简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพาคุณย้อนไปดูเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามันเกิดขึ้นเพราะ ‘ดอกไม้’ ใครจะไปคิดว่าเมื่อ 400 ปีก่อน ดอกทิวลิป 1 ดอกจะมีค่าเป็นหลักล้าน
วันนี้เราจะพาคุณย้อนไปดูเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามันเกิดขึ้นเพราะ ‘ดอกไม้’ ใครจะไปคิดว่าเมื่อ 400 ปีก่อน ดอกทิวลิป 1 ดอกจะมีค่าเป็นหลักล้าน ซึ่งสามารถนำไปซื้อบ้าน ซื้อรถ ซื้อบิทคอยน์ได้เลย เพราะอะไรดอกไม้ที่วันนึงก็ต้องเหี่ยวเฉาตามกาลเวลา ถึงมีมูลค่ามหาศาล และกลายมาเป็นตำนานฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลกแบบนี้ ไปดูกัน!
“วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป” หรือ “The Dutch Tulip Mania Bubble” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างยุคทองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขาย ‘หัวทิวลิปสายพันธุ์ใหม่’ กันอย่างสูงผิดปกติ จนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไร คำว่า “ความคลั่งทิวลิป” กลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปมาเมื่อกล่าวถึงภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่
ในยุคที่เศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์กำลังรุ่งเรือง คนมีเงินต้องการซื้อของที่แสดงถึงฐานะความร่ำรวย และเป็นช่วงที่ดอกทิวลิปนำเข้ามาพอดีซึ่งดอกทิวลิปนั้นไม่ใช่พืชพื้นเมืองยุโรป มันจึงดูสวยงามแปลกตา สมัยนั้นถ้าใครมีดอกทิวลิป คือไฮโซแน่นอน แบบเศรษฐีเซเลปในยุคนี้ที่ขับรถซุปเปอร์คาร์ ถือกระเป๋าแบรนด์เนมอะไรประมาณนั้นเลย
ชาวดัตช์จึงเห็นว่าถ้านำดอกทิวลิปมาปลูกขาย คงจะได้ราคาดีแน่ ๆ จึงเริ่มอยากได้หัวทิวลิปสำหรับการนำมาปลูก ซึ่งดอกทิวลิปนั้นจะออกเดือนมิถุนายน-กันยายน เท่านั้น จากนั้นถึงจะได้หัวทิวลิปไปปลูกต่อได้กำไรพอถึงเดือนตุลาคม จะมีคนมารอซื้อหัวทิวลิปกันเพียบ ซึ่งแน่นอนมันหายากในตอนนั้น มันมีจำนวนจำกัด เพราะพึ่งเข้ามาได้ไม่นาน จึงเกิดการซื้อ-ขายใบจองขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาซื้อขายทิวลิปล่วงหน้า (Future Contract)
เมื่อมีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้น ก็เกิดการเก็งกำไรจากพ่อค้า จากแรก ๆ ราคาหัวทิวลิป 1 หัว เท่ากับ 5-15 กิลเดอร์ (ค่าเงินของชาวดัช) แต่แล้ว ราคาของมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีผู้คนต้องการจำนวนมาก จาก 15 ก็เป็น 50 เป็น 100 กิลเดอร์ จนกระทั้งพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้นักลงทุนต่าง ๆ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปก็เข้ามาซื้อขายเก็งกำไรในครั้งนี้ มีบันทึกไว้ว่า มีการนำที่ดินถึง 12 เอเคอร์ (49,000 ตารางเมตร) มาแลกหับ หัว “Semper Augustus” เพียงหัวเดียว
ในช่วงหนึ่งมีการบันทึกมูลค่าการขายหัวทิวลิป 40 หัวเป็นจำนวนเงิน 100,000 กิลเดอร์ เมื่อเทียบเป็นเงินปัจจุบัน สรุปได้ว่าหัวทิวลิป 1 หัวจะมีค่าเท่ากับ 1,886,544 บาท พอ ๆ กับราคา 1 บิทคอยน์เลยนะเนี่ย ยิ่งถ้าหัวดอกทิวลิปไหนที่มีหลายสี มีลาย หรือมีจุดแปลก ๆ (คล้าย ๆ กระแสไม้ด่างในยุคนี้) ราคาก็คือซื้อบ้านใจกลางทองหล่อได้เลยแหละ
สุดท้ายก็ฟองสบู่แตก
จากหัวดอกทิวลิปราคามหาศาล ปลายปี 1637 ราคาก็ดิ่งลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียง 0.1 กิลเดอร์ กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ของดัตช์ ยุคทองที่ผู้คนใช้ชีวิตกันอย่างอู้ฟู่ได้จบลง ราคาดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีแต่คนอยากขาย แต่ไม่มีใครอยากซื้อ ดอกทิวลิปยังคงเบ่งบานแต่กลับไร้ประโยชน์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้ากลายเป็นกระดาษเปล่าที่ไร้ค่า ปัญหานี้ลามไปถึงประเทศรอบด้าน ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และเศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์หยุดนิ่งไปนานหลายปี
วิกฤติดอกทิวลิป จึงถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นวิกฤติการเงินยุคใหม่ครั้งแรกของโลก เรามักจะเห็นว่าวิกฤติต่าง ๆ บนโลก ที่สะท้อนการ “เก็งกำไร” และ “ความโลภ” ที่มากจนเกินควร ทำให้สินทรัพย์บางอย่างมีมูลค่าสูงเกินจะเป็น แม้เหตุการณ์นี้จะเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของหมู่นักลงทุนทั่วโลก แต่กระนั้น ปัญหาซ้ำ ๆ แบบเดิม ๆ ก็ยังคงเกิดขึ้นไม่รู้จบมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ ‘ความโลภ’ กับ ‘มนุษย์’ มันแยกออกจากกันได้ยากจริง ๆ
คุณสามารถติดตามเกร็ดความรู้ในโลกการลงทุนดี ๆ แบบนี้ ได้ที่แอป WikiFX เท่านั้น! แอปเดียวที่จะพาไปเรียนรู้ เจาะลึกทุกเรื่องราวของตลาด Forex ไม่ว่าจะเป็นบทความเทคนิคร้อยแปดพันเก้า บทวิเคราะห์แนวโน้มตลาด แล้วยังมีปฏิทินข่าวให้อ่านแบบฟรี ๆ แถมยังสามารถตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ Forex ได้ทั่วโลกเลยนะ! สายลงทุนถ้าใครยังไม่มี โหลดเลย! โหลดเดี๋ยวนี้! โหลดฟรี!
แนะนำฟีเจอร์ “จัดอันดับโบรกเกอร์” คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex แนะนำอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ให้ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์หรือดูการจัดอันดับ โบรกเกอร์ Forex เพราะแอพ WikiFX ได้ตรวจสอบโบรกเกอร์และคัดสรรมาให้หมดแล้ว ว่าโบรกเกอร์ไหนดีหรือไม่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FOREX.com
FBS
FP Markets
EC Markets
VT Markets
OANDA
FOREX.com
FBS
FP Markets
EC Markets
VT Markets
OANDA
FOREX.com
FBS
FP Markets
EC Markets
VT Markets
OANDA
FOREX.com
FBS
FP Markets
EC Markets
VT Markets
OANDA