简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นหลังจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อคืนนี้ที่ได้ข้อสรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมแล้วที่จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นหลังจากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อคืนนี้ที่ได้ข้อสรุปว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมแล้วที่จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
ถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐเมื่อคืนมีความชัดเจนมากขึ้น เขากล้าที่จะใช้คำว่า “ถึงเวลาที่จะปรับลดวงเงินแล้ว และจะเกิดขึ้นในการประชุมครั้งถัดไป หากว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามที่ธนาคารกลางคาดการณ์เอาไว้” สมมุติว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มปรับลด QE ในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม วันสิ้นสุดของการทยอยลด QE จะอยู่ในช่วงกลางปี 2022 ใจความสำคัญของการประชุมฯ เมื่อคืนนี้สามารถสรุปสั้นๆ ออกมาได้ 6 ข้อ
- การประกาศลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดในการประชุม FOMC ประจำเดือนพฤศจิกายน
- การลดวงเงิน QE จะสิ้นสุดลงภายในช่วงกลางปี 2022
- ผู้มีสิทธิ์วางนโยบายทางการเงิน 9 คนเห็นชอบให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปี 2022 เพิ่มขึ้นจากเจ็ดคน
- คาดการณ์ดัชนีการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้นในช่วงระหว่างปี 2021 - 2023
- คาดการณ์ตัวเลข GDP หดตัวในปี 2021 แต่จะเพิ่มขึ้นในปี 2022 และ 2023
- อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2021 - 2023
แม้ว่าเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน แต่การที่อย่างน้อยนักลงทุนในตลาดสามารถประเมินได้ว่าจะได้เห็นการลดวงเงิน QE สิ้นสุดลงแน่นอนในช่วงกลางปีหน้า ก็พอจะทำให้พวกเขาคาดการณ์ได้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022 อาจจะอยู่ภายในช่วงเวลานี้ของปีหน้า หรืออย่างช้าที่สุดก็ไตรมาสสี่ปี 2022 นั่นจึงทำให้ตลาดลงทุนดีใจกับผลการประชุม FOMC ครั้งนี้อยู่พอสมควร
ข้อมูลจากแผนภูมิภาพแบบจุด (dot-plot) แสดงให้เห็นว่าผู้มีสิทธิ์วางนโยบายการเงินเก้าคนเห็นด้วยกับการทำนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้น ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้ออย่าง PCE ได้ถูกปรับเพิ่มขึ้นในปี 2021 2022 และ 2023 เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนในตลาด ประธานเฟดจึงได้ประกาศตรงนี้ว่าจะเริ่มลดวงเงิน QE ในการประชุมรอบถัดไป ซึ่งตรงกับเดือนพฤศจิกายน แม้ว่าการแข็งค่าของดอลลาร์จะยังไปไม่เกิน 93.40 จุด แต่ก็มากพอที่จะทำให้กราฟดอลลาร์สหรัฐเทียบเยนปรับตัวกลับขึ้นมาทดสอบ 110 ได้อีกครั้ง
สาเหตุที่ดอลลาร์สหรัฐไม่สามารถแข็งค่าได้อย่างเต็มตัวเป็นเพราะปัจจัยกดดันในตลาดหุ้นที่ยังคงเป็นกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ “เอเวอร์แกรนด์” ถึงแม้ว่าบริษัทจะยืนยันกับตลาดหลักทรัพย์แล้วว่าจะไม่ผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้ในวันนี้ อย่างไรก็ตาก็ยังมีข่าวลือเกี่ยวกับบริษัทเอเวอร์แกรนด์ออกมาอยู่ตลอด ล่าสุดมีข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันระบุว่ารัฐบาลจีนอาจจะหั่นบริษัทเอเวอร์แกรนด์ออกเป็นสามส่วน เพื่อนำไปชำระหนี้ แต่ก็ยังไม่มีแหล่งข่าวใดกล้ายืนยันว่าข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริง
เมื่อการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ จบลง ความเสี่ยงของดอลลาร์สหรัฐในตอนนี้จึงขึ้นอยู่กับข่าวของบริษัทเอเวอร์แกรนด์ และความสามารถในการชำระหนี้ให้ได้ตามกำหนด ข่าวดีก็คือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ของเอเวอร์แกรนด์แห่งหนึ่งยอมที่จะเจรจาแบบส่วนตัวกับเอเวอร์แกรนด์ และแก้ไขเงื่อนไขในการชำระดอกเบี้ยมูลค่า $83.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ของหุ้นกู้ชุดหนึ่งที่ถึงกำหนดชำระในวันนี้ หากว่าเอเวอร์แกรนด์ยังผิดนัดชำระหนี้อีก ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีโอกาสผันผวนอย่างที่เป็นมาก่อนตั้งแต่ต้นสัปดาห์
ข่าวและเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้ยังไม่หมด ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ออสเตรเลียมีรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ ซึ่งตัวเลขที่ออกมาคือ 57.3 จุดและ 44.9 จุดตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากการรายงานตัวเลขครั้งก่อนทั้งคู่ ในช่วงบ่ายนี้จะมีการประชุมนโยบายการเงินและดอกเบี้ยของธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ และหกโมงเย็นตามเวลาประเทศไทยจะมีการประชุมเกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ช่วงหัวค่ำจะมีการรายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ และปิดท้ายด้วยการรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกจากแคนาดา
ผลสรุปการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นเมื่อวานนี้เป็นตามคาดการณ์คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ถึงแม้ว่าภาพรวมการนำเข้าและส่งออกยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นตัวช่วยพาญี่ปุ่นให้กลับสู่ลู่ทางที่ควรจะเป็น การประชุมของธนาคารกลางอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ในวันนี้ นักวิเคราะห์คาดว่าทั้งสองธนาคารกลางจะคงนโยบายการเงินและดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิม แม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะขึ้นชื่อว่าชอบดำเนินนโยบายการเงินตามกลไกเศรษฐศาสตร์มากกว่าผ่อนคลาย แต่เพราะแรงกดดันจากการระบาดของเดลตา และตลาดหุ้นที่อยู่ในขาลง ก็อาจทำให้ธนาคารกลางอังกฤษมีอาการลังเลขึ้นมาได้
สกุลเงินที่ผูกติดมูลค่าเอาไว้กับสินค้าโภคภัณฑ์สามารถแข็งค่าได้อย่างน่าประทับใจทั้งๆ ที่ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังมีแรงกดดันจากโควิดมากกว่าเยอรมันและสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตามเพราะก่อนหน้านี้ตัวเลขวัดความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจจาก ZEW หดตัว ก็อาจส่งผลให้การรายงานตัวเลขดัชนี PMI ของยูโรโซนปรับตัวลดลงตามไปด้วย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเช้าวันอังคารในเอเชีย ในขณะเดียวกัน ค่าเงินเยนซื้อขายใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในเช้าวันศุกร์ในเอเชีย โดยนักลงทุนสนใจสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ค่อย ๆ ลดลง
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในเช้าวันพฤหัสบดีในเอเชีย เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้นักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนหันกลับมาจับตาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
GO MARKETS
VT Markets
Tickmill
ATFX
EC Markets
TMGM
GO MARKETS
VT Markets
Tickmill
ATFX
EC Markets
TMGM
GO MARKETS
VT Markets
Tickmill
ATFX
EC Markets
TMGM
GO MARKETS
VT Markets
Tickmill
ATFX
EC Markets
TMGM