简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการออกแบบระบบเทรด และประโยชน์ที่จะได้จากระบบเทรดกัน!
ถ้าพูดถึงระบบเทรด หรือ Trading System หลายคนอาจเข้าใจว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมอะไรซักอย่าง หรือใช้ EA ในการเทรดรึเปล่า? แต่ความหมายที่แท้จริงของระบบเทรด มันคือการ “สร้างเงื่อนไขที่ใช้ในการเปิดออเดอร์ในทุกครั้ง” ซึ่งอันที่จริงคุณอาจจะกำลังมีระบบเทรดใช้อยู่แบบไม่รู้ตัวก็ได้ วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการออกแบบระบบเทรด และประโยชน์ที่จะได้จากระบบเทรดกัน!
ปกติแล้ว การตัดสินใจของนักลงทุนสามารถแบ่งได้เป็นสองแบบ คือตัดสินใจแบบกลไก และตัดสินใจด้วยตัวเอง และทั้งสองประเภทต่างก็สามารถทำเงินได้ดีทั้งคู่ แต่การตัดสินใจด้วยตัวเองนั้นมีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งที่เป็นทั้งข้อได้เปรียบในเวลาเดียวกัน นั่นคือ ‘อคติ’ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระบบเทรดอาจมีความสำคัญมากกว่า
ระบบเทรด คือสิ่งที่เตรียมไว้ในการรองรับการเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเกิดสถานการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง การเทรดเป็นระบบนั้นต้องออกแบบมาให้ครอบคลุมทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้และเหมาะกับสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่งเท่านั้นไม่ได้เหมาะสำหรับทุกสถานการณ์องค์ประกอบของระบบเทรด หากจะออกแบบระบบเทรดซักระบบขึ้นมา คุณจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้
1. การกำหนดเงื่อนไข (Trading Algorithm)
คือ ขั้นตอน ตรรกกะวิธี หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ใช้เป็นสัญญาณซื้อขายได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการวิเคราะห์ด้วยกราฟ ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจจะมาจากความรู้เรื่องเทคนิคอล, การใช้อินดิเคเตอร์, ความรู้ในเรื่อง Money Management การสังเกตพฤติกรรมราคา หรือแม้แต่การเรียงตัวของดวงดาวยันโยนหัวก้อย ก็ยังนับเป็น Algorithm ได้ อะไรก็ได้ที่ท่านศึกษาอยู่ หรือมีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือตัวนั้น ๆ เพื่อนำมาสร้างเงื่อนไข หรือ“สมมติฐาน” ขอแค่สร้างเงื่อนไขสำหรับการกำหนดจุดเข้า ออกของการเทรดได้ก็พอ
2. การทดสอบระบบ (System Test)
ขั้นตอนต่อไปคือ การทดสอบระบบตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ซึ่งตรงนี้ อาจจะใช้การ “back test” ใครที่สามารถเขียนโปแกรมได้ ก็สามารถสร้าง EA ตาม algorithm ขึ้นมาเพื่อทดสอบ “back test” หรือถ้าเขียนโปรแกรมไม่เป็น ท่านก็สามารถ back test ด้วยการ ดูกราฟย้อนหลังและนั่งจดข้อมูลสถิติต่าง ๆ ว่ากำไร ขาดทุน กี่ครั้ง ครั้งละเท่าไหร่ ระบบเทรดที่ดี ควรมีการทดสอบมาอย่างดีแล้วว่าสามารถอยู่รอดในตลาดได้จริง และมีกำไรต่อเนื่อง ไม่ใช่ได้ ๆ เสีย ๆ วนไปวนมาไม่สิ้นสุด
3. การบริหารจัดการเงินทุน (Money Management)
คือการวางแผนทางการเงิน ความเหมาะสมในการใช้เงินแต่ละครั้งในการซื้อขาย ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมันสอดคล้องและเข้ากันได้ดีกับ Algorithm เมื่อเจอช่วงเวลาที่ระบบเจอช่วงเวลาที่ขาดทุน Money Management จะมาช่วยปกป้องพอร์ทของ และเพิ่มความเสถียรของระบบให้มากขึ้นได้
4. จิตใจ (Mindset)
จิตใจในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความกล้า ความฮึกเหิม แต่เป็นเรื่องของ วิธีคิด ความเข้าใจ ความอดทน ความเชื่อมั่น ที่มีต่อระบบ และที่สำคัญที่สุดของเรื่องจิตใจคือ “วินัย” ในการเทรด นอกจากนี้ Mind ยังรวมถึง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของ ธรรมชาติในการเทรด ธรรมชาติของสินค้า พื้นฐานของราคา มูลค่าต่าง ๆ
ระบบเทรดนั้นเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนเข้าใจว่ามันเหมือนกับแผนการเทรด แต่ระบบเทรด มันประกอบด้วยกฎจำนวนมากมายที่แตกต่างจากแผนการเทรด ระบบเทรดจะไม่มีความยืดหยุ่นของกฏ ในสถานการณ์ต่าง ๆ เหมือนแผนการเทรด การออกแบบระบบเทรดนั้น จะต้องสอดคล้องกับลักษณะของเทรดเดอร์ เทรดเดอร์ทุกคนไม่สามารถประสบความสำเร็จจากระบบเทรดเดียวกันได้ ทั้งนี้ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะสามารถทำเงินจากตลาด Forex ได้ เพราะถึงแม้เราจะมีระบบการลงทุนที่เป็นแบบแผน แต่ถ้าวิธีการมันไม่ดีแต่แรก ท้ายที่สุดก็ต้องขาดทุน เราก็เพียงแค่ขาดทุนอย่างเป็นระบบเท่านั้นเอง
หากเทรดเดอร์มั่นใจในระบบเทรดของคุณแล้ว ขั้นตอนแรกก่อนไปเทรดจริง ๆ คือคุณต้องเลือกโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้ก่อน แต่ละโบรกเกอร์ มีค่าสเปรด เงินขั้นต่ำในการฝากเงินถอน เงื่อนไข หรือโปรโมชั่นที่ต่างกัน คุณต้องเลือกโบรกที่เหมาะและคุ้มค่ากับคุณมากที่สุด และที่สำคัญคือ “ต้องเลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลเท่านั้น” เพราะมันคือสิ่งเดียวที่จะบอกได้ว่าโบรกเกอร์ Forex นั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือ มั่นคงปลอดภัย ห้ามไปเลือกโบรกเกอร์เถื่อนเด็ดขาด ไม่งั้นอาจโดนโกงได้
ตอนนี้คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