简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ต้องการแต่ผลกำไร จนละเลยการศึกษาข้อมูลให้ดีนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็มักจะโทษว่าตนนั้น ‘DeFi Hack’
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนคริปโตในรูปแบบ ‘DeFi’ กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในประเทศไทย เพราะได้ผลกำไรดีๆ ใครๆ ก็อยากลอง แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ต้องการแต่ผลกำไร จนละเลยการศึกษาข้อมูลให้ดีนั้น เมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็มักจะโทษว่าตนนั้น ‘DeFi Hack’
ก่อนอื่นอยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าการ ‘DeFi Hack’ นั้นไม่มีอยู่จริงเพราะทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการของ Smart Contract ทั้งหมด โดยพื้นฐานแล้ว Smart Contract นั้นก็คือโค้ดหรือคำสั่งทางคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งที่ทำงานอยู่บน Blockchain และด้วยการที่ Blockchain นั้นเป็นฐานข้อมูลที่แทบจะไม่สามารถแก้ไขได้ในทางปฏิบัตินั้นทำให้เงื่อนไขคำสั่งที่เขียนอยู่บน Blockchain จะมีความคงทนไม่สามารถแก้ไขได้คล้ายกับสัญญา เพราะฉะนั้นจริงๆสิ่งที่เราพูดว่า ‘DeFi Hack’ จึงไม่มีอยู่จริงครับ เพราะเวลาที่เราจะ Interact กับแพลตฟอร์ม DeFi ใดๆมันจะมีให้เรากด Accept เงื่อนไขสัญญา และเงินที่เป็นคริปโตก็คือการทำตามเงื่อนไขนั้น
ดังนั้นคำว่า ‘DeFi Hack’ ไม่มีอยู่จริง เป็นเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมันคือช่องโหว่ของสัญญาที่คุณเซ็นต์ มันไม่ใช่การที่คุณเซ็นต์สัญญาไปแล้ว คุณมาพบทีหลังว่าสัญญาที่คุณเซ็นต์นั้นถูกฉีกหรือแก้ไข ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ด้วยระบบ Smart Contract โดยเราจะแบ่งได้ดังนี้
1 การที่เจ้าของตั้งใจเขียน Contract แบบที่ล้วงเงินเราได้
กรณีแรกถ้าให้เปรียบเทียบกับชีวิตจริงคือการที่เรายอมเซ็นต์สัญญาแบบไม่อ่าน แล้วในสัญญาเขียนว่า เจ้าของโครงการสามารถเข้าถึงเงินของคุณได้ แน่นอนว่าในความเป็นจริงจะมีใครบ้างหละที่มีความสามารถในอ่าน Contract ได้จนจบ เรียกได้ว่ามีน้อยซะยิ่งกว่าน้อย หรือบางทีต่อให้คุณเป็นคนที่ความสามารถในการอ่านโค๊ดก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะรอดเสมอไปเช่นในกรณี MeerKat ที่เจ้าของโครงการได้เปลี่ยนโค้ดแค่ตัวเดียวจาก “O” เป็น “0” ต่อให้คุณจะสามารถอ่านโค้ดได้คุณก็อาจจะพลาดได้ นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไมแพลตฟอร์มที่ยังไม่มี audit ถึงอันตรายมากสำหรับคนหน้าใหม่
2 การที่เจ้าของเขียน Contract อย่างถูกต้องแต่ใช้การทุบเหรียญ
ถ้าคุณเคยได้ยินเรื่อง KubSwap ที่เพิ่ง Rug Pull ไปนี่คือลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้น คือโดยตัวแพลตฟอร์มนั้นเขียน Contract ขึ้นมาอย่างถูกต้องทุกอย่างทำให้ไม่มีทางที่เจ้าของจะขโมยเงินของเราได้ แต่แน่นอนว่าคนที่เล่นแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็ยินดีที่จะเสียงซื้อเหรียญ Governance หรือทำการ Provide สภาพคล่องในคู่ที่เป็นเหรียญ Governance นั้นก็แปลว่าคุณมีความเสี่ยงในการที่เหรียญ Governance จะขึ้นหรือจะลง ซึ่งในส่วนนี้โครงการน้ำดีต่างๆก็จะมีการกำหนดระยะเวลาปล่อยเหรียญที่ทางผู้สร้างควรจะได้รับเป็น Smart Contract อย่างถูกต้อง ซึ่งถ้าเจ้าของโครงการไม่ทำมันก็คือความเสี่ยงแบบหนึ่งที่คุณต้องรู้ไว้ว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ว่าคุณต้องอาศัยความเชื่อใจเอาเอง
โดยส่วนใหญ่แล้วในกรณีแบบนี้จะทำคล้ายๆกันคือ Contract เขียนมาถูกพอมีคนลง LP เหรียญหรือซื้อเหรียญสักพักก็ทำการทุบเหรียญทิ้ง ถ้าหนักๆหน่อยอาจจะมีการปิดหน้าเว็บ เพื่อให้คนที่ไม่มีความรู้ กดถอน LP ไม่ทันตัวเองจะได้ทุบเหรียญก่อนใคร ซึ่งในรูปแบบนี้คุณอาจจะคิดว่ามันโกงก็ได้แต่จริงๆ มันคือกติกาที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว คุณสามารถตรวจสอบ Code ได้ถ้าคุณมีความรู้ คำถามคือ คุณรู้อยู่แล้วว่ากติกาเป็นแบบนี้ หรือคุณไม่รู้กติกาแต่ก็คิดจะใส่เงินเข้าไปโดยไม่รู้ความเสี่ยงกันแน่
3 เจ้าของมีความตั้งใจดีแต่ว่ามีช่องโหว่ของสัญญา
นี่เป็นกรณีสุดท้ายที่ต้องเรียกได้ว่าจริงๆแล้วอาจจะน่าเห็นใจด้วยซ้ำเนื่องจากโครงการน้ำมีความตั้งใจในการทำในการที่จะเขียน Contract อย่างถูกต้อง แต่สุดท้ายแล้วความผิดพลาดมันก็เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้ นั้นเป็นเหตุผลที่บนโลก ‘DeFi’ ไม่มีคำว่า 100% แพลตฟอร์มใดก็ตามที่มันไม่มี Bug ในวันนี้มันก็ไม่ได้แปลว่าในอนาคตมันจะไม่เกิด Bug เลยไม่ว่าจะมันจะทำงานอย่างราบรื่นเพียงใดก็ตาม เป็นไปได้ว่ายังไม่มีใครค้นพบช่องว่างเหล่านั้นก็เท่านั้น
ทั้งนี้แม้จะเป็นแพลตฟอร์มที่มีการ Audit แล้วก็ตามมันก็ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ยิ่งถ้าเกิดโครงการนั้นเป็นโครงการที่มีแนวคิดใหม่ ที่บางทีมันใหม่มากจนตัว Audit เองก็ไม่ได้มีความรู้มากพอ ซึ่งในกรณีแบบนี้ไม่มีทางเลือกอื่นเลยนอกจากลองให้ Product ลงสนามจริงแล้วดูไปเรื่อยๆว่าจะมี Bug ไหม ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ Ethereum พัฒนาได้ช้ามากเพราะเหตุนี้คนที่พัฒนาโค้ดของ Ethereum คิดของใหม่ขึ้นมาแล้วใครหละที่จะมีความสามารถพอที่จะ Audit ของใหม่นี้คำตอบมันก็คือไม่มีนั่นแหละ ต้องทดสอบไปเรื่อยๆ
โดยในแพลตฟอร์มน้ำดีส่วนใหญ่จะมีการคาดการณ์ในจุดนี้ ในหลายแพลตฟอร์มมีเงินทุนสำรอง มีเงินประกัน หรือแม้แต่ในกรณีที่ไม่มีทีมก็หาหนทางในการกอบกู้โครงการและเยียวยานักลงทุนเท่าที่เป็นไปได้ไม่ได้ปล่อยให้ล้มหายตายจาก โครงการเหล่านี้ส่วนใหญ่ถ้าโดนโจมตีจะไม่ได้เกิดความเสียหายแบบ 100% แต่จะเป็นแค่บางส่วนแค่ 10-20% เท่านั้นเพราะได้มีการประเมินความเสี่ยงและช่องโหว่แล้วว่าไม่มีจุดไหนที่ถ้าพังขึ้นมาแล้วเงินทั้งโครงการจะหายไปนั่นเอง
และนี่แหละคือโลก Decentralized หากคุณอยากได้ผลตอบแทนที่สูงโดยไม่ยอมศึกษาอะไรสุดท้ายคุณก็จะผิดพลาดเข้าสักวัน และถ้าคุณคิดว่าคุณอยากจะได้ผลตอบแทนและจะไม่ศึกษาอะไร คุณไม่ควรยุ่งกับ DeFi แต่คุณควรกินดอกเบี้ยเงินฝาก 0.5% ของธนาคารแทน
แต่ถ้าคุณต้องการทำให้เรื่องนี้มันง่าย คุณก็แค่นำชื่อเหรียญที่คุณต้องการลงทุนในแบบ ‘DeFi’ มาค้นหาข้อมูลในแอป ‘Wikibit’ เพราะเรามีฟีเจอร์ดีๆ สำหรับนักลงทุนในการตรวจสอบข้อมูล DeFi, Excaheng และ Token เพียงแค่คุณกดค้นหาเท่านั้น ข้อมูลต่างๆ ที่คุณควรรู้ก็จะปรากฎขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น คะแนนจากแอป การเยี่ยมชมสำนักงานจากเจ้าหน้าที่ว่ามีบริษัทนี้อยู่จริงไม่โมเมขึ้นมาแน่นอน ความน่าเชื่อถือ ข้อมูลโครงการต่างๆ มูลค่าในตลาด รวมไปถึงการร้องเรียนปัญหาจากเพื่อนนักลงทุนของคุณอีกด้วย เพียงเท่านี้คุณก็จะมีข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างสบายใจแล้ว
ติดตามข้อมูลข่าวสารวงการคริปโต พร้อมตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ได้ที่….
App : “WikiBit” (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!)
Facebook : https://www.facebook.com/Wikibit.th/ (กด SEE FRIST เพื่อที่คุณจะไม่พลาดข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ จากทางเพจ)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ Blockchain Review - บล็อกเชนรีวิว
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
EC Markets
Tickmill
FOREX.com
IC Markets Global
FxPro
Pepperstone
EC Markets
Tickmill
FOREX.com
IC Markets Global
FxPro
Pepperstone
EC Markets
Tickmill
FOREX.com
IC Markets Global
FxPro
Pepperstone
EC Markets
Tickmill
FOREX.com
IC Markets Global
FxPro
Pepperstone