简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เปิดเงื่อนไขการใช้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ 25 (25th Amendment) ของสหรัฐ ในการเขี่ย "โดนัลด์ ทรัมป์" พ้นเก้าอี้ประธานาธิบดี และให้รองประธานาธิบดีรักษาการแทน หลังผู้นำสหรัฐถูกมองว่าปลุกปั่นผู้ประท้วงขวางการรับรองชัยชนะ "โจ ไบเดน" ของคองเกรส
เมื่อวันที่ 6 ม.ค. เกิดสถานการณ์รุนแรงและวุ่นวายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ เมื่อมวลชนฝ่ายสนับสนุนทรัมป์ ผู้นำคนปัจจุบัน บุกเข้าไปภายในอาคารรัฐสภา เพื่อขัดขวางการประชุมใหญ่ของสภาคองเกรส ในการรับรองมติของคณะผู้เลือกตั้งให้ โจ ไบเดน เตรียมดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ และทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คนจากเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่รักษากฎหมาย
จากเหตุการณ์อุกอาจนี้ ทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า ในเมื่อการใช้อำนาจอีกครั้งของฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อถอดถอนทรัมป์เป็นครั้งที่ 2 อาจไม่ทันเวลา เนื่องจากทรัมป์มีเวลาอยู่ในตำแหน่งอีกไม่ถึง 2 สัปดาห์ “จะเป็นไปได้หรือไม่” ที่รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ จะใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ปลดประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง โดยอาศัยขั้นตอนตามที่ระบุอยู่ในบทบัญญัติของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 25
“การจงใจยั่วยุให้เกิดความรุนแรงและความวุ่นวายในสังคมของประธานาธิบดีทรัมป์เพื่อพลิกผลการเลือกตั้งด้วยกำลังตรงตามเกณฑ์นี้อย่างชัดเจน” ส.ส.พรรคเดโมแครตทุกคนในคณะกรรมาธิการระบบศาลยุติธรรมสภาผู้แทนราษฎร ระบุในจดหมายถึงรองประธานาธิบดีเพนซ์
เว็บไซต์ CNN อ้างข้อมูลจากแกนนำพรรครีพับลิกันที่ยืนยันว่า มีการหารือเรื่องการใช้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 25 จริง และส่วนใหญ่มองว่า ทรัมป์มีพฤติกรรมเข้าขั้น “กู่ไม่กลับ” แล้ว
มาร์กาเร็ต เบรนแนน ผู้สื่อข่าว CBS รายงานว่า “ยังไม่มีข้อเสนอใด ๆ อย่างเป็นทางการ” ถึงรองประธานาธิบดีเพนซ์ ขณะที่ แคทเธอรีน โฟลเดอร์ส ผู้สื่อข่าวจาก ABC อ้างแหล่งข่าวที่ยืนยันว่า เริ่มมีการเอ่ยถึงทางเลือกในการปลดทรัมป์จริง
แล้วบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 25 (25th Amendment) กำหนดไว้ว่าอย่างไร?
บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 25 เกี่ยวกับการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี (Succession to Office of President) โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการสืบทอดอำนาจของประธานาธิบดีโดย “รองประธานาธิบดี” ไม่ใช่ “ผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี” ในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ลาออก ถูกถอดถอน หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ล้มป่วยหนัก
กล่าวคือ กรณีประธานาธิบดีถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง เสียชีวิต หรือลาออก ให้รองประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทน และบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดรายละเอียดไว้ 4 ข้อดังนี้
ข้อ 1. ในกรณีที่ประธานาธิบดีถูกถอดออกจากตําแหน่ง หรือตาย หรือลาออก ให้รองประธานาธิบดีดํารงตําแหน่งประธานาธิบดีสืบแทน
ข้อ 2. เมื่อใดตําแหน่งรองประธานาธิบดีว่างลง ให้ประธานาธิบดีเลือกรองประธานาธิบดีขึ้นคนหนึ่ง เสนอต่อรัฐสภา เมื่อสภาทั้งสองแห่งรัฐสภาลงคะแนนเสียงข้างมากอนุมัติ จึงให้ดํารงตําแหน่งได้
ข้อ 3. เมื่อใดประธานาธิบดีแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชั่วคราวของวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ตนไม่สามารถจะใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งประธานาธิบดีได้ ให้รองประธานาธิบดีใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการแทนประธานาธิบดีจนกว่าประธานาธิบดีจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานสภาทั้งสองกลับความที่แจ้งไว้ก่อน
ข้อ 4. เมื่อใดรองประธานาธิบดีและเสียงข้างมากของคณะรัฐมนตรีหรือของหน่วยงานอื่นที่รัฐสภากําหนดไว้ตามกฎหมาย แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชั่วคราวของวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ประธานาธิบดีไม่สามารถที่จะใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตน ให้รองประธานาธิบดีเข้าใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการในตําแหน่งประธานาธิบดีทันที
หลังจากนั้น เมื่อประธานาธิบดีแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชั่วคราวของวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าตนไม่มีความสามารถปรากฏอยู่แล้ว ให้ประธานาธิบดีกลับมาใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนอีกจนกว่ารองประธานาธิบดีและเสียงข้างมากของคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานอื่นที่รัฐสภากําหนดไว้ตามกฎหมาย แจ้งไว้เป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานชั่วคราวของวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรภายใน 4 วันว่า ประธานาธิบดีไม่สามารถใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งได้ ให้รัฐสภาวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องนี้ โดยเรียกประชุมภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อการนี้ หากไม่อยู่ระหว่างสมัยประชุม
หากรัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของทั้งสองสภาภายใน 21 วัน หลังจากรับแจ้งเป็นลายลักษณ์ อักษรจากบุคคลคณะหลัง หรือหากภายใน 21 วัน หลังจากการเรียกประชุมในกรณีที่ไม่อยู่ในระหว่างสมัยประชุมว่า ประธานาธิบดีไม่สามารถใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนได้ ให้รองประธานาธิบดีคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการในตําแหน่งประธานาธิบดีต่อไป ในกรณีที่เป็นอย่างอื่นให้ประธานาธิบดีกลับมาใช้อํานาจและปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งของตนอีกครั้ง
สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 25 เกิดขึ้นระหว่างปี 2508-2510 และได้รับการให้สัตยาบันปี 2510 สืบเนื่องจากเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2506 ก่อนหน้านั้นคือการที่ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ มีอาการหนักจากโรคหัวใจกำเริบ
บทความโดย สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
ขอขอบคุณกรุงเทพธุรกิจ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
'ทรัมป์'ส่งสัญญาณลงชิงเก้าอี้ปธน.ปี 67 ย้ำไม่ได้แพ้เลือกตั้งที่ผ่านมา
“โดนัลด์ ทรัมป์” รอดการไต่สวนถอดถอนรอบ 2 พ้นข้อกล่าวหาปลุกม็อบบุกสภา
"โจ ไบเดน" เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่ได้ราบรื่นเท่าใดนัก เนื่องจากผู้แพ้ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ต่อผลการเลือกตั้งครั้งนี้ นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับมรดกที่ "โดนัลด์ ทรัมป์" ทิ้งไว้ให้อีกมาก
ปธน.ทรัมป์ กล่าวอำลาตำแหน่ง ก่อนออกจากทำเนียบขาว ย้ำได้ทำในสิ่งที่ต้องการมาทำ และทำกว่านั้นมาก ขณะที่คะแนนนิยมตอนพ้นตำแหน่ง เหลือเพียง 34% เท่านั้น
Octa
XM
TMGM
EC Markets
Vantage
FP Markets
Octa
XM
TMGM
EC Markets
Vantage
FP Markets
Octa
XM
TMGM
EC Markets
Vantage
FP Markets
Octa
XM
TMGM
EC Markets
Vantage
FP Markets