简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Barani Krishnan Investing.com -- OPEC มักจะมีดราม่า ทว่าสิ่งที่กำลังแสดงอยู่ของกลุ่มประเทศผู้ผลิ
โดย Barani Krishnan
Investing.com -- OPEC มักจะมีดราม่า ทว่าสิ่งที่กำลังแสดงอยู่ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 23 ชาติ ซึ่งเรียกตัวเองว่า OPEC+ กลับมีเรื่องดราม่ามากเกินไป
ที่สำคัญ คือ สายสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนระหว่างซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่น้ำมันจะพุ่งสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากการเพิ่มปริมาณการผลิตไม่เป็นไปตามข้อตกลงจากกลุ่ม OPEC และพันธมิตรอีก 10 ประเทศที่นำโดยรัสเซีย
เห็นได้ชัดว่า ซาอุดิอาระเบียต้องการราคาน้ำมันที่สูงกว่าตอนนี้ แม้ว่าจะสูงขึ้นเล็กน้อยก็ตาม ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตเกินกว่าที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะอนุญาต แต่ในท้ายที่สุด ทั้งคู่ต่างก็แสวงหาสิ่งเดียวกัน นั่นคือรายได้ที่เพิ่มขึ้นสำหรับน้ำมัน
ตามรายงานของ Financial Times ชาวซาอุดิอาระเบียต้องการให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนระยะยาวในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
การขาดแคลนน้ำมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ปริมาณการผลิตในปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ซาอุดิอาระเบียและสมาชิกที่เหลือต้องการ และพยายามสกัดกั้นอุปทานจากอิหร่าน เพื่อผลักดันราคาให้สูงขึ้นทุกวัน
นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันจากฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในเรื่องของปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาน้ำมัน
ในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฝ่ายบริหารเข้ามารับตำแหน่งในเดือนมกราคม เจน ซากี โฆษกทำเนียบขาวแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อผู้บริโภคชาวอเมริกัน แม้ว่าเธอไม่ได้บอกว่าจะมีการดำเนินการมากกว่านี้เพื่อระงับปัญหาหรือไม่
จากข้อมูลของแหล่งข่าว ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียได้เสนอให้ค่อย ๆ เพิ่มการผลิต 400,000 บาร์เรลในแต่ละเดือนระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ซึ่งประเทศอื่น ๆ ได้ให้การสนับสนุน
ก่อนหน้าสัปดาห์นี้ อับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบีย พยายามตรึกตรองเกี่ยวกับผลกระทบที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในปีนี้ว่า อาจมีต่อประเทศผู้บริโภค โดยกล่าวว่า “เรามีบทบาทในการควบคุมเงินเฟ้อ โดยการควบคุมราคาน้ำมันไม่ให้สูงเกินไป”
แม้ว่าน้ำมันคงคลังทั่วโลกจะกลับมาที่แนวโน้มตามฤดูกาลในรอบ 5 ปี แม้ว่าตลาดจะระบายอุปทานส่วนเกินทั้งหมดจากปริมาณที่มากเกินไป แม้ว่าแท่นขุดเจาะของสหรัฐจะสูบน้ำมันน้อยกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และแม้ว่าวันนี้จะมีราคาซื้อขายต่อบาร์เรลสูงกว่าเมื่อ 15 เดือนที่แล้วถึง 3 เท่า รัฐมนตรีซาอุดีอาระเบียกล่าวว่า เขาก็ยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า
ความจริงแล้ว การที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 25% ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมานั้น เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ เมื่อเทียบกับราคาในช่วงการฟื้นตัวจากโรคระบาดในบางส่วนของโลก
ในขณะเดียวกัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังคงมีปัญหาอื่น ๆ ด้วย พวกเขาคัดค้านการยืดเวลาของข้อตกลงด้านความสามารถในการส่งออกระดับสูงสุด ซึ่งตั้งไว้ก่อนเกิดวิกฤตโควิด
เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รู้สึกเป็นการส่วนตัวว่าพวกเขาสูญเสียรายได้จากการผลิตโดยถูกขอให้ลดสัดส่วนมากกว่าซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเผยให้เห็นความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองพันธมิตรดั้งเดิม
นักวิเคราะห์ของ Enverus กล่าวว่า ความตึงเครียดบางอย่างในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับซาอุดีอาระเบีย อาจมีอะไรมากกว่ามุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับข้อตกลงของ OPEC+
Investing.com มีตรรกะที่เรียบง่ายในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ ผู้บริโภคกำลังจะหมดความอดทนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
ประเด็นของเราคือ ภายใต้สถานการณ์ที่รุนแรง คนเรามักจะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบสุดโต่ง
การระบาดของโควิดเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่ดี ในช่วงดังกล่าวความต้องการน้ำมันทั่วโลกหยุดชะงัก ส่งผลให้กลุ่มโอเปกต้องยอมจำนน หาภายในช่วงหนึ่งปีนับจากนี้ 50% ของประชากรหวนกลับไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ จะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดน้ำมัน?
บทสรุปราคาน้ำมัน
ราคา น้ำมันดิบ WTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันของสหรัฐฯ ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 75.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมานับตั้งแต่ปี 2018 ก่อนปิดการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 75.16 ดอลลาร์ ลดลง 7 เซนต์ โดยทำการซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์ที่ 75.04 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.5% สำหรับสัปดาห์นั้น
ราคา น้ำมันเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานน้ำมันทั่วโลก อยู่ที่ 76.17 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.4% ต่อวันและทรงตัวในสัปดาห์ โดยมีการซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์ที่ 76.06 ดอลลาร์
ปฏิทินตลาดพลังงาน
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม
วันหยุดพิเศษของสหรัฐฯ เนื่องในวันประกาศอิสรภาพ
อังคารที่ 6 กรกฎาคม
ข้อมูลน้ำมันคงคลังในเมืองคุชชิง จากการสำรวจของ Genscape
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม
รายงานประจำสัปดาห์ของ สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันดิบคงคลัง
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันเบนซินคงคลัง
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ กลั่นสินค้าคงคลัง
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ การจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ
วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม
การสำรวจรายสัปดาห์ของ Baker Hughes เกี่ยวกับ แท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐ
บทสรุปตลาดและราคาทองคำ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ ของตลาด Comex ในนิวยอร์กปิดการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 1,783.30 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6.50 ดอลลาร์หรือ 0.4% สำหรับสัปดาห์นั้น เพิ่มขึ้น 0.3% การซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์สุดท้ายอยู่ที่ 1,787.55 ดอลลาร์
เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำลดลงรายเดือนมากที่สุดในรอบเกือบห้าปี โดยร่วงลงเกือบ 135 ดอลลาร์หรือ 7% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ที่ลดลง 7.2% ในเดือนพฤศจิกายน 2016
การซบเซาลงมาจากตลาดกระทิงได้รับผลกระทบจากการเก็งกำไรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ แม้ว่าจะยังไม่ได้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็ตาม
สำหรับไตรมาสที่สอง ราคาทองคำในตลาด Comex ลดลงประมาณ 45 ดอลลาร์หรือเกือบ 3%
ความเชื่อมั่นในทองคำเริ่มลดน้อนลง ขณะที่นักลงทุนที่ซื้อมาถือครองพยายามยามฝ่าฟันวิกฤตตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ตั้งแต่เดือนมกราคม ตลาดทองคำอยู่ในเส้นทางที่ยากลำบากซึ่งเริ่มเกิดขึ้นจริง ๆ ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยร่วงลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,000 ดอลลาร์ และผันผวนเป็นเวลาสองสามเดือนก่อนที่จะสะดุดลงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่วัคซีนโควิดถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก จนถึงจุดหนึ่ง ราคาทองคำพุ่งแตะจุดต่ำสุดในรอบ 11 เดือนที่ต่ำกว่า 1,674 ดอลลาร์
หลังจากที่ดูเหมือนว่าจะดีดตัวกลับมาที่ 1,905 ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม ก็มีการเทขายทองคำรอบใหม่ซึ่งนำกลับลงมาสู่ระดับ 1,800 ดอลลาร์ ก่อนที่จะมีแถลงการณ์จากเฟดที่ทำให้ราคาตกไปที่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนที่ ประมาณ 1,750 ดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว
โดยทั่วไปแล้ว ท่าทีในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้งของเฟด จะจบลงด้วยการร่วงลงของราคาทองคำ
นอกจากนี้ นักลงทุนยังเริ่มมองว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลซึ่งเฟดใช้เป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีที่ 3.4% ในช่วง 12 เดือนถึงเดือนพฤษภาคม และดัชนีราคาผู้บริโภค พุ่งขึ้น 5% ในเดือนพ.ค. สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ ตั้งแต่น้ำมันไปจนถึงธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลี อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี
แต่ราคาทองคำยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ และ ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งมักเกิดจากการถกเถียงและวิเคราะห์เกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการลดสัดส่วนสินทรัพย์ แม้ว่ารัฐบาลจะกระตุ้นการใช้จ่ายเป็นจำนวนหลายล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดก็ตาม
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: Barani Krishnan ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในสินค้าโภคภัณฑ์และหลักทรัพย์ที่เขาเขียนถึง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
FxPro
VT Markets
Octa
GO MARKETS
ATFX
IC Markets Global
FxPro
VT Markets
Octa
GO MARKETS
ATFX
IC Markets Global
FxPro
VT Markets
Octa
GO MARKETS
ATFX
IC Markets Global
FxPro
VT Markets
Octa
GO MARKETS
ATFX