简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Peter Nurse Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในวันจันทร์ โดยผู้กำหน
โดย Peter Nurse
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในวันจันทร์ โดยผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อนโยบายการเงินก่อนการประชุมสัมมนาในเมืองแจ็คฮัน โฮล ที่สำคัญของธนาคารกลางในสัปดาห์นี้
ในเวลา 2:55 น. ET (06:55 GMT) ดัชนีดอลลาร์ซึ่งติดตามดอลลาร์เทียบกับกลุ่มของสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายเพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 108.160 หลังจากพุ่งขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่สูงถึง 108.26 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม
ดัชนีปรับตัวขึ้นมากกว่า 2% ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับขึ้นรายสัปดาห์ที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 โดยได้รับแรงหนุนจากของเจ้าหน้าที่เฟดจำนวนหนึ่งที่เน้นย้ำว่าจำเป็นต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างหนักเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานที่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 225 จุดพื้นฐานตั้งแต่เดือนมีนาคม แต่ทุกสายตาจะจับจ้องไปที่คำกล่าวปราศัยของ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดในเมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิงในวันศุกร์นี้ เพื่อหาคำตอบว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะสูงขึ้นแค่ไหนและจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ที่เป้าหมาย
โดยก่อนจะถึงการประชุมที่สำคัญของธนาคารกลาง EUR/USD ร่วงลง 0.1% เป็น 1.0027 ซึ่งร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์หลังจากบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซีย Gazprom ประกาศหยุดส่งก๊าซที่ผ่านท่อส่ง Nord Stream 1 ไปยังยุโรปเป็นเวลา 3 วันในปลายเดือนนี้ ทำให้วิกฤตพลังงานของภูมิภาครุนแรงขึ้น
ธนาคารกลางยุโรปคาดว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายน หลังจากที่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับเพิ่มขึ้น 50 จุดเมื่อเดือนที่แล้ว
อิซาเบล ชนาเบล สมาชิกคณะกรรมการ ECB กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าเธอสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่อีกครั้งในเดือนหน้า เนื่องจากแนวโน้มเงินเฟ้อในภูมิภาคยังไม่ดีขึ้น
“ดูเหมือนว่าธนาคารกลางยุโรปจะมีปัญหากับค่าเงินยูโรที่อ่อนค่า โดยพิจารณาจากการสัมภาษณ์ของ อิซาเบล ชนาเบล” นักวิเคราะห์จาก ING กล่าวในหมายเหตุ “แต่การจะผลักดัน EUR/USD ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นคู่เงินยูโรที่มีความเกี่ยวข้องมากที่สุดในช่วงวิกฤตพลังงาน ECB จะต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างมาก ซึ่งนั่นเป็นงานที่ยากลำบากเพราะมีภาวะถดถอยคอยอยู่”
USD/CNY เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 6.8271 โดยทั้งคู่ไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบสองปีหลังจากที่ธนาคารกลางของจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สำคัญอีกครั้ง โดยพยายามสนับสนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 และวิกฤตอสังหาริมทรัพย์
GBP/USD ปรับลดลงมาที่ 1.1824 ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ของวันศุกร์ที่ 1.1792 โดยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอยที่เพิ่มขึ้นและเงินเฟ้อกดดันการเงินภาคครัวเรือน
ตลาดคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษจะกระชับนโยบายการเงินต่อไปโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดพื้นฐานในเดือนกันยายน แต่ไม่น่าจะหนุนค่าเงินปอนด์ได้มากนักหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเตือนว่าเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเวลานานในไตรมาสที่สี่
USD/JPY เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 137.03 โดยที่เงินเยนแข็งค่าจากผลตอบแทนของพันธบัตรที่พุ่งสูงขึ้นก่อนการประชุมสัมมนาณ เมืองแจ็คสัน โฮล ทำให้ระดับ 140 กลับมาอยู่ในการจับตามองอีกครั้ง ในขณะที่ AUD/USD ที่อ่อนไหวต่อความเสี่ยงปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 0.6898 แรงหนุนจากการลดอัตราดอกเบี้ยของจีน
ค่าเงินบาท USD/THB อ่อนค่า ปรับตัวขึ้น 1.08% ยืนเหนือ 36.110 บาทอีกครั้งในช่วงบ่าย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
STARTRADER
FBS
GO MARKETS
FXTM
XM
FP Markets
STARTRADER
FBS
GO MARKETS
FXTM
XM
FP Markets
STARTRADER
FBS
GO MARKETS
FXTM
XM
FP Markets
STARTRADER
FBS
GO MARKETS
FXTM
XM
FP Markets