简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:รวมเทคนิค "บริหารเงิน" และจัดการ "หนี้สิน" ที่สวนทางรายได้ที่หดตัว พร้อมแนวทางลงทุนฝ่าวิกฤติ ช่วง "โควิด-19" ระบาด ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว
นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ปี 2020 ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงกระแทกจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว สถานการณ์ “COVID-19”ยากจะคาดเดา เริ่มส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ “รายได้” ไม่ว่าจะเป็นภาคภาคการท่องเที่ยว ภาคบริการ ภาคธุรกิจ ลากยาวไปถึงภาคการผลิตบางส่วน
ผู้ที่ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับข้องจำนวนมากต้องถูกเลื่อนงานหรือยกเลิกโดยไม่มีกำหนด ซึ่งกระทบต่อรายได้ในแต่ละเดือน โดยเฉพาะคนทำงานกลุ่ม Gig Economy(ลักษณะการทำงานที่ไม่ใช่งานประจำ)
เมื่อ “รายได้หด”แต่ “ค่าใช้จ่าย”และ “หนี้สิน”ยังต่อคิวรอเป็นหางว่าว โดยไม่รู้กำหนดที่แน่นอนว่า สถานการณ์นี้จะจบลงเมื่อไหร่ สิ่งที่ต้องทำคือ “บริหารจัดการเงินให้สอดคล้องหนี้สิน”เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้!
จักรพงษ์ เมษพันธ์ The Money Coachให้คำแนะนำ การบริหารจัดการเงินและการลงทุนในช่วงปี 2020 พาดผ่านวิกฤติโควิด-19 ในไตรมาส 1 นี้ ประกอบไปด้วย 4 เรื่องที่ควรให้ความสำคัญ และต้องลงมือก่อนจะสาย ได้แก่
1. จัดการหนี้เก่า
2. ชะลอการก่อหนี้ใหม่
3. ควบคุมรายจ่าย
4. ลงทุนอย่างระมัดระวัง เพื่อเปิดรับโอกาสในอนาคต
1. จัดการหนี้เก่า
ในกรณีที่มีหนี้ที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน แต่กลับมีรายได้ลดลง ขาดรายได้ หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ไหวเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ควรวางแผนการจ่ายหนี้ให้เรียบร้อยก่อนจะกลายเป็น “หนี้เสีย”
“คนที่จ่ายไม่ไหวจริงๆ แนะนำให้ทำวิธีที่ง่ายที่สุดคือการเจรจากับคู่สัญญาของคุณ อย่าคิดเอง อย่าหลบ อย่าเลี่ยง”จักรพงษ์ กล่าว
กรณีผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโคโรน่าไวรัส ปัจจุบันมีมาตรการต่างๆ จากภาครัฐ และเอกชนออกมาช่วยเหลือพอสมควร ใครที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการช่วยเหลือก็สามารถใช้โอกาสตรงนั้นเพื่อลดภาระได้
แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในข่ายความช่วยเหลือก็สามารถพูดคุยเจรจาการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระหนี้ชั่วขณะได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย พักจ่ายเงินต้นไว้ชั่วคราวซึ่งจะช่วยเบาภาระการผ่อนเงินก้อนใหญ่ๆ ได้ หรืออาจขอเจรจาแบบตรงไปตรงมาว่าขอหยุดชำระชั่วคราวระยะสั้น 3-6 เดือน โดยอาจจะต้องแสดงข้อมูลทางการเงินว่ารายรับรายจ่ายของเราลดลงจนไม่มีศักยภาพที่จะชำระได้ตรงตามเวลาจริง หากสมเหตุสมผล แบงก์ก็อาจจะพิจารณาให้เพื่อแบ่งเบาภาระในช่วงนี้
การเจรจาพักชำระหนี้ หรