简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เรื่องของ “ศิริวัฒน์แซนด์วิช” ทำให้เราได้รู้ว่าจริงๆ การเป็นนักลงทุนรวยร้อยล้านพันล้าน ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีโอกาสทำผิดพลาดเหมือนคนอื่น คุณศิริวัฒน์เคยเป็นนักลงทุนหุ้นที่ประสบความสำเร็จ แต่ชีวิตกลับพลิกผัน กลายเป็นคนถูกฟ้องล้มละลาย มีหนี้สินเป็นร้อยล้านพันล้าน
อดีตนักเรียนทุนโปรไฟล์ดี จบนอก
ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ : ผมเรียนมัธยมอัสสัมชัญศรีราชามาต่อโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ในกรุงเทพ และได้รับทุน American Field Service (นักเรียนแลกเปลี่ยนเมริกา) จบมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ตอนนั้นผมจบมาอายุ 28 ปี ก็กลับมาทำงานในวงการเงินทุนและหลักทรัพย์ พอทำได้ 2 ปี ผมก็ได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์เอเชีย เป็นโบรกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ในขณะนั้น
หลังรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เศรษฐกิจพังครืน เศรษฐีกลายเป็นยาจกชั่วข้ามคืน ผู้คนตกงาน จำนวนไม่น้อยตัดสินใจฆ่าตัวตายจนเป็นข่าวรายวัน ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือบาดแผลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย
ศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ คือหนึ่งในตัวละครสำคัญ อดีตเซียนหุ้นผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย มีหนี้สินติดตัวนับพันล้าน ต้องผันตัวมาเป็นพ่อค้าขายแซนด์วิชข้างถนน ด้วยหัวใจไม่ยอมแพ้ กัดฟันสู้ล้มแล้วลุก จนกลับมายืนได้อีกครั้ง ทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งประเทศ
ย้อนรอยวิกฤตฟองสบู่แตก วันที่คนไทยล้มทั้งยืน
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปี 2540 นักลงทุนในตลาดหุ้นไม่มีใครไม่รู้จักศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์เอเซียจำกัด โบรคเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า อัศวินม้าขาว จากผลงานการทำกำไรหลายพันล้านให้กับบริษัทมากมาย
หลังเรียนจบด้านบริหารการเงินจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ก็กลับมาทำงานตามบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ต่างๆ จนได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์เอเซียจำกัดตั้งแต่อายุ 29 ช่วงนั้นตลาดการลงทุนบูมสุดๆ ผมเคยทำกำไรจากหุ้นได้มากสุดวันละสิบล้าน มีสื่อเชิญไปออกรายการมากมาย เรียกได้ว่าเป็นไอดอลของนักลงทุน ผมหาเงินได้เยอะมาก เป็นคนที่ไม่ว่างเลย ต้องโทรศัพท์ตลอด เช็คข่าวเช็คหุ้น พอมีเงินก็ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ช่วงนั้นผมพักอาศัยอยู่คอนโดมิเนียมเดียวกับคุณเจริญ ศิริวัฒนภักดี มหาเศรษฐีอันดับต้นๆของเมืองไทย
