简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันและติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ ขณะที่บรรดาเทรดเดอร์กำลังประเมินผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ก่อนการประกาศข้อมูลการจ้างงานรายเดือน ปลายสัปดาห์นี้
ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันและติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง เมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินปอนด์ ขณะที่บรรดาเทรดเดอร์กำลังประเมินผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ก่อนการประกาศข้อมูลการจ้างงานรายเดือน ปลายสัปดาห์นี้
จากการที่ตลาดลอนดอนและนิวยอร์กปิดทำการเมื่อวานนี้ ดัชนีดอลลาร์ ปรับตัวลง 0.1% มาอยู่ที่ 90.044 เมื่อเวลา 13:50 GMT
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ข้อมูลสำคัญที่กำหนดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 29 ปี ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์
เงินยูโร ทรงตัวที่ 1.2195 ดอลลาร์จากระดับต่ำสุดในวันศุกร์ที่ 1.2133 ดอลลาร์ ส่วนเงินปอนด์อ่อนค่าลง 0.1% อยู่ที่ 1.4173 ดอลลาร์
การซื้อขายที่เบาบางในช่วงวันหยุดเทศกาล นักลงทุนได้ชั่งน้ำหนักผลกระทบต่อสัดส่วนสินทรัพย์ของสหรัฐฯ จากแรงกดดันด้านราคาที่สูงขึ้นและมาตรการของเฟด แต่แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ตลาดก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงช่วงปลายปี 2022
ดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน พุ่งขึ้น 3.1% ในวันศุกร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 1992 เนื่องจากการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิดและการหยุดชะงักของอุปทานต่าง ๆ
ตลาดเชื่อว่าระดับเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกาจะสูงเพียงชั่วคราว อัตราฯในปีหน้าจะยังคงอยู่ที่ 2.5% อุลริช ลุชมันน์ หัวหน้าฝ่าย FX ของ Commerzbank และฝ่ายวิจัยสินค้าโภคภัณฑ์ระบุในรายงาน
“นั่นไม่ได้ทำให้การกำหนดค่าเงินดอลลาร์ง่ายขึ้นเลย” เขากล่าว “จนกว่าเราจะมีความชัดเจนมากขึ้น เงินดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับปัจจุบัน”
นักเก็งกำไรเพิ่มเดิมพันของพวกเขาต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีปริมาณสถานะการ short เงินดอลลาร์มากขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง
ค่าเงินหยวนของจีนแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ก่อนที่จะร่วงลงตามคำเตือนจากทางการจีนเกี่ยวกับการเก็งกำไร
อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนนอกประเทศอยู่ที่ 6.3698 ต่อดอลลาร์ หลังจากแตะระดับสูงสุดในชั่วข้ามคืนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2018 ที่ 6.3553 ต่อดอลลาร์
ข้อมูลสำคัญของสัปดาห์นี้ คือ ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ ซึ่งจะประกาศในวันศุกร์ โดยคาดการณ์ค่ามัธยฐานที่ 650,000 แต่ผลลัพธ์ยังไม่แน่นอนหลังจากเพิ่มขึ้นเพียง 266,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นในเช้าวันอังคารในเอเชีย ในขณะเดียวกัน ค่าเงินเยนซื้อขายใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในเช้าวันศุกร์ในเอเชีย โดยนักลงทุนสนใจสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากความกังวลต่อไวรัสโควิด-19 ค่อย ๆ ลดลง
ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงในเช้าวันพฤหัสบดีในเอเชีย เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกดีขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้นักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น
ดอลลาร์อ่อนค่าลงเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนหันกลับมาจับตาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
XM
TMGM
EC Markets
FP Markets
HFM
Tickmill
XM
TMGM
EC Markets
FP Markets
HFM
Tickmill
XM
TMGM
EC Markets
FP Markets
HFM
Tickmill
XM
TMGM
EC Markets
FP Markets
HFM
Tickmill