรัพย์เสี่ยงในฝั่ง EM Asia ขณะที่ปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่า จะมาจากการกลับตัวอ่อนค่าลงชัดเจนของเงินดอลลาร์ ซึ่งต้องรอลุ้นว่า ผลการประชุมเฟดจะเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้หรือไม่ และหากเงินดอลลาร์ย่อตัวลง ราคาทองคำก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้ ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจทยอยขายทำกำไรทองคำ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็สามารถหนุนการแข็งค่าของเงินบาทได้บ้าง
ในเชิงเทคนิคัล ทั้งสัญญาณจาก RSI และ MACD ชี้ว่า เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway หรือ sideway down โดยเรารอความชัดเจนของ RSI Bearish Divergence และสัญญาณ bearish จาก MACD จึงจะมั่นใจในการมองว่า เงินบาทมีแนวโน้มทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง และหากพิจารณาการเคลื่อนไหวของเงินบาทรายวันผ่านกราฟแท่งเทียน จะเริ่มเห็นแท่งเทียนเช่น Shooting star หรือ Doji มากขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงความลังเลของตลาดว่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อหรือไม่
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้
1. แนวโน้มนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลัก
2. ภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน
3. สถานการณ์การเมืองของไทย
4. สงครามรัสเซีย-ยูเครน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
บทวิเคราะห์ทองคำ
FxPro
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
Pepperstone
EC Markets
FxPro
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
Pepperstone
EC Markets
FxPro
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
Pepperstone
EC Markets
FxPro
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
Pepperstone
EC Markets