简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทำไมบริษัทที่มีรายได้เกือบ 7 ล้านล้านบาท และมีกำไร 300,000 ล้านบาท จึงไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว!?
เรากำลังพูดถึง Amazon ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของโลกที่มีมูลค่าบริษัทเกือบ 30 ล้านล้านบาท มีเจ้าของบริษัทคือ Jeff Bezos ชายที่รวยอันดับต้นๆ ของโลกเช่นกัน บริษัทตกเป็นข่าวดังหลังจากที่มีการเปิดเผยว่า ในปี 2018 ที่ผ่านมานั้น Amazon ไม่ต้องเสียภาษีรายได้นิติบุคคลให้กับทางรัฐบาลกลางสหรัฐฯ แต่อย่างใด
อ่าว แล้วพวกเขาทำได้ยังไงล่ะ!?
คำตอบง่ายๆ คือ.. Amazon ก็เหมือนกับหลายๆ บริษัทใหญ่ทั้งในไทยและต่างประเทศ หรือกระทั่งมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ที่รู้จักใช้ “ค่าลดหย่อน” ให้เป็นประโยชน์สูงสุด ค่าลดหย่อน ก็คือรายการที่สามารถนำมาหักกับรายได้ เพื่อให้เราจ่ายภาษีเข้ารัฐลดลง
สำหรับพนักงานเงินเดือนทั่วๆ ไป ก็อาทิเช่น ค่าดูแลบุตร ค่าดูแลบิดามารดา เบี้ยประกันชีวิต อะไรแบบนี้เป็นต้น ส่วน Amazon เอง พวกเขาก็มีค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักกำไรกว่า 300,000 ล้านบาท ให้กลายเป็นว่าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน ได้แก่
การทุ่มเงินลงทุนวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ
เนื่องจากสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก แล้วทางรัฐบาลสหรัฐฯ ก็อยากจะเห็นประเทศตนเองเป็นที่หนึ่งในด้านนี้ตลอดไป
จึงมีกฎหมายที่ระบุว่า บริษัทใหญ่ที่เอาเงินไปลงทุนในส่วนวิจัยและพัฒนา (Research & Development) สามารถนำเงินส่วนนั้นมาลดหย่อนภาษีได้
ทีนี้ก็ยิ่งเข้าทางบริษัทด้านเทคโนโลยี ที่พวกเขาต้องทุ่มเงินไปในส่วนวิจัยนวัตกรรมใหม่ๆ มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Google, Facebook หรือ Apple ก็ตาม
สำหรับ Amazon นั้น เงินที่พวกเขาลงทุนไปกับแผนกวิจัยและพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์ สถานที่ หรือเงินเดือนของพนักงานแผนกนี้กว่า 45,000 ล้านบาท
เงินจำนวนนั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด!!
2. การนำกำไรมาแจกเป็นหุ้นให้พนักงาน
ตรงนี้จะค่อนข้างซับซ้อนสักเล็กน้อย ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1993 ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างพนักงานประจำ กับคนรวยเจ้าของธุรกิจ
จึงมีการออกกฎหมายในเรื่องการให้โบนัสพนักงาน ในรูปแบบของหุ้นบริษัท ซึ่งสามารถนำมูลค่าหุ้นที่แจกให้กับพนักงานมาลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะทำให้พนักงานได้สวัสดิการดีขึ้น มีรายได้มากยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้พวกเขารู้สึกมีความเป็นเจ้าของกิจการที่ตัวเองเป็นลูกจ้างด้วย ฟังดูเป็นไอเดียที่เวิร์กมาก ซึ่ง Amazon ก็มีการนำกำไรมาจ่ายเป็นหุ้นให้พนักงานและผู้บริหาร แล้วใช้สิทธิ์ตรงนี้ลดหย่อนภาษีของบริษัทได้เช่นกัน
แต่.. หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วทำไมบริษัทอื่นไม่ลดหย่อนแบบนี้ จนไม่ต้องเสียภาษีแบบ Amazon ล่ะ!? เพราะมีอยู่จุดหนึ่งที่บริษัทอื่นทำไม่ได้ครับ โดยทั่วไปถ้าบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหุ้น จะเอากำไรมาจ่ายเป็นหุ้นให้พนักงาน ก็ต้องเอาเงินไปกว้านซื้อหุ้นจากตลาดกลับคืนมา แล้วก็จัดสรรให้กับพนักงาน นั่นจะส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดสูงขึ้นเล็กน้อย ผู้ถือหุ้นเดิมก็จะรู้สึกดีตามไปด้วยที่มูลค่าหุ้นตัวเองนั้นเพิ่มขึ้น
แต่ข้อเสียก็คือ วิธีนี้จะซื้อหุ้นได้อย่างจำกัด ถ้าใช้เงินซื้อมากเกินไปก็จะทำให้มูลค่าหุ้นสูงเกินความเป็นจริง จนถึงจุดที่ไม่คุ้มค่ากับการลดหย่อนภาษีอีกต่อไป
แต่.. สำหรับ Amazon พวกเขาใช้วิธีเพิ่มทุนหุ้นใหม่เข้ามาเลย!! อ่าว แบบนี้พอมีหุ้นใหม่เข้ามาเยอะขึ้น ก็ทำให้หุ้นเดิมในตลาดนั้นมีมูลค่าลดลงสิ ผู้ถือหุ้นเก่าย่อมต้องไม่ยอมแน่ๆ
จุดนี้แหละครับที่แตกต่างกัน เพราะบริษัท Amazon นั้นค่อนข้างมั่นใจว่าตลาดหุ้นกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น บริษัทมีผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น และราคาหุ้นของบริษัทเองก็จะต้องเพิ่มขึ้นตามผลกำไรแน่ๆ แม้มีการเพิ่มหุ้นใหม่เข้ามา บริษัทก็มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น และไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมรู้สึกว่าหุ้นตัวเองด้อยค่าลงแต่อย่างใด
ซึ่งความคิดดังกล่าวก็เป็นจริง เพราะแม้จะมีช่วงที่มูลค่าหุ้นของบริษัทลดลงไปเล็กน้อย ตอนปลายปี 2018 แต่หากนับในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มูลค่าหุ้นของ Amazon ก็อยู่ในขาขึ้นมาโดยตลอด เทียบกับปี 2009-2019 แล้ว หุ้นของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่รายนี้เติบโตมาถึง 14 เท่า!!
เมื่อผู้ถือหุ้นเดิมพอใจที่มูลค่าหุ้นในมือไม่ลด (ทั้งที่ตามทฤษฎีมันลดลงแหละ แต่มูลค่าในมือมันเพิ่มขึ้น) พนักงานพอใจที่ได้รับผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น บริษัทก็พอใจที่สามารถลดหย่อนภาษีได้มากกว่าเดิม ก็เลยไม่มีใครออกมาเรียกร้องอะไร... และแน่นอนว่า “Amazon ทำถูกกฎหมาย 100%”
ทำให้เราเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ในบริษัทใหญ่ระดับโลกนั้น ฝีมือของผู้บริหารหรือกระทั่ง “นักบัญชี” ก็ย่อมไม่ธรรมดาตามไปด้วยเช่นกัน..
เคยตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ของคุณบ้างไหม บางทีใบอนุญาตโบรกเกอร์ของคุณอาจจะเพิ่งถูกถอดไปก็เป็นได้ และโบรกเกอร์ของคุณกลายเป็นโบรกเกอร์เถื่อน เมื่อโบรกเกอร์ล้มละลายหรือโกงเงินคุณจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดใดเลย ตรวจสอบตอนนี้เลยโดยโหลดแอพ WikiFX มาตรวจสอบ!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
คุณสามารถซื้อได้ทุกอย่างใน Amazon ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ เชื่อไหมว่าจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้มาจากโรงรถเล็ก ๆ เท่านั้น!
‘เจฟฟ์ เบโซส’สละเก้าอี้ซีอีโออเมซอน พร้อมให้ผู้บริหารธุรกิจคลาวด์ของบริษัท นั่งบริหารในฐานะซีอีโอแทน
FOREX.com
ATFX
HFM
OANDA
FP Markets
Vantage
FOREX.com
ATFX
HFM
OANDA
FP Markets
Vantage
FOREX.com
ATFX
HFM
OANDA
FP Markets
Vantage
FOREX.com
ATFX
HFM
OANDA
FP Markets
Vantage