简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Peter Nurse Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงต้นของยุโรปเมื่อวันพ
โดย Peter Nurse
Investing.com – ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในการซื้อขายช่วงต้นของยุโรปเมื่อวันพฤหัสบดี โดยยังแข็งค่าต่อเนื่องจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยขนาดใหญ่ หลังจากการเปิดเผยข้อมูลอัตราเงินเฟ้อล่าสุด
เมื่อเวลา 3:15 น. ET (07.15 GMT) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งติดตามค่าเงินดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่นๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายเพิ่มขึ้น 0.6% เป็น 108.430 ซึ่งต่ำกว่าจุดสูงสุดสองทศวรรษที่ 108.560 ที่แตะถึงเมื่อต้นสัปดาห์นี้
โดยกำไรของดอลลาร์เพิ่มขึ้นหลังจากการประกาศตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ เมื่อวันพุธที่แสดงให้เห็นว่าตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นที่ 9.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบสี่ทศวรรษ
สิ่งนี้ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าเฟดจะ เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ขนาดใหญ่มาก ๆ ที่ 100 จุดพื้นฐานในการประชุมในเดือนนี้ แทนที่จะเป็น 75 จุดพื้นฐานตามที่ได้มีการคาดการณ์ไว้
ความคาดหวังเหล่านี้ยังได้รับการสนับสนุนโดยความเห็นจากราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดแห่งแอตแลนต้าที่กล่าวว่า “ทุกอย่างอยู่ในการดำเนินการ” เพื่อต่อสู้กับแรงกดดันด้านราคา หมายความว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่จุดเปอร์เซ็นต์เต็มมีความเป็นไปได้ที่ชัดเจน
นอกจากนี้ ลอลเ็ตต้า เมสเตอร์ ประธานเฟดแห่งคลีฟแลนด์กล่าวกับบลูมเบิร์กว่าธนาคารกลางจะต้องดำเนินการทางนโยบายให้เหนือกว่าระดับที่เป็นกลางเพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
EUR/USD ลดลง 0.4% เป็น 1.0017 โดยลดลงต่ำกว่าระดับที่เท่าเทียมกันในวันพุธเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2002
คณะกรรมาธิการยุโรปมีกำหนดจะประกาศการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจใหม่ในช่วงท้ายของการประชุม แต่จะลดการคาดการณ์ตัวเลข GDP สำหรับปี 2022 และ 2023 ลงอย่างมาก โดยตามร่างการคาดการณ์ของบลูมเบิร์ก และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากสงครามในยูเครนคือราคาที่สูงขึ้นและอันตรายจากการขาดแคลนพลังงานในฤดูหนาว
สิ่งนี้ทำให้ธนาคารกลางยุโรปอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเนื่องจากค่าเงินที่อ่อนค่ามีความเสี่ยงที่จะเพิ่มแรงผลักให้เกิด เงินเฟ้อ สูงเป็นประวัติการณ์ขึ้นอีก หรือ ECB อาจตอบสนองด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในรูปแบบของตนเอง ซึ่งเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากต้นทุนพลังงานที่สูงอยู่แล้ว
USD/JPY เพิ่มขึ้น 1% เป็น 138.72 ไต่ระดับสู่ระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่เดือนกันยายน 1998 จากการที่ผลตอบแทน พันธบัตรอายุ 2 ปี ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3.1964% หลุดจากจุดสูงสุด 4 สัปดาห์ และสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ผลตอบแทนพันธัตรอายุ 10 ปี ของสหรัฐฯ 2.9340%
USD/CAD เพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 1.3018 โดยดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหลังจากที่ ธนาคารกลางแคนาดา สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดในวันพุธ โดยธนาคารกลางรู้สึกว่าจำเป็นต้องเพิ่ม อัตราดอกเบี้ย 1 จุดพื้นฐานล่วงหน้าเพื่อให้แน่ใจว่า เงินเฟ้อ ที่สูงจะไม่เพิ่มขึ้นอีก
AUD/USD ขยับลดลงเป็น 0.6759 NZD/USD ลดลง 0.3% เป็น 0.6115 ขณะที่ USD/CNY เพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 6.7411
ค่าเงินบาท USD/THB แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ที่ 36.48 บาทต่อดอลลาร์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GO MARKETS
FP Markets
STARTRADER
FBS
IC Markets Global
EC Markets
GO MARKETS
FP Markets
STARTRADER
FBS
IC Markets Global
EC Markets
GO MARKETS
FP Markets
STARTRADER
FBS
IC Markets Global
EC Markets
GO MARKETS
FP Markets
STARTRADER
FBS
IC Markets Global
EC Markets