简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เงินเฟ้อไทยเดือนตุลาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ 5.98% ติดต่อกันมา 2 เดือน !
กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคม ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับ 5.98% จากการชะลอตัวลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ราคาอาหารโดยรวมยังอยู่ในระดับสูงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกจากภาวะน้ำท่วมหนัก ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงในเดือนพฤศจิกายน ตามราคาสินค้าหลายรายการที่ชะลอตัวลงหรือคงที่ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความเสี่ยงที่ราคาสินค้าพลังงานอาจปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะอุปทานตึงตัว ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ
แนวโน้มการชะลอตัวลงต่อเนื่องของเงินเฟ้อไทย และท่าทีการชะลอการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ทำให้เรายังคงมองเดิมว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ครั้งละ 0.25% จนแตะระดับ 1.25% ปลายปีนี้ และแตะระดับสูงสุดของรอบการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ที่ 2.00% ในกลางปีหน้า แม้ว่าตลาดจะรับรู้การทยอยขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. ไปมากแล้ว แต่ควรติดตามความเสี่ยงต่อทิศทางเงินเฟ้อ อาทิ การอ่อนค่าของเงินบาท รวมถึงทิศทางราคาสินค้าพลังงาน
กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ 5.98% ลดลง จากระดับ 6.41% ในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 5.98% จาก 6.41% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาสินค้าพลังงานและราคาหมวดอาหารที่อยู่ในระดับสูงจากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งผ่านต้นทุนที่สูงของผู้ประกอบการเริ่มมีการชะลอลง ดังจะเห็นได้จากการที่สินค้าหลายรายการมีการปรับเพิ่มขึ้นราคาไม่มากหรือคงราคาไว้ระดับเดิม ทั้งนี้ เมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 3.17%
กระทรวงพาณิชย์ มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มชะลอลงในเดือนพฤศจิกายน ตามการชะลอตัวลงของสินค้าหลายรายการ ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายลงจะส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรกลับเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ ความเสี่ยงเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ตามภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและความเสี่ยงที่ราคาสินค้าพลังงานอาจปรับตัวสูงขึ้น ในภาวะอุปทานตึงตัว อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์คงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปที่ระดับ 5.5%-6.5% ในปีนี้ (ค่ากลาง 6.0%)
ข้อมูลจาก : Investing.com
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบ เรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ศาลยกฟ้องคดีแชร์ Forex-3D ดีเจแมน – ใบเตย-แดริล
ปัจจัยใดบ้างที่น่าจะมีผลสำคัญที่สุดต่อนักลงทุนในปี 2025? 1. ผลกระทบระดับโลกจากการปรับสมดุลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ 2. การเปลี่ยนแปลงจากเซมิคอนดักเตอร์ไปสู่ SaaS 3. การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ใหม่
การสรุปพอร์ตในปีเก่าไม่เพียงแค่เป็นการทบทวนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมและวางแผนให้กับการลงทุนในปีใหม่ด้วย การตั้งเป้าหมายใหม่ การปรับกลยุทธ์ และการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม จะทำให้เรามีแนวทางที่มั่นคงและลดความเสี่ยงในการเทรดมากขึ้น ขอให้ทุกท่านพร้อมรับปีใหม่ด้วยความมั่นใจและกลยุทธ์ที่ดียิ่งขึ้นครับ!
ในปีนี้ อย่าลืมว่า การสร้างวินัยในการเทรด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เสร็จได้ในวันเดียว มันเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ความสำเร็จในการเทรดจะไม่เกิดขึ้นจากการกระทำที่หุนหันพลันแล่น แต่จะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตัวเอง และการทำตามแผนอย่างเคร่งครัด