简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วิกฤติโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญเริ่มหันมามองธนาคารกลางออสเตรเลีย ว่าเป็นต้นแบบที่นำพาเศรษฐกิจออสเตรเลียให้ออกมาจากสภาพเศรษฐกิจหดตัวเมื่อ 1 ปีที่แล้วได้ดี และเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 12 ปีก่อน ช่วงวิกฤติซับไพรม์ หลายคนยอมรับว่าฮีโร่ที่ถือเป็นต้นแบบของนโยบายการเงินของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐ ทว่ามาถึงวิกฤติโควิดในปัจจุบัน มีผู้เชี่ยวชาญอยู่ไม่น้อยที่เริ่มหันมามองธนาคารกลางออสเตรเลียว่าถือเป็นต้นแบบในการนำพาเศรษฐกิจออสเตรเลียให้ออกมาจากสภาพเศรษฐกิจหดตัวเมื่อ 1 ปีที่แล้วได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก รวมถึงตลาดหุ้นออสเตรเลียก็สามารถทะยานขึ้นสู่จุดที่ดัชนีไปแตะจุดสูงสุดตลอดกาล บทความนี้จะขออธิบายว่าทำได้อย่างไร
เริ่มจากตัวนโยบายต่างๆ ในเดือน มี.ค.2563 หลังจากวิกฤติโควิดได้เริ่มต้นขึ้น ทางธนาคารกลางออสเตรเลียได้ประกาศนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อันประกอบด้วย
1.การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash Rate หรือ Policy Rate) ลงอีกร้อยละ 0.25 ที่เพิ่งลดลงไปก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.5 จนเหลือร้อยละ 0.25
2.การให้แนวทางการดำเนินนโยบายในอนาคต (Forward Guidance) ในลักษณะที่ว่าจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหากการจ้างงานยังไม่เข้าสู่ระดับจ้างงานแบบเต็มที่ และอัตราเงินเฟ้อยังไม่ถึงร้อยละ 2
3.การลดระดับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางจ่ายสถาบันการเงินเพื่อนำเงินมาฝาก (ES Rate) จนเหลือร้อยละ 0.25
4.การตั้งเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออสเตรเลียอายุ 3 ปีไว้ที่ร้อยละ 0.25 หรือที่เรียกกันว่า Yield Curve Control และลงมาเหลือร้อยละ 0.1 ในเดือน พ.ย.2563
5.โครงการปล่อยกู้ให้สถาบันการเงินระยะเวลา 3 ปีที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เพื่อปล่อยกู้ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและเล็กหรือเอสเอ็มอี ด้วยปริมาณการปล่อยกู้คิดเป็นร้อยละ 3 ของมูลค่ารวมของสินเชื่อในระบบของออสเตรเลีย ซึ่งในเดือน ต.ค.2563 เพิ่มมูลค่าการปล่อยกู้เป็นร้อยละ 5 ของมูลค่ารวมของสินเชื่อในระบบ
แล้วในเดือน พ.ย.2563 ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ประกาศดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย โดยทำการซื้อพันธบัตรออสเตรเลียช่วงอายุ 5-10 ปี และเพิ่มการทำ QE อีก 100 ล้านดอลลาร์ ในเดือน ก.พ.2564
นโยบายทั้งหมดนี้ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจออสเตรเลีย ตามช่องทางและกลไก ดังนี้
- การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash rate) ถือว่าสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้หลายช่องทาง โดยการที่ต้นทุนทางการเงินของแบงก์พาณิชย์ลดลง จากการที่ธนาคารกลางปล่อยกู้ต่อแบงก์พาณิชย์ด้วยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวที่ลดลง ย่อมจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของประชาชนและภาคธุรกิจลดลง ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อปริมาณสินเชื่อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งยังส่งผลดีต่อกระแสเงินสดของผู้กู้อีกด้วย รวมถึงยังช่วยผลักดันให้ราคาสินทรัพย์ รวมถึงราคาที่อยู่อาศัยให้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มมูลค่าความมั่งคั่งของภาคครัวเรือนและนำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยที่มากยิ่งขึ้นในที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยกดดันให้ค่าเงินออสเตรเลียอ่อนลง นั่นจะส่งผลในเชิงการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับออสเตรเลียในที่สุด
นอกจากอัตราดอกเบี้ย Cash rate ที่ลดลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามช่องทางที่ได้ดังกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่สามารถใช้เพื่อส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ ES rate ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แบงก์นำมาฝากกับธนาคารกลาง เพื่อทำให้แบงก์มีแรงจูงใจในการถอนเงินดังกล่าวนั้นนำไปปล่อยกู้กับภาคธุรกิจ ที่สำคัญ ปริมาณเงินซึ่งแบงก์พาณิชย์ที่ต้องการกู้เงินจากธนาคารกลางกับที่ต้องการฝากกับธนาคารกลางเริ่มที่จะมีมากขึ้น และปริมาณดังกล่าวของทั้งคู่เริ่มจะมีมูลค่าที่ใกล้เคียงกัน จนก่อให้เกิดสภาพคล่องที่ดีให้กับ
- การให้แนวทางการดำเนินนโยบายในอนาคต (Forward Guidance) โดยธนาคารกลางออสเตรเลียได้ปรับความคาดหวังของตลาดสำหรับจังหวะเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุด ได้ประกาศว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในปี 2564 เมื่อการจ้างงานได้เป็นไปแบบเต็มที่แล้วและอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ร้อยละ 2
- มาตรการตั้งเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือ Yield Curve Control ไว้ที่ร้อยละ 0.1 โดยที่ธนาคารกลางออสเตรเลียเลือกช่วงเวลา 3 ปีไว้เป็นเป้าหมาย เนื่องจากมีมูลค่าสภาพคล่องที่มากที่สุด รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยของออสเตรเลียได้ดีที่สุด โดยจะเห็นได้ว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารทางการเงินประเภทอื่นๆ อาทิ Swap rate ก็จะมีระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราดังกล่าวเล็กน้อย เพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตที่เกิดขึ้นจากตราสารทางการเงินต่างๆ
ทั้งนี้ มาตรการ Yield Curve Control นี้ ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของออสเตรเลียอยู่ในระดับที่ต่ำแบบมีเสถียรภาพ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียกลับมาฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี
- การดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือคิวอีสำหรับพันธบัตรอายุ 5-10 ปี จะพบว่ามาตรการซื้อพันธบัตรระยะยาวนี้ได้ส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินระยะยาวของออสเตรเลียให้ลดลง ซึ่งทำให้ต้นทุนการกู้ยืมระยะยาวมีระดับลดลง ส่งผลให้มีรายได้รวมสูงขึ้นและเกิดการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์และตลาดที่อยู่อาศัยมีระดับที่สูงขึ้น อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียก็มีแนวโน้มที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออก โดยทั้งหมดก่อให้เกิดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยคาดกันว่า QE ในรอบนี้ของออสเตรเลียส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปี ของออสเตรเลียลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่ได้ทำ QE
มาตรการทั้งหมดของธนาคารกลางออสเตรเลียที่กล่าวข้างต้น ได้รับการชื่นชมจากหลายประเทศว่าทำได้ดีมากในช่วงวิกฤติโควิดนี้
หมายเหตุ : หนังสือการลงทุนเล่มใหม่ “หุ้น Avengers : Infinity Stock” ว่าด้วยการใช้ข้อมูลและแนวคิดเชิงมหภาคแบบครบทุกมิติในการลงทุน ผลงานหนังสือเล่มที่ 5 ของผู้เขียน วางตลาดที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศแล้ว
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
Octa
OANDA
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
Octa
OANDA
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
Octa
OANDA
EC Markets
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
Octa