简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ยังไม่ทันจะคลี่คลาย ประธานาธิบดี“โดนัลด์ ทรัมป์”ของสหรัฐ ก็ออกมา “เปิดศึก” รอบใหม่กับ “จีน”
โดยกล่าวหาว่า จีน คือต้นตอการแพร่ระบาดของโรคโควิด ซึ่ง “ทรัมป์” ประกาศว่า จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน สร้างความกังวลว่า สงครามการค้าระหว่าง “สหรัฐ” กับ “จีน” จะกลับมาปะทุอีกครั้ง
นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวนการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า หากสหรัฐกลับมาทำสงครามการค้ากับจีนอีกครั้งในช่วงเวลานี้ จะยิ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทำให้แย่ลงมากขึ้น ซึ่งเวลานี้ทั่วโลกเริ่มพูดคุยกันว่า เศรษฐกิจโลกอาจเกิดภาวะตกต่ำครั้งใหญ่เหมือนที่เกิด Great Depression เมื่อปี1929 หากเกิดจริงจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยมาก เพราะไทยเป็นประเทศพึ่งพาการค้าโลกเป็นหลัก
“ตอนที่เกิด Great Depression การค้าโลกลงไปลึกมาก แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ ธนาคารกลางและรัฐบาลหลายประเทศได้เรียนรู้จากวิกฤติในคราวนั้น ซึ่งครั้งนั้นธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้สถานการณ์ยิ่งหนัก แต่ครั้งนี้ เฟด(ธนาคารกลางสหรัฐ) ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับของไทยแล้ว ของเราถือว่ายังเล็กน้อยมาก”
นายดอน กล่าวด้วยว่า ประเด็นเรื่องสงครามการค้า ถือเป็นความเสี่ยงที่มีมาโดยตลอด แต่หากเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ทั่วโลกกำลังเผชิญผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ก็มีความเป็นไปได้ที่ มาตรการดูแลเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท อาจไม่เพียงพอ และทำให้ภาครัฐต้องอัดฉีดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ณ เวลานี้ วงเงินดังกล่าวยังสามารถยันไว้ได้
ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ ธปท. ยังประเมินว่า จีดีพี มีแนวโน้มหดตัวในระดับ 5.3% โดยประมาณการดังกล่าวมีขึ้นในช่วงเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลงในไตรมาส 2 ซึ่งถ้าดูสถานการณ์ภายในประเทศ ณ ตอนนี้ ก็ดูเหมือนจะคลี่คลายลงได้ภายในไตรมาส 2 เพียงแต่ถ้าดูเศรษฐกิจโลกถือว่าหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้
“เรามองว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งก็เข้าสู่ภาวะถดถอยจริง แต่ตอนที่ประเมินคือเดือนมี.ค. ผ่านมา 1 เดือน เศรษฐกิจโลกถดถอยมากกว่าคาด ดังนั้นในเดือนพ.ค.นี้ คงต้องทบทวนตัวเลขประมาณการณ์ใหม่อีกครั้ง”
สำหรับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐในวงเงิน 4 แสนล้านบาทนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตาม เพราะจะมีผลต่อประมาณการเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ซึ่งเวลานี้ยังไม่ชัดเจนว่า เงินส่วนนี้จะถูกใช้อย่างไร
“เรื่องการฟื้นฟู สิ่งที่เราคาดหวัง คือ การฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว เพราะถือเป็นกลุ่มที่โดนผลกระทบหนักสุด เงิน 4แสนล้าน ถ้าส่วนหนึ่งนำมาใช้ดูแลเรื่องนี้ ก็ถือว่าตรงจุด และอีกส่วน คือ เวลานี้หลายคนโดนผลกระทบต้องหางานใหม่ หลายคนกลับสู่ภาคชนบท เราจึงอยากเห็นระบบชลประทานที่ดี เพื่อช่วยภาคเกษตรไปได้”
ส่วนปัญหาภัยแล้ง ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเผชิญกับ perfect storm เพราะสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรแรงกว่าที่คาดในช่วงไตรมาสแรก ขณะที่ไตรมาสสอง คาดว่าจะเริ่มมีฝนทำให้สถานการณ์ดังกล่าวดีขึ้นบ้าง ประกอบกับมาตรการเยียวยาในส่วนของ 6 แสนล้านบาท ถูกแบ่งมาใช้เยียวยาภาคเกษตร ซึ่งถือว่าช่วยได้ในระดับหนึ่ง
นายดอน กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจเวลานี้ผ่านการใช้นโยบายการคลังและการเงิน ซึ่งเราอาจยอมให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเกิน 60% ได้บ้าง แต่ระยะยาวแล้วจำเป็นต้องดึงลงมา เช่นเดียวกับดอกเบี้ยแม้ตอนนี้ต้องปล่อยให้อยู่ระดับต่ำ แต่ระยะข้างหน้าจำเป็นต้องปรับขึ้นไปเพื่อป้องกันปัญหาใหม่ที่จะตามมา โดยเฉพาะการเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ
ด้าน นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงการคลังและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดูการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
รวมไปถึงผู้ประกอบการขนาดเล็กกว่าเอสเอ็มอี และประชาชนในกลุ่มเปราะบางซึ่งกระทรวงการคลังต้องไปจัดทำรายละเอียดว่าครอบคลุมประชาชนกี่คน และต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่เพื่อนำมาเสนอ ครม.อีกครั้ง โดยมั่นใจว่าวงเงินที่เตรียมไว้เยียวยาผู้ที่เดือดร้อนจากโควิด-19 วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก.กู้เงินฯ ยังรองรับได้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FBS
Vantage
OANDA
TMGM
ATFX
VT Markets
FBS
Vantage
OANDA
TMGM
ATFX
VT Markets
FBS
Vantage
OANDA
TMGM
ATFX
VT Markets
FBS
Vantage
OANDA
TMGM
ATFX
VT Markets