简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การบุกรุกได้สร้างความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กดดันรัฐบาลไปพร้อมๆ กับตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุดเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
หลังจากใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการอธิบายเหตุผลทางประวัติศาสตร์ว่าทำไมผู้นำของรัสเซียถึงเชื่อว่ายูเครนไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศของ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก็ได้สั่งให้ทหารเกือบ 200,000 นายบุกยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกา ยุโรป และยูเครนซึ่งเป็นผู้ถูกรุกราน เชื่อว่าประเทศในยุโรปตะวันออกเป็นดินแดนที่มีอธิปไตยเป็นของตัวเอง การบุกรุกได้สร้างความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กดดันรัฐบาลไปพร้อมๆ กับตลาดการเงินทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุดเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
นักลงทุนในตลาดบางคนเชื่อว่าสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นตลาดเกิดใหม่ ที่สามารถใช้เป็นทั้งการป้องกันความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อและเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวายทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ก็กลับมีคำถามว่าทำไมทั้งๆ ที่มีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2022 และไฟสงครามที่ร้อนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกิดสงครามโลกในปี 1945 แต่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลกลับไม่ปรับตัวขึ้นเลย
สินทรัพย์เกิดใหม่
ถึงแม้ว่าบิทคอยน์จะเริ่มสร้างชื่อให้กับตัวเองมาตั้งแต่ปี 2010 แต่สกุลเงินดิจิทัลใหม่ๆ กลับพึ่งมาได้รับความนิยมในช่วงห้าปีหลังสุดเท่านั้น การเปิดตัวบิทคอยน์ฟิวเจอร์สในช่วงปลายปี 2017 ได้นำบิทคอยน์เข้าสู่กระแสหลัก ผลักดันราคามีสูงกว่า 20,000 ดอลลาร์ต่อหรึ่งเหรียญ แม้ว่าจะมีความผันผวนสูงมากก็ตาม
ในปี 2010 บิทคอยน์เคยมีการซื้อขายอยู่ที่ 5 เซนต์ต่อหนึ่งเหรียญ แต่ในช่วงปลายปี 2013 ราคาบิทคอยน์กลับสามารถพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1,135.45 ดอลลาร์ได้ ก่อนจะร่วงลงมาต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์ จนถึงปี 2017 เมื่อบิทคอยน์กลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้ง หลังจากนั้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์ทางสถิติที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น:
ในปี 2017 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง 762.38 ดอลลาร์ถึง 19,862 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2018 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $3,158.10 ถึง $17,224.62 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2019 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $3,355.25 ถึง $13,844.30 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2020 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $3,925.27 ถึง $29,301.78 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
ในปี 2021 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง $28,957.79 ถึง $68,906.48 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ
จนถึงตอนนี้ในปี 2022 กรอบราคาบิทคอยน์อยู่ระหว่าง 33,076.69 ถึง 47,937.17 ดอลลาร์ มีจุดต่ำสุดของ ราคาที่ยกตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับจุดสูงสุดก่อนหน้าและยังมีโอกาสที่ปีนี้ราคาบิทคอยน์จะปรับตัวสูงขึ้นได้ สำหรับคำถามที่ว่าทำไมสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ปรับตัวขึ้น ทั้งๆ ที่มีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด? เรามีเหตุผลอธิบายอยู่ในบทความนี้ แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ผู้อ่านควรได้ทำความเข้าใจภาพรวมของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในปัจจุบันก่อน
สภาพตลาดในปัจจุบันที่เทรนด์ขาลงยังเป็นฝ่ายคุมเกม
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน CME Bitcoin Futures ได้ขึ้นมาสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ 69,355 ดอลลาร์ จากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
Bitcoin Futures Weekly
ที่มา: CQG
ตั้งแต่สร้างจุดสูงสุดนั้นได้ ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวลดลง จากกราฟรายสัปดาห์รูปนี้จะเห็นว่าบิทคอยน์ฟิวเจอร์สในวันที่ 24 มกราคมตกลงสู่จุดต่ำสุดที่ 32,855 ดอลลาร์ต่อหนึ่งเหรียญ ทำให้ราชาสกุลเงินดิจิทัลสูญเสียมูลค่าไปมากกว่าครึ่ง
ตั้งแต่นั้นมา การเคลื่อนไหวของบิทคอยน์ก็ไม่ได้ขยับตัวหรือเคลื่อนไหวไปไกลจากบริเวณจุดต่ำสุดบริเวณนี้มากนัก ยิ่งไปกว่านั้น ราคายังลงไปทำจุดต่ำสุดที่ 34,295 ดอลลาร์ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พฤติกรรมล่าสุดที่สร้างจุดสูงสุดที่ต่ำลง ไปพร้อมๆ กับการทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง ก่อให้เกิดรูปแบบทางเทคนิคที่เรียกว่า “รูปลิ่ม” (Wedge) ซึ่งมักจะถูกตีความหมายทางเทคนิคว่ากำลังจะมีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้ามกับเทรนด์ปัจจุบัน
ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้ที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ราคา แต่ในความเห็นของเรา ตลาดสกุลเงินดิจิทัลมีอุปสรรคสำคัญสามประการที่ขวางกั้นขาขึ้นในช่วงเวลานี้เอาไว้
1. รัฐบาลชอบบล็อกเชนแต่ไม่เอาคริปโตฯ
ถึงแม้ว่านักเก็งกำไรและนักลงทุนจำนวนมากยอมรับสกุลเงินดิจิทัลเป็นสินทรัพย์ประเภทหลัก แต่รัฐบาลไม่เคยมองเช่นนั้น ข้ออ้างและการวิพากษ์วิจารณ์ด้านกฎระเบียบมากมายของรัฐบาลมุ่งเน้นไปที่การใช้สกุลเงินดิจิทัลในเรื่องที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ความกลัวซึ่งเป็นความจริงที่แฝงอยู่ก็คือสกุลเงินดิจิทัลจะเป็นอุปสรรคในการขยายความสามารถในการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ ที่พวกเขาสามารถพิมพ์เงินเพิ่มเมื่อไหร่ และเท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ
ถึงกระนั้น อีกฉากหน้าหนึ่ง รัฐบาลก็ทำเสมือนว่ามีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อคเชนมาใช้ เหมือนเป็นการบ่งบอกว่าพวกเขาไม่เคยปิดกั้นการเติบโตทางเทคโนโลยี ลึกๆ พวกเขารู้ดีว่าบล็อกเชนเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิวัติฟินเทค การเพิ่มความเร็ว ประสิทธิภาพ และการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้นรัฐจึงมีความพยายามที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลโดยรัฐบาลขึ้นมา เพื่อหวังว่าจะสามารถดึงให้ผู้คนยังคงอยู่กับระบบการเงินแบบเดิมๆ ได้ (ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรหากว่าพวกเขายังสามารถพิมพ์เงินได้อย่างไม่จำกัด)
2. สัญญาณขาลงที่ส่งมาจาก High กลางเดือนพฤศจิกายน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสองสกุลเงินดิจิทัลแนวหน้าอย่างบิทคอยน์และอีเธอเรียมยังมีความผันผวนสูง แม้ว่าจะได้รับการยอมรับมากขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2021 ทั้งสองสกุลเงินต่างก็สามารถสร้างจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ ก่อนที่จะร่วงลงมาอยู่ในจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
BTC/USD Daily
ที่มา: Barchart
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นวันที่บิทคอยน์เคยขึ้นสู่จุดสูงสุดตลอดกาลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ก่อนจะสร้างรูปแบบการกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลงที่สำคัญที่สุด และทำให้ราคาบิทคอยน์ร่วงลงเนื่องจากมีแรงเทขายมากกว่าแรงซื้อ
ที่มา: Barchart
กราฟรูปนี้แสดงให้เห็นช่วงเวลาเดียวกันของสกุลเงินอีเธอเรียมที่เคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดตลอดกาล และปรับตัวลดลงมาในวันเวลาเดียวกันกับบิทคอยน์ การเปลี่ยนเทรนด์ทางเทคนิคทำให้นักลงทุนหลายคนต้องสูญเสียเงินจากการเก็งกำไรตลาดสกุลเงินดิจิทัล หลังจากเจ็บตัวมาไม่น้อย นักลงทุนหลายคนจึงยังไม่กล้าที่จะเสี่ยงลงทุนกับตลาดคริปโตฯ ตอนนี้ และเลือกที่จะรอดูไปอีกสักพัก จนกว่าจะแน่ใจว่าขาขึ้นของตลาดคริปโตฯ กลับมาแน่นอนแล้ว
3. โลกยังคงไม่ชินกับสินทรัพย์สำรองใหม่
ก่อนที่สกุลเงินดิจิทัลถือกำเนิด ทองคำได้เป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยที่สุด เพราะสกุลเงินดิจิทัลในตอนนี้ยังอยู่ในขาลง นักวิเคราะหํหลายคนจึงได้ตั้งสมมติฐานว่านักลงทุนได้หันหน้าเข้าหาสินทรัพย์สำรองปลอดภัยอื่น ที่มีความน่าเชื่อถือมานานนับพันปีมากกว่า หากได้พิจารณาพฤติกรรมราคาทางเทคนิค จะเห็นว่าในช่วงที่คริปโตฯ คึกคัก ราคาทองคำได้สะสมแรงขาขึ้น ในรูปแบบของลิ่ม และยกจุดต่ำสุดขึ้นมาตลอดทั้งปี 2021
Gold Weekly
ที่มา: CQG
รูปนี้แสดงให้เห็นการซุ่มสร้างขาขึ้นของราคาทองคำ หลังจากแตะจุดสูงสุดตลอดกาลที่ $2,063 ต่อออนซ์ ในเดือนสิงหาคม 2020 ราคาทองคำก็ปรับตัวลดลงมาตลอดปี 2021 อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นทองคำสามารถรักษาทรงให้ไม่ลงไปวิ่งต่ำกว่า $1,700 ได้ และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ทองคำก็ได้หลุดกรอบไซด์เวย์ออกมา กลายเป็นขาขึ้นในปัจจุบัน เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ราคาทองคำมีราคาซื้อขายเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1,970 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเมื่อวานนี้ก็สามารถขึ้นแตะ 2,000 ดอลลาร์ ได้อีกครั้งจากรูปแบบลิ่มที่เกิดขึ้น
จากการวิเคราะห์ทางเทคนิคของทองคำในตอนนี้ มีแนวโน้มที่ขาขึ้นที่ชัดเจนมากกว่าตลาดสกุลเงินดิจิทัล จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากว่าจะเห็นบิทคอยน์ยังคงนั่งซึมอยู่ต่ำกว่า $40,000 อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่สกุลเงินดิจิทัลมีความได้เปรียบเหนือสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำและน้ำมันคือความคล่องตัว และความสะดวกสบายในการย่อยขนาดมูลค่าของตัวเอง
วันนี้โลกเราได้เรียนรู้แล้วว่าการปล่อยให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง มีอำนาจในการกำหนดนโยบายการเงินเอง นำมาซึ่งความพังพินาศที่ทุกคนในสังคมต้องรับผิดชอบร่วมกันมากแค่ไหน ในวันที่ผู้คนคิดได้ว่าการเงินไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกเสรี วันนั้นสกุลเงินดิจิทัลก็จะกลับมาเจิดจรัสอีกครั้ง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FP Markets
TMGM
Pepperstone
GO MARKETS
Octa
Tickmill
FP Markets
TMGM
Pepperstone
GO MARKETS
Octa
Tickmill
FP Markets
TMGM
Pepperstone
GO MARKETS
Octa
Tickmill
FP Markets
TMGM
Pepperstone
GO MARKETS
Octa
Tickmill