简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อพูดถึงการกำกับดูแล “สินทรัพย์ดิจิทัล” ซึ่งประกอบด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ และ โทเคนดิจิทัล ทุกสายตา
เมื่อพูดถึงการกำกับดูแล “สินทรัพย์ดิจิทัล” ซึ่งประกอบด้วยคริปโทเคอร์เรนซี่ และ โทเคนดิจิทัล ทุกสายตาน่าจะพุ่งตรงมาที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 2018 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาซื้อขาย Bitcoin นั้นเริ่มมีความร้อนแรงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงมีคำถามว่า แล้วก.ล.ต. มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องอะไร ในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Ecosystem) หรืออยู่ตรงไหนในจักรวาลของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” และพวกเขามีส่วนช่วยทำอะไรสำหรับการคุ้มครองนักลงทุน ดังนั้นในบทความนี้ทางสยามบล็อกเชนจึงได้นำเอาบทความเรื่อง “ก.ล.ต. กำกับดูแลอะไร ในจักรวาล ”สินทรัพย์ดิจิทัล“ เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน” ที่เขียนโดย นางสาวนภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาอธิบายให้เพื่อน ๆ ได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น มีอะไรใน “ระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัล” ? หากมองไปในระบบนิเวศของสินทรัพย์ดิจิทัลเราจะพบว่า นอกจากคริปโทเคอร์เรนซี่ และ โทเคนดิจิทัลแล้ว ยังมีกิจการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกหลากหลาย ทีต้องมาทำความรู้จักกันสักหน่อย สินทรัพย์ดิจิทัล จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วย ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี่และโทเคนดิจิทัล ซึ่งมีลักษณะและการกำกับดูแลที่แตกต่างกัน (1) คริปโทเคอร์เรนซี่ (cryptocurrency) เป็นเหรียญสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน (means of payment) เพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน เช่น Bitcoin หรือ Ethereum เป็นต้น รวมทั้งคริปโทเคอร์เรนซีที่มีการตรึงมูลค่า (peg) ไว้กับสินทรัพย์ที่มีความเสถียร เช่น ทองคำ สกุลเงินต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ stable coin” (2) โทเคนดิจิทัล (digital token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือเหรียญ โดยแยกย่อยเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 investment token ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ 2.2 utility token ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ
กดอ่านข่าว ก.ล.ต. เผยบทความเกี่ยวกับการกำกับดูแลใน “สินทรัพย์ดิจิทัล” เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุน ต่อที่ Siam Blockchain
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
EC Markets
HFM
FP Markets
ATFX
Tickmill
FBS
EC Markets
HFM
FP Markets
ATFX
Tickmill
FBS
EC Markets
HFM
FP Markets
ATFX
Tickmill
FBS
EC Markets
HFM
FP Markets
ATFX
Tickmill
FBS