ก่อนจะเกิดวิกฤตฟองสบู่ ไทยถูกมองว่าเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชีย ทุกคนใช้เงินลงทุนกันเพลิน นักลงทุนเมื่อคิดใหญ่แล้วเงินไม่พอก็ไปกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศซึ่งสามารถกู้ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านแบงค์ แถมดอกเบี้ยน้อยกว่าในประเทศ ก็เลยแห่กันไปกู้เงินจำนวนมากมาทำธุรกิจ
ผมกู้เงินลงทุนสร้างคอนโดมิเนียมที่เขาใหญ่ห้องละ 5 ล้าน ขายเฉพาะคนรวยเท่านั้น ใช้การลงทุนในตลาดหุ้นแบบมาร์จิน (Margin) อธิบายง่ายๆคือ กู้เงินมาลงทุน พอหุ้นตกก็ถูกบังคับขาย (Forced Sell) พอขายหุ้นจนหมดที่เหลือก็คือหนี้ ยกตัวอย่างเช่น มีหนี้อยู่ 100 ล้าน พอหุ้นตกก็ขายได้ 70 ล้าน เหลือหนี้ 30 ล้าน ดอกเบี้ยก็เดินไปเรื่อยๆ พอเศรษฐกิจมีปัญหา คอนโดที่ผมขายถูกลูกค้าทิ้งเงินดาวน์ ลูกค้าซื้อห้องราคา 30 ล้าน เงินดาวน์ 10 % เป็นเงิน 3 ล้านบาท เมื่อลูกค้าทิ้งเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือ 27 ล้าน ผมก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมด ซึ่งเศรษฐกิจตอนนั้นจะไปขายใครก็ไม่ได้ ผมถูกบังคับให้ขายหุ้นไปแล้ว 70 % แต่ 30 % ยังอยู่ ดอกเบี้ย 17-19 % ทบกันไปมาสุดท้ายจากหนี้ไม่กี่ล้านกลายเป็นพันล้าน
ศิริวัฒน์จำได้แม่นถึงวันที่เรียกประชุมพนักงานบริษัทซึ่งมีอยู่ 40 คน เพื่อแจ้งว่าบริษัทต้องปิดตัว ตอนนั้นพนักงานครึ่งหนึ่งลาออก อีกครึ่งหนึ่งกำลังมืดแปดด้าน ไม่มีที่ไป เพราะช่วงนั้นมีแต่บริษัทปิดตัว งานหายาก ลูกน้องจึงมองเขาไม่ต่างจากที่พึ่งสุดท้าย
“คำสอนหนึ่งที่ได้มาจากคุณพ่อคุณแม่คือ อย่าทิ้งลูกน้อง เพราะเขาเหมือนครอบครัวเดียวกับเรา ถ้าไม่มีเขาเราก็ไม่มีวันนี้ ผมปรึกษาภรรยาว่าจะช่วยพวกเขายังไงดี ลำพังตัวคนเดียวอาจจะไปขายประกัน หรือทำบริษัทขายตรงก็ได้ แต่งานเหล่านั้นมันเลี้ยงคนไม่ได้ สุดท้ายภรรยาบอกว่า งั้นเรามาทำแซนวิชขายกันเถอะ”
จากเศรษฐีร้อยล้านสู่พ่อค้าแซนด์วิชข้างถนน
หลังจากศิริวัฒน์คิดได้ว่าเขาไม่ใช่เซียนหุ้น ไม่ใช่เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์คนเก่าอีกต่อไป บทเรียนแรกที่ได้รับในวันที่ล้มคือ อย่าอายทำกิน
