简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา นางสาว ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่ง
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา นางสาว ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อ้างถึงความเสี่ยงจากความผันผวนสูงของราคาสกุลเงินดิจิทัล ระบุว่า ทางธปท.ไม่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขายคริปโต หรือ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลโดยตรง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่เพียงแค่ให้บริการรับฝากเงินจากลูกค้า และ ประชาชนทั่วไป ซึ่งการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้นยังคงมีความเสี่ยงอยู่
แม้ว่าคริปโตจะได้รับความนิยม แต่ธปท.ไม่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขายคริปโตอยู่ดี
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างชัดเจน แม้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะได้รับการยอมรับจากประชาชน, บริษัท และ ธนาคารต่าง ๆ ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ตาม
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ประกาศว่าทางธนาคารกำลังซื้อหุ้นจำนวนกว่า 51% จากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอย่าง Bitkub ก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Zipmex แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตอีกรายหนึ่งก็ได้ออกมาระดมทุนกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับที่ 5 ของประเทศ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคแห่ง ธปท. ได้ออกมาเตือนผู้ประกอบการธุรกิจในด้านต่าง ๆ ถึงการยอมรับสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งเขาระบุว่า
“หากสกุลเงินอื่น ๆ เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของทางธนาคารกลางในการเข้าไปกำกับดูแลภาคเศรษฐกิจ” นอกจากนี้ นาย สักกะภพ ยังเรียกสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ชำระหนี้ได้อย่างถูกกฎหมายว่า Blank Coin หรือ เงินดิจิทัล ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง มีความผันผวนของราคาสูง
ธปท.ยังไม่อยากให้ความร่วมมือกับททท.ในการผลักดันให้เกิดการใช้คริปโต
ทางธนาคารกลางยังได้ออกมาแสดงความกังวลต่อการใช้สกุลเงินดิจิทัลในการชำระค่าสินค้า และ บริการต่าง ๆ ซึ่งคุณชญาวดี ได้แสดงความคิดเห็นของเธอต่อสินทรัพย์ดิจิทัลว่าอาจเป็นอันตรายต่อผู้ค้า และ ผู้บริโภค เนื่องจากสกุลเงินดังกล่าวมีความผันผวนของราคาที่สูง และ เสี่ยงต่อการเกิดโจรกรรมบนโลกไซเบอร์, การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล และ การฟอกเงิน
“หากสินทรัพย์ดิจิทัลถูกนำมาใช้ชำระค่าสินค้า และ บริการอย่างแพร่หลายแล้วนั้น ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน, ความั่นคงทางการเงิน และ การคุ้มครองผู้บริโภคอีกด้วย”
ทางธปท.ได้ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงดังกล่าวหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ออกมาประกาศสนับสนุนให้เศรษฐีคริปโตเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศ และ ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่เป็นมิตรต่อคริปโต เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าธปท.ไม่ต้องการให้ไทยยอมรับการใช้คริปโตมากเกินไป
เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งในช่วงการระบาดจากโรค COVID-19 ที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบร้ายแรงอย่างมากเลยทีเดียว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อยู่ ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็มีจำนวนไม่มากเช่นเดียวกัน แม้ว่าทางททท.จะพยายามดึงดูดกลุ่ม Crypto Nomad เข้ามาก็ตาม แต่ทว่าทางธนาคารกลางยังคงไม่ต้องการให้พวกเขาใช้สกุลเงินดิจิทัลอยู่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
FBS
EC Markets
Tickmill
Octa
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
EC Markets
Tickmill
Octa
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
EC Markets
Tickmill
Octa
FOREX.com
IC Markets Global
FBS
EC Markets
Tickmill
Octa
FOREX.com