简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพาทุกคนย้อนไปสัมผัสกับฝันร้ายของโบรกเกอร์ Forex ที่เกิดขึ้นในปี 2015 วิกฤตทางการเงินที่หนักมากครั้งนึง มากจนสามารถฆ่าโบรกเกอร์ Forex ให้ล้มละลายพร้อมกันหลาย ๆ ราย แล้วโบรกเกอร์ไหนบ้างที่ล้มละลายจากเหตุการณ์นี้ไปดูกัน
วันนี้เราจะพาทุกคนย้อนไปสัมผัสกับฝันร้ายของโบรกเกอร์ Forex ที่เกิดขึ้นในปี 2015 วิกฤตทางการเงินที่หนักมากครั้งนึง มากจนสามารถฆ่าโบรกเกอร์ Forex ให้ล้มละลายพร้อมกันหลาย ๆ ราย ภายในคืนเดียว อะไรคือสาเหตุของเรื่องนี้ แล้วโบรกเกอร์ไหนบ้างที่ล้มละลายจากเหตุการณ์นี้ไปดูกัน
สวิตเซอร์แลนด์ในตอนนั้น รู้จักกันดีในฐานะประเทศที่มีระบบสถาบันการเงินที่เข้มแข็ง เศรษฐีและนักลงทุนมักจะเอาเงินไปเก็บไว้กับสวิสแบงก์ และสวิตเซอร์แลนด์เป็นหนึ่งในประเทศในยุโรปตะวันตกที่ไม่ได้ใช้เงินยูโร และยังคงมีเงินสกุลของตัวเอง คือเงินฟรังก์สวิส (CHF)
สวิสประกาศตรึงค่าเงินขั้นต่ำไว้ไม่ให้แข็งไปกว่า 1.20 ฟรังก์ต่อยูโรตั้งแต่ปี 2011 สมัยที่มีวิกฤติค่าเงินยูโรรอบที่แล้วที่ ทำเอาค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งมาก เพราะใคร ๆ ก็อยากเอาเงินออกจากยูโร จนทำให้สวิตเซอร์แลนด์กังวลเรื่องความสามารถในการแข่งขัน สวิตเซอร์แลนด์ป้องกันค่าเงินอย่างเข้มแข็งมาหลายปี จนทำให้เงินสำรองของสวิสเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าในสี่ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งประกาศยกเลิกการตรึงค่าเงิน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสัญญาณก่อนหน้านี้ โดยให้เหตุผลว่าค่าเงินยูโรอ่อนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์แล้ว การตรึงค่าเงินไว้จึงไม่จำเป็นต่อการรักษาความสามารถในการแข่งขันอีกต่อไป
ทันทีหลังประกาศเงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้นกว่า 40% ซึ่งต้องถือว่าเป็นการขยับที่ใหญ่มากในตลาด Forex หลังประกาศคงมีคนอยากซื้อเงินฟรังก์สวิสเพื่อเอาไปคืนเยอะมากจนหาเงินฟรังก์สวิสไม่ได้และค่าเงินเลยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ความผันผวนหนักนี่แหละนำมาสู่หายนะของโบรกเกอร์ Forex หากเทรดเดอร์ทำการเทรดเงินฝากเริ่มต้นเพียงอย่างเดียวโบรกเกอร์ก็จะไม่เดือดร้อน แต่เลเวอเรจที่พวกเขาใช้คือสิ่งที่มาฆ่าโบรกเกอร์ เลเวอเรจที่พวกเขาใช้สูงถึง 1: 1000 ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถทำการเทรดด้วยมูลค่า 1,000 เท่าของเงินฝากเริ่มต้นของพวกเขา ในกรณีเช่นนี้ลูกค้าจะสูญเสียเพียงแค่สิ่งที่พวกเขาฝากไว้ แต่โบรกเกอร์จะสูญเสียเงินจำนวนนั้น 1,000 เท่า
นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับโบรกเกอร์ Alpari UK, FXCM และโบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกอีกมากมาย พวกเขาถูกฟ้องล้มละลายเนื่องจากความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยมีรายงานว่า FXCM ขาดทุนกว่า 225 ล้านดอลลาร์ (ราว ๆ 7 พันล้านบาท) หลังเหตุการณ์นั้นมีโบรกเกอร์หลายรายที่ตายจากไป ขณะเดียวกันก็มีหลายรายที่กลับมาได้อย่างสง่างาม WikiFX ขอพาไปดูข้อมูลปัจจุบันของ 2 โบรกเกอร์ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากครั้งนั้น
จากข้อมูลบนแอป WikiFX พบว่า FXCM ยังคงเป็นโบรกเกอร์ที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะโดยรวมที่ระดับ B ถือครองใบอนุญาตจาก FCA และ ASIC แต่พบรายงานการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการถอนเงินถึง 9 ครั้ง ทำให้ได้คะแนนจาก WikiFX ไปที่ 8.11/10
ในขณะเดียวกันเรายังพบข้อมูลของ Alpari ที่มีการจดทะเบียนในรัสเซีย และถือครองใบอนุญาตจากการหน่วยงานกำกับดูแลในเบลารุส โดยมีสถานะโดยรวมอยู่ที่ระดับ B เช่นกัน พบรายงานการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการถอนเงิน 4 ครั้ง และได้คะแนนจาก WikiFX ไปที่ 6.66/10
เหตุการณ์นี้ทำให้เห็นแล้วว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ในตลาดการเงิน ดังนั้นในฐานะเทรดเดอร์ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ทางที่ดีควรเลือกลงทุนกับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาต เพราะเมื่อมีอุบัติเหตุทางการเงินก็จะมีหน่วยงานกำกับดูแลมารับผิดชอบ ปกป้องดูแลคุณ รวมถึงเมื่อไหร่ที่คุณโดนโบรกเกอร์โกงก็สามารถฟ้องร้องไปที่หน่วยงานกำกับดูแลได้ ต่างจากโบรกเกอร์เถื่อนที่โดนโกงทำได้แค่ร้องไห้อย่างเดียว ก่อนลงทุนต้องดูโบรกเกอร์ดี ๆ ตอนนี้คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex พร้อมรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ เพียงแค่เอาชื่อไปค้นหาในแอป WikiFX ง่ายและฟรีที่นี่ที่เดียว
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
VT Markets
ATFX
Tickmill
FBS
STARTRADER
XM
VT Markets
ATFX
Tickmill
FBS
STARTRADER
XM
VT Markets
ATFX
Tickmill
FBS
STARTRADER
XM
VT Markets
ATFX
Tickmill
FBS
STARTRADER
XM