เหตุผลที่เลือกขายแซนด์วิชเพราะไม่ต้องลงทุนมาก ผมเช่าตึกแถวห้องเดียวที่ถนนจันทร์ เอาโต๊ะ 4-5 ตัวมาวางพลาสติกคลุมก็ทำแซนด์วิชกันตรงนั้นเลย วันแรกวางขายที่โรงพยาบาลกรุงเทพ เขาให้พื้นที่เป็นโต๊ะเล็กๆ 1 ตัว ทำไปขาย 20 ชิ้น ชิ้นละ 25 บาท ถือว่าแพงมาก เจ้าอื่นขายแค่ชิ้นละ 8-10 บาท กว่าจะขายหมดใช้เวลา 6 ชั่วโมง หักลบต้นทุนแล้วเหลือไม่เท่าไหร่ ขืนยังเป็นแบบนี้คงไปไม่รอดแน่ๆ
ผมจึงเริ่มขายเอง เอาหน้าตัวเองนี่แหละเป็นพรีเซนเตอร์ เอาหน้าตัวเองไปให้คนเห็นว่าผมนี่แหละเซียนหุ้น ทำธุรกิจเจ๊ง ต้องมาขายแซนด์วิช อุดหนุนผมหน่อย (หัวเราะ) ใช้วิธียืนถือกล่องคล้องคอขาย แรกๆยืนขายหน้าธนาคาร คนไม่รู้จัก มองอย่างเดียวแต่ไม่ซื้อ บางวันรปภ.มาไล่ พอไล่ผมก็เดินหนี เผลอก็กลับมายืนใหม่ ข้อดีของการขายสินค้าเคลื่อนที่คือ จุดไหนขายไม่ดี ก็สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย แค่เดินย้ายจุด
ครั้งหนึ่งขณะกำลังยืนขายแซนวิชอยู่ริมถนนพระราม 4 เพื่อนคนหนึ่งขับรถผ่านมาเปิดกระจกตะโกนถามว่า'เดี๋ยวนี้ขายแซนด์วิชแล้วเหรอ' การทักทายอันห่างเหินเย็นชาแทนที่จะลงมาทักทายโอภาปราศัยตามประสาเพื่อนเก่ากลับเปิดกระจกคุยกันราวกับคนแปลกหน้า ทำให้ศิริวัฒน์รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ
“ถามว่าอายไหม อายนะ แต่หลังพิงฝาแล้ว ตอนนั้นเมียผมเซ็นค้ำประกันไว้ต้องแบกรับหนี้ 500 ล้าน ลูกคนโต 16 ขวบ คนกลาง 14 ขวบ คนเล็ก 9 ขวบ ไหนจะต้องเลี้ยงลูกน้องให้อยู่รอด ก็บอกตัวเองว่าต้องหน้าด้านต่อไปวะ ยืนตากแดดแบกกล่องแซนด์วิชขายตามหน้าธนาคาร หน้าโรงเรียน วัด สถานท่องเที่ยว เดินไปตามตรอกซอกซอยยันริมฟุตบาท เคยโดนเทศกิจจับขึ้นรถมาแล้วแต่พูดจนเขายอมปล่อยตัว แม้กระทั่งรุ่นพี่ผมยังเคยชี้หน้าด่าว่า ทำไมไม่ไปทำอย่างอื่น ใช้หัวสมอง ความรู้ความสามารถ คอนเนกชั่น ทำอย่างอื่นที่มันใหญ่กว่าการขายแซนด์วิช ก็ตอบไปว่าผมติดแบล็คลิสต์จะยืมเงินญาติเขาก็ไม่ให้ ก็เลยต้องพึ่งตัวเอง”
ศิริวัฒน์บอกอีกว่า เถ้าแก่ต้องลงมือเอง ยิ่งธุรกิจขนาดเล็ก ยิ่งต้องลุยเอง เพราะความเอาใจใส่จะทั่วถึง
ถ้าธุรกิจไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก การที่เถ้าแก่ลงมาใส่ใจรายละเอียด นอกจากจะได้ใจลูกค้า เช่น พอเขาเห็นผมมายืนขายแซนด์วิชก็บอก 'โอ้โห เถ้าแก่ลงทุนมาขายเองเลย' สิ่งที่ได้รับตามมาคือ เถ้าแก่สามารถรู้ถึงปัญหาที่แท้จริง และแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ดีกว่าให้ลูกจ้างมานั่งรายงานเมื่อเวลาได้ผ่านไปแล้ว อีกอย่างที่เป็นผลพลอยได้คือลูกจ้างจะไม่อู้ เพราะเถ้าแก่อยู่ด้วยตลอดเวลา
