简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ย้อนไปเมื่อปี 2540 ไทยได้เกิด ‘วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง’ อันเกิดจากการเปิดเสรีทางการเงิน ขณะที่ยังคงตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไว้จนฟองสบู่แตก รายวัน แต่ไม่ใช่กับ 3 นักธุรกิจเหล่านี้
ย้อนไปเมื่อปี 2540 ไทยได้เกิด ‘วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง’ อันเกิดจากการเปิดเสรีทางการเงิน ขณะที่ยังคงตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไว้จนฟองสบู่แตก วิกฤตค่าเงินบาทลอยตัวในครั้งนั้น ทำให้นักธุรกิจหลายคนถึงขั้นล้มละลาย ไม่มีทางออกเลือกจบชีวิตตัวเองรายวัน แต่ไม่ใช่กับ 3 นักธุรกิจเหล่านี้
1. สุเมธ ต่อสหะกุล
คุณสุเมธมีฉายาที่ทุกคนรู้จักว่า “อาเสี่ย” เขาเคยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถนนทั่วราชอาณาจักร โครงการมูลค่านับร้อยล้าน เมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ธุรกิจที่กำลังไปได้ดี แปรสภาพเป็นหนี้สินเกือบ 100 ล้านบาทในชั่วข้ามคืน เขามีวิธีหาทางรอดให้กับตัวเอง ภรรยา และลูกที่อยู่ในวัยกำลังกินกำลังนอนถึง 3 คน เริ่มต้นใหม่จากศูนย์ ด้วยการทำอาชีพสุจริต ย่างไก่ขายใต้ต้นไม้ มีกำไรวันละไม่กี่ร้อยบาท
เพราะความตั้งใจ ไม่ทิ้งกลางทาง บวกกับความซื่อสัตย์กับลูกค้าทั้งต่อหน้าและลับหลัง ปัจจุบัน กิจการเล็กๆ ขายไก่ย่างใต้ต้นไม้ ได้กลับกลายมาเป็นร้านอาหารขนาด 100 โต๊ะ รองรับลูกค้าได้ครึ่งพัน บริกรกว่า 80 คน มีเตาย่างไก่มูลค่านับล้านจำนวนถึง 3 ตัว ปัจจุบัน “สุเมธ” สามารถปลดหนี้เกือบร้อยล้านบาทได้สำเร็จ และกลับมาเป็นนักธุรกิจเต็มตัวอีกครั้ง เขายอมรับว่า นักธุรกิจที่จับเงินล้านแต่ต้องมาเริ่มต้นขายของได้กำไรหลักสิบบาท แม้จะรู้สึกอาย แต่การหาเงินสดเข้าบ้านได้ในช่วงเวลานั้นคือความภูมิใจที่กลายเป็นกำลังใจหล่อเลี้ยงชีวิตมาถึงทุกวันนี้
2. ประวีรัตน์ เทวอักษร
คุณรัตน์ จบปริญญาโทด้านการบริหาร ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็นเด็กยุคปี 2540 ที่เผิชญหน้ากับวิกฤตในปีนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาวิกฤตเศรษฐต้มยำกุ้ง ทำให้ทางบ้านไม่สามารถส่งเงินให้เรียนได้ เขาจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองเรียนให้จบและรีบเดินทางกลับมายังบ้านเกิดที่ประเทศไทย ในขณะเดียวกันบริษัท อาร์.เอ็ม.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และบริษัทในเครืออีกกว่า 10 แห่ง ภายใต้การบริหารงานของพ่อ กำลังเผชิญวิกฤตนี้ ด้วยหนี้สินสูงถึง 5,000 ล้านบาท คุณประวีรัตน์ที่มีอายุ 24 ปี ในขณะนั้น เริ่มเข้ามาเรียนรู้งานในบริษัทฯและร่วมกันกับทีมงานเดิมของบริษัทคุณพ่อ มุ่งมั่นแก้ปัญหาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ใช้ระยะเวลากว่า 10 ปี ในการจัดการหนี้สินก้อนสุดท้ายจบลงในปี 2552
คุณรัตน์ จัดตั้งบริษัทของตัวเอง ภายใต้ชื่อ บริษัท วิลล่า คุณาลัย จำกัด ขึ้น โดยได้หยิบยกแบรนด์โปรดักส์ ‘คุณาลัย’ของคุณพ่อมาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทใหม่ พร้อมก้าวขึ้นสู่ ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทฯ ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของบริษัทรวม 8 โครงการ มูลค่ารวมมากกว่า 5,500 ล้านบาท ภายใต้แบรนด์ ‘คุณาลัย’
3. สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง
เจ้าพ่อเหล็กผู้ล้มละลายจากต้มยำกุ้ง เจ้าของวลีเด็ด ‘ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย’ เขาเป็นนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนกวางตุ้งที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย ภายหลังวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง ธุรกิจของเขาต้องแบกรับภาระหนี้กว่าแสนล้านบาท โดยเขาได้ประกาศต่อสาธารณชนว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” และดำเนินการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้
ปัจจุบัน บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีล เขาเขาได้ร่วมทุนกับบริษัทเหล็กในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย และตั้งบริษัทใหม่ชื่อ มิลเลนเนียม สตีล และได้ขายหุ้นให้กับทาทา สตีลจากประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2549 ซึ่งตอนนี้หลายคนอาจจะคุ้นหน้าเขาจากคลิปคนในรถหรูแจกเงินผู้ยากไร้ย่านพระราม 9 เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่สร้างความประทับใจไปทั้งโซเชียล
หากเรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้ คือหนึ่งบทเรียนที่คุณประทับใจ WikiFX ยังมีบทเรียนแห่งแรงบันดาลใจอีกมากมายจากนักทุนทั่วโลก รอคุณอยู่ ดาวน์โหลดแอป WikiFX เพื่อรับการแจ้งเตือนบทความเหล่านี้ พร้อมข่าวสารการเงินทั่วโลกได้ฟรี โหลดเลยตอนนี้!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Pepperstone
XM
GO MARKETS
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Pepperstone
XM
GO MARKETS
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Pepperstone
XM
GO MARKETS
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Pepperstone
XM
GO MARKETS