简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:จับตาภาคต่อ "สงครามการค้า" ระหว่างสหรัฐและจีน เมื่อโจ ไบเดน เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่รูปแบบการเจรจาการค้าแบบพหุภาคีโดยตรง ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป?
สิ่งที่หลายคนอยากจะทราบในตอนนี้คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร และรุนแรงมากแค่ไหนหลังจากที่โจ ไบเดนขึ้นมาเป็นผู้นำสหรัฐ บทความนี้จะขอตอบคำถามดังกล่าว
ขอเริ่มจากสมรภูมิสงครามการค้าของโจ ไบเดนก่อน ว่าจะเปลี่ยนจากรูปแบบสงครามการค้ามาเป็นรูปแบบการเจรจาการค้าแบบพหุภาคี (Multilateralism) กันโดยตรง โดยรูปแบบการเจรจาจะแบ่งออกเป็นอย่างน้อย 2 ขั้ว คือ ขั้วฝั่งชาติตะวันตก อันประกอบด้วยสหรัฐและยุโรปเป็นแกนหลัก และขั้วฝั่งจีนและชาติที่จีนไปลงทุนอยู่เยอะๆ อย่างชาติในแอฟริกาและยุโรปตะวันออก โดยที่บทบาทขององค์กรการค้าโลกที่จะทำหน้าที่เป็นหัวหอกในการเจรจาระหว่างชาติต่างๆ เกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าจะมีอยู่น้อยมาก เนื่องด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
1.Shocks หรือการถูกแรงกระแทกอย่างรุนแรงในแนวคิดให้เปลี่ยนจากรูปแบบการค้าเสรีมาสู่การคิดถึงตนเองก่อนในผลประโยชน์ทางการค้า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิด Shocks คือ สงครามการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จในเชิงรูปธรรม ทว่าในแง่ของความคิดแล้ว ได้ทำให้ชาวอเมริกันรวมถึงพรรคเดโมแครตคล้อยตามตรรกะที่ว่าจีนได้อาศัยการทำให้ค่าแรงและต้นทุนทางการเงินถูกลง ช่วยให้จีนได้เปรียบดุลการค้าต่อสหรัฐมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งตรงนี้ส่งผลให้การปกป้องทางการค้าจะกลายมาเป็นธีมหลักของรัฐบาลโจ ไบเดน
นอกจากนี้ ประสบการณ์ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้รัฐบาลของนานาประเทศมีแนวคิดที่จะหันมานำระบบห่วงโซ่อุปทานในส่วนภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและเป็นยุทธศาสตร์หลักของชาติ อาทิ การแพทย์ ด้านอาหาร และการทหาร จากที่ปฏิบัติการในต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกลับเข้ามาสู่ประเทศของตนเอง
2.Shifts หรือการเปลี่ยนแปลงของโฟกัสสำคัญด้านการค้า ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยในสองมิติ คือ การเปลี่ยนของผู้ที่จะเป็นตัวกำหนดบทบาทในระบบการค้าโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมาสู่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อาทิ จีน อินเดียและอาเซียน และการเปลี่ยนจากรูปแบบการค้าที่เน้นการส่งออกและบริการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในโลก มาสู่การค้าในรูปแบบที่เน้นช่องทางดิจิทัล หรือ Digital eCommerce ซึ่งจะส่งผลให้บทบาทขององค์กรการค้าโลกลดลงอีกเป็นอย่างมาก
ท้ายสุด Shackles หรือการขาดผู้นำด้านการค้าของโลก ณ ก้าวข้ามสู่ปี 2564 เราแทบจะไม่เห็นรัฐบาลของประเทศใดที่มีความต้องการ หรือพันธกิจที่จะมีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการค้าระหว่างประเทศในเวทีระดับโลก แม้แต่ โจ ไบเดน เองก็ตามที
ทั้งนี้ รูปแบบของสงครามการค้าระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกในยุคของไบเดน จะเปลี่ยนจากการเน้นตั้งกำแพงภาษีต่อการส่งออกของประเทศคู่ค้าในยุคของโดนัลด์ มาสู่การเน้นใช้นโยบายที่ไม่ใช่กำแพงภาษี (non-tariff barriers หรือ NTBs) ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการนำเข้า การช่วยเหลือของรัฐต่อผู้ส่งออกของประเทศตนเอง รวมถึงนโยบายการจำกัดสัดส่วนของวัตถุดิบในสินค้าที่จะส่งออกหรือนำเข้า ให้มาใช้วัตถุดิบในการผลิตของประเทศตนเองในสัดส่วนที่ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ จะเห็นได้ว่ากำแพงภาษีเป็นเครื่องมือทางการค้าที่ชัดเจนต่อการสังเกต ในขณะที่ NTBs ค่อนข้างยากต่อการสังเกตและประเมินมูลค่ารวม
จากการศึกษาการใช้นโยบายด้านการค้าในรูปแบบต่างๆ ระหว่างปี 2552-2559 พบว่าสัดส่วนการใช้ NTBs มีมากกว่าการใช้กำแพงภาษีค่อนข้างมาก โดยในปี 2559 มีสัดส่วนการใช้กำแพงภาษีมีร้อยละ 20 ในขณะที่การใช้นโยบายแบบไม่ใช่กำแพงภาษีมีอยู่ถึงร้อยละ 55 โดยการใช้แบบหลังค่อนข้างจะมีระยะเวลาต่อหนึ่งครั้งยาวนานกว่าการใช้เครื่องมือแบบกำแพงภาษี
สำหรับในยุคของไบเดน คาดว่าการใช้ NTBs จะมีมากขึ้นกว่าในอดีตค่อนข้างมาก โดยจากสงครามการค้าแบบช้างชนช้างที่มีข่าวกันแบบวันต่อวันในยุคของทรัมป์ จะก้าวมาสู่สงครามรูปแบบใหม่ที่เน้นแบบกองโจร ซึ่งยากต่อการสังเกตมากขึ้นในยุคของไบเดน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
STARTRADER
IQ Option
TMGM
FBS
EC Markets
Vantage
STARTRADER
IQ Option
TMGM
FBS
EC Markets
Vantage
STARTRADER
IQ Option
TMGM
FBS
EC Markets
Vantage
STARTRADER
IQ Option
TMGM
FBS
EC Markets
Vantage