การจะประสบความสำเร็จ คุณต้องขยัน ท้อได้แต่ต้องอดทน ไม่ใช่ว่าขายไม่ดีแล้วเลิก ผมขายน้อยได้น้อย ดีกว่าขายเยอะแล้วเจ๊ง ผมเดินมาถึงจุดที่รู้ซึ้งแล้วว่าโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน คุณต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุด ผมเคยเล่นหุ้นได้วันละสิบล้าน วันนึงต้องมาขายแซนด์วิชได้กำไรไม่กี่ร้อย ผมก็ต้องทำ วันก่อนไปถนนข้าวสารขายของได้ 675 บาท ดีใจมาก เฮ้ย กูไม่ได้กลับบ้านมือเปล่าโว้ย (หัวเราะ) ต่างจากสมัยก่อนเล่นหุ้นได้ 2 แสน ก็จะอยากได้เพิ่้มเป็น 4 แสน ความโลภอยากได้เยอะๆมันทำให้เราไม่มีความสุข บทเรียนที่อยากจะฝากไปยังผู้ประกอบการรุ่นใหม่คือ การเริ่มธุรกิจควรเริ่มจากขนาดเล็กๆ ลองผิดลองถูกไปก่อน หากไปได้ดีค่อยขยายเพิ่มเติม ในทางกลับกันถ้าไปไม่รอดจะได้ไม่เจ็บตัวมาก ระวังอย่าทำอะไรใหญ่เกินตัวหรือโลภ เพราะโอกาสผิดพลาดมีสูงมาก ยิ่งถ้าไม่ใช่เป็นคนที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมาก่อน มีเงินเท่าไหร่ก็หมด
สงสัยไหมว่าเราจะตามข่าวหรือบทวิเคราะห์พวกนี้จากไหนบนแอปพลิเคชันWikiFX จะมีอัปเดทบทวิเคราะห์แบบมหาศาลให้อ่านและยังมีแจ้งเตือนโบรกเกอร์เถื่อนในแต่ละสัปดาห์ที่เจ๋งที่สุดคือต่อจากนี้จะมีแจ้งเตือนค่าเงินหลักที่จะผันผวนแรงในวัดถัดไปถ้าโหลแอปตอนนี้เราจะได้เปรียบกว่าเทรดเดอร์คนอื่น โหลดเลย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ช่วง ตอบคำถามจากทางบ้าน! แฟน ๆ ของ WikiFX หลายคนส่งคำถามเข้ามาว่า หุ้น กับ Forex นี่มันอันเดียวกันรึเปล่า หรือมันต่างกันยังไง อะไรน่าลงทุนกว่า? เล่นหุ้นมาก่อน ลองเทรด Forex ได้ไหม? ทางเราไม่รอช้า รวบรวมคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้!
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักเทรดเดอร์วัยเด็ก ซึ่งผู้โชคดีจากเหตุการณ์นี้ กับ “เจเดน คาร์” จากเมืองซาน แอนโทนิโอ ในรัฐเท็กซัส
ราคาหุ้นเทสลา ปรับตัวลงอีก 0.12% ในช่วงเช้านี้ หลังมีรายงาน ยอดสั่งซื้อรถยนต์ พ.ค.ของเทสลา ในประเทศจีนลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากเดือนเม.ย. เนื่องจากที่รัฐบาลจีนพยายามตรวจสอบรถยนต์เทสลา
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักนักลงทุนชาวไทยที่ประสบความสำเร็จระดับพันล้าน ผู้มีปริมาณการซื้อขายหุ้นมาแล้วทั้งชีวิตกว่า 1 ล้านล้านบาท คร่ำหวอดในวงการนี้มากว่า 3 ทศวรรษ กับ “เสี่ยป๋อง วัชระ แก้วสว่าง”
Pepperstone
FOREX.com
XM
Tickmill
FxPro
GO MARKETS
Pepperstone
FOREX.com
XM
Tickmill
FxPro
GO MARKETS
Pepperstone
FOREX.com
XM
Tickmill
FxPro
GO MARKETS
Pepperstone
FOREX.com
XM
Tickmill
FxPro
GO MARKETS