简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เคยได้ยินอาถรรพ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกทุก ๆ 10 ปีกันไหม? ว่ากันว่า เศรษฐกิจโลกมักจะสูงขึ้นทุกปี แต่ทุก ๆ 10 ปี ก็มักจะมีเหตุการณ์ร้าย ๆ มาให้โลกต้องเผชิญจนเศรษฐกิจตกต่ำทุกที เหตุการณ์เหล่านี้เป็นอย่างไร เป็นแค่นี้บังเอิญหรืออาถรรพ์จริง ๆ ติดตามได้ในบทความนี้
เคยได้ยินอาถรรพ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกทุก ๆ 10 ปีกันไหม? ว่ากันว่า เศรษฐกิจโลกมักจะสูงขึ้นทุกปี แต่ทุก ๆ 10 ปี ก็มักจะมีเหตุการณ์ร้าย ๆ มาให้โลกต้องเผชิญจนเศรษฐกิจตกต่ำทุกที เหตุการณ์เหล่านี้เป็นอย่างไร เป็นแค่นี้บังเอิญหรืออาถรรพ์จริง ๆ ติดตามได้ในบทความนี้ Covid-19 ไม่ใช่วิกฤตที่หนักหน่วงครั้งแรกของโลก เคยงานวิจัยออกมาว่าในทุก ๆ 10 ปี อย่างน้อยโลกเราจะมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นเสมอ เพียงแค่บางครั้งเราก็รับรู้ได้ แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้รู้ตัวถึงวิกฤตมากนัก ในระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมาโลกเราเกิดวิกฤตใหญ่ ๆ ไปแล้วหลายครั้งด้วยกัน
วิกฤตหนี้ยุค 1980 -1990
ในยุค 1970-1980 ไม่มีอุตสาหกรรมใดที่รุ่งเรืองเท่าน้ำมัน เนื่องจากราคาโภคภัณฑ์อยู่ในโซนสูง โดยกลุ่มประเทศที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก โดยรายได้จากการขายน้ำมันดิบของโอเปกในรูปของดอลลาร์ หรือ PetroDollar ภายใต้บรรยากาศอัตราดอกเบี้ยต่ำ ถูกนำไปลงทุนในโปรเจคต์โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลตอบแทนสูง
เมื่อแบงก์ในละตินอเมริกาเริ่มปล่อยกู้ให้กับโปรเจคต์ที่เป็นฟองสบู่ ความเลวร้ายของเงินลงทุนในรูป PetroDollar ก็เริ่มมาเยือน มีการเบี้ยวหนี้กับกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็น วิกฤตหนี้ ยุค 1980s ความเชื่อที่ผิด ๆ ในช่วงนั้น คือ เมื่อราคาโภคภัณฑ์อยู่ในโซนสูง อัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินจากการขายน้ำมันดิบถูกหมุนเวียนกลับมาสร้าง โปรเจคต์โครงสร้างพื้นฐานที่มีผลตอบแทนสูง และการปล่อยกู้ผ่านสินเชื่อธนาคารถือว่าปลอดภัยเนื่องจากมีแรงจูงใจในการตรวจสอบข้อมูล จึงไม่น่าเกิดวิกฤต
วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 1990 – 2000
ยุครุ่งเรื่องของประเทศไทยอย่างแท้จริงเศรษฐกิจโตแบบก้าวกระโดด แบงค์อยากจะปล่อยเงินให้คนกู้เพื่อไปลงทุน แต่สุดท้ายความฝันก็จะกลายเป็นเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชียก็ต้องดับลงไปเป็นเรื่องที่ชาวไทยแทบจะทุกคนรู้จักกันดีเพราะมันได้ทำลายเศรษฐกิจและผู้คนไปมากมายจนถึงปัจจุบันประเทศไทยก็ไม่เคยกลับไปยืนถึงจุดนั่นได้อีกเลย จอร์จ โซรอส ใช้ประโยชน์จากการที่คาดเดาว่าแบงค์ชาติมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำกัดจึงทำการโจมตีค่าเงินบาททำให้ประเทศไทยต้องเปิดเสรีในการแลกเปลี่ยนเงินตรา จากที่เคยกำหนดค่าตายตัวที่ 1 ดอลลาร์แลกได้ 25 บาท ยิ่งไปกว่านั้นช่วงเวลานั้นแบงค์ยังเปิดให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก สุดท้ายแล้วเมื่อเงินบาทถูกลอยตัว สถาบันการเงิน ธุรกิจต่าง ๆ ที่รับภาระหนี้สินไม่ไหวก็ต้องปิดตัวลงไป ล้มหายตายจากกันไป
วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 2000 – 2010
ช่วงนี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจบูมมาก สถานบันการเงินต่าง ๆ มีการปล่อยกู้ที่ง่ายมาก แม้คนที่เครดิตน้อยก็ยังสามารถกู้ได้ คนเลยแห่กันไปกู้ โดยสินทรัพย์ที่คนนิยมกู้ไปซื้อกันมากที่สุดก็คือบ้าน แต่สิ่งที่เลวร้ายคือเมื่อกู้แล้วไม่มีเงินจ่าย คือในตลาดการเงินหนี้ถูกก่อขึ้นมาเยอะมาก มันเป็นภาวะฟองสบู่ สุดท้ายเมื่อคนเริ่มเบี้ยวหนี้ฟองสบู่ก็แตก เป็นสาเหตุในธนาคารล้ม ซึ่งพอธนาคารล้ม เศรษฐกิจในภาคอื่น ๆ ก็ล้มต่อ ๆ กันมาเป็นเหมือนโดมิโน
วิกฤตหนี้ ปี 2010 – 2020
หลังจาก 2010 เราก็ยังไม่ค่อยเห็นวิกฤตที่เป็นจริงเป็นจัง แต่พอปลายปี 2019 โลกกลับต้องพบวิกฤตครั้งใหญ่ ที่มาในรูปแบบโรคระบาดอย่าง Covid-19 มาแบบไม่ทันตั้งตัว จนไม่อาจรับมือได้ ส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจไปทั่วโลก Covid-19 ทำให้ธุรกิจในภาคต่าง ๆ สูญเสียรายได้ ทั่วโลกก่อหนี้ขึ้นมามากมายมหาศาล รายได้น้อยลงแต่จำนวนหนี้เท่าเดิมจะเดินต่อไปข้างหน้ายังไง ก็คงต้องรอว่าเมื่อไหร่จะมีธุรกิจไหนล้ม ซึ่งพอมีล้มสักที่ก็เป็นสัญญาญวิกฤต คนจะกลัว และสุดท้ายตลาดก็จะพัง
ทุก ๆ 10 ปี เราต้องเผชิญกับวิกฤตอะไรสักอย่างจนกลายเป็นวัฏจักรที่หนีไม่พ้น จริง ๆ จะ 10 ปี หรือ 100 ปีครั้ง ก็ไม่อาจมีใครคาดการณ์ได้ 100% หรอก สิ่งที่เราต้องตระหนักคือ อะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ ยิ่งในตลาด Forex ที่เราเดิมพันกันด้วยค่าเงิน เกิดวิกฤตครั้งนึงก็ย่อมส่งผลไปถึงค่าเงินอยู่แล้ว ข้อดีของวงการนี้คือเราสามารถทำกำไรได้สองทาง ไม่ว่าค่าเงินจะขึ้นจะลง หากเราติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด คาดการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำ ยังไงเราก็ทำกำไรในตลาดนี้ได้แน่นอน
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