简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เบื้องหลังมูลค่าเหรียญคริปโตที่เติบโตมากมายนั้น เกิดขึ้นจากกลไกที่เรียกว่า “Tokenomics” หรือ “เศรษฐศาสตร์ของเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี” ในการช่วยสร้างมูลค่าให้กับมัน
รู้จัก “Tokenomics” เศรษฐศาสตร์ของคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงที่ผ่านมา กระแสของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ร้อนแรงเป็นอย่างมากหลังจากมูลค่าได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมหาศาลตั้งแต่ต้นปีBitcoin เคยราคาขึ้นไปมากกว่า 2,000,000 บาท Ethereum เคยราคาขึ้นไปมากกว่า 150,000 บาท แล้วเราเคยสงสัยไหมว่ามูลค่าเหล่านี้ มาจากไหน ? โดยเบื้องหลังมูลค่าเหล่านี้ เกิดขึ้นจากกลไกที่เรียกว่า “Tokenomics” หรือ “เศรษฐศาสตร์ของเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี” ในการช่วยสร้างมูลค่าให้กับมัน
แล้ว Tokenomics คืออะไร ?
จริง ๆ แล้ว มูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซี หรือสิ่งต่าง ๆ บนโลกนั้น ถูกตั้งอยู่บนหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานอย่าง Demand และ Supply เมื่อสิ่งใดมีปริมาณน้อย หาได้ยาก ตอบโจทย์ และมีคุณค่า มันจะมีความต้องการมากขึ้น ซึ่งก็จะทำให้มีมูลค่าสูงขึ้น ในทางกลับกัน สิ่งใดมีปริมาณมาก หาง่าย และไม่ตอบโจทย์
ความต้องการก็จะลดลง ส่งผลให้มูลค่าลดลงตามไปด้วย Tokenomics คือการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ เพื่อช่วยให้เราเข้าใจมูลค่าของเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีมากขึ้น
โดยเราสามารถเข้าไปศึกษาได้จาก “Whitepaper” ของโปรเจกต์ที่เราสนใจ รวมถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้อื่น ๆ เพื่อทำความเข้าใจโปรเจกต์นั้นได้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปใช้งานหรือลงทุนกับมันทีนี้ เราลองมาดูว่ามีเรื่องอะไรที่เราจะต้องคำนึงถึงบ้าง ? เริ่มต้นที่ “เหรียญนี้มีไว้เพื่ออะไร” ในบรรดาเหรียญที่เราอยากลงทุนนั้น เราควรมีความเข้าใจว่าเหรียญนั้น คืออะไร ใช้ทำอะไรและประโยชน์ของมันคืออะไร มีการใช้งานจริงหรือไม่ และทำไมคนถึงต้องใช้มัน
ยกตัวอย่างเช่น
Ethereum ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับ NFT แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์ม Decentralised จำนวนมาก มูลค่าของสกุลเงินบนระบบอย่าง ETH จึงขึ้นอยู่กับการเติบโตของการใช้งาน เมื่อมีการใช้งานมากจึงเป็นที่ต้องการและมีมูลค่า อีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ “เหรียญนี้ มีปริมาณเท่าไร”
ก่อนอื่นก็ต้องดูว่าเหรียญที่เราศึกษานั้นมีปริมาณจำกัดหรือไม่ หรือสามารถผลิตออกมาได้เรื่อย ๆ มีการผลิตออกมาแล้วเป็นสัดส่วนเท่าไร มีกลไกในการผลิตอย่างไร มีกลไกในการควบคุมการเฟ้อหรือไม่ ปริมาณเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระยะยาว
ยกตัวอย่างเช่น
Bitcoin ที่หลายคนเชื่อว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้รักษามูลค่าของเงิน หรือช่องทางการเคลื่อนย้ายเงินที่สะดวก รวดเร็ว และมีอิสระ เปรียบเสมือนทองคำดิจิทัล มี Tokenomics ที่จำกัดปริมาณหมุนเวียนทั้งระบบอยู่ที่ 21,000,000 เหรียญ โดยปัจจุบันมีการขุดสำเร็จแล้วราว 90% และจะมีอัตราการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป ต่อมา คำถามที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ “เหรียญนี้อยู่ในมือใคร” การกระจายเหรียญถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โปรเจกต์ที่เราสนใจนั้นมีโครงสร้างในการกระจายเหรียญอย่างไรบ้าง สามารถสร้างแรงจูงใจให้ทีมงาน ที่ปรึกษา นักลงทุน พันธมิตร ชุมชน ได้หรือไม่ รวมถึงตัวเหรียญมีการปล่อยเหรียญออกมาก่อนหน้าสาธารณชนหรือไม่ หากเหรียญมีการกระจุกอยู่ที่รายใดรายหนึ่ง การเข้าควบคุมราคาหรือการชี้นำตลาดจะสามารถทำได้โดยง่าย
ยกตัวอย่างเช่น
Solana อีกหนึ่งบล็อกเชนโปรโตคอล ที่มีประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ด้วยค่าธรรมเนียมสบายกระเป๋า แต่มีโครงสร้างการกระจายเหรียญในวงแคบ โดยเน้นไปที่ทีมงาน นักลงทุน และพันธมิตรเป็นหลัก นอกจากนั้น เราก็ควรดูว่า “เหรียญนี้ มีความสามารถในการแข่งขันไหม” อีกหนึ่งจุดชี้เป็นชี้ตายที่อธิบายได้ว่าเหรียญนี้ควรมีมูลค่าเท่าไร คือความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขัน บนโลกที่ไร้ศูนย์กลางและมีการแข่งขันอย่างเสรี จริงอยู่ว่ามันจะมีโปรเจกต์ดาวรุ่งดวงใหม่เกิดขึ้นมา แต่มันก็จะมีดวงดาวที่ลับขอบฟ้า ในเวลาเดียวกัน เราจึงควรศึกษาว่าโปรเจกต์ที่เราสนใจ มีความสามารถพอที่จะแข่งขันในระยะยาวหรือไม่
ใครเป็นคู่แข่ง และใครจะเป็นผู้ชนะ ยกตัวอย่างเช่น
Binance กระดานเทรดคริปโทเคอร์เรนซี แม้จะไม่ได้เก่าแก่ที่สุดและมีอายุเพียงแค่ราว 4 ปี แต่สามารถแซงหน้ากระดานเทรดชั้นนำอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นกระดานเทรดอันดับ 1 ที่มีผู้ใช้งานจากทั่วทุกมุมโลกได้ ในขณะที่บางโปรเจกต์ แม้จะวางแผนโครงการไว้แล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย หรือไม่ได้เป็นไปตามที่ตลาดคาดหวังเอาไว้ ความสามารถในการแข่งขันและความดึงดูดจะน้อยลงตามไปด้วย หลักการทั้งหมดที่เล่ามานั้น ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำความรู้จักและเข้าใจในกลไกและความเสี่ยงของตัวเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีที่เราสนใจ ซึ่งนับเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่เราควรเข้าใจก่อนที่เราจะเริ่มต้นไปข้องเกี่ยว ใช้งาน หรือแม้แต่นำเงินของเราเข้าไปลงทุน..
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
STARTRADER
EC Markets
FXTM
IC Markets Global
FP Markets
HFM
STARTRADER
EC Markets
FXTM
IC Markets Global
FP Markets
HFM
STARTRADER
EC Markets
FXTM
IC Markets Global
FP Markets
HFM
STARTRADER
EC Markets
FXTM
IC Markets Global
FP Markets
HFM