简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจโลกดูดีขึ้นจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
ติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลก โดยตลาดการเงินจะรอดูยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls) รวมถึงอัตราการว่างงาน
ตลาดพร้อมปิดรับความเสี่ยง หากภาพเศรษฐกิจไม่สดใสตามคาด โดยการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้น เริ่มทำให้ข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาด ซึ่งภาวะปิดรับความเสี่ยงจะช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้เงินดอลลาร์จะไม่แข็งค่าไปมาก เพราะฝั่งผู้ส่งออกต่างรอขายดอลลาร์ในช่วง 30.30-30.40 บาท/ดอลลาร์
(เทรดเดอร์สามารถดูเวลาการประกาศตัวเลขและตัวเลขที่ประกาศออกมาได้ที่แอพพลิเคชัน WikiFX กดตรง “ปฏิทินเศรษฐกิจ”)
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในวันอังคาร ตลาดคาดว่า RBA จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Cash Rate) และเป้าหมายบอนด์ยีลด์อายุ 3ปี ไว้ที่ระดับ 0.10% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ RBA อาจส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อช่วยเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ในวันศุกร์ ตลาดคาดว่า RBI จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Repo Rate) ไว้ที่ระดับ 4.00% ทั้งนี้ RBI มีโอกาสส่งสัญญาณพร้อมลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ดีนักจากการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรงอยู่ในหลายพื้นที่
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ
การระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรง ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีปัญหา โดยภาคการผลิตและภาคการบริการมีแนวโน้มชะลอตัว ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโดย ISM เดือนพฤศจิกายนที่ลดลงสู่ระดับ 58จุด เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการที่ลดลงสู่ระดับ 56จุด นอกจากนี้ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนพฤศจิกายนก็อาจลดลงเหลือ 5 แสนราย นอกเหนือจากข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอลุ้นผลการประชุม OPEC+ โดยตลาดมองว่า กลุ่ม OPEC+ จะไม่รีบเพิ่มโควต้ากำลังการผลิต แม้ว่าราคาน้ำมันจะฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุด
ฝั่งยุโรป
ประเด็นการเจรจาข้อตกลง Brexit ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ขณะเดียวกันปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรง จะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวที่ระดับ 0.2%y/y และอัตราว่างงานที่ 8.4%
ฝั่งเอเชีย
เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องทั้งภาคการผลิตและการบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโดย Caixin เดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 53.5จุด ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการอยู่ที่ระดับ 56.4จุด
ฝั่งไทย
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ -0.4%y/y ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ -0.5% นอกจากนี้ ต้องติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศที่เริ่มมีรายงานผู้ติดเชื้อในไทย ซึ่งหากสถานการณ์ดูแย่ลงก็อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ ทำให้เกิดแรงเทขายสินทรัพย์ไทย อาทิ หุ้นไทย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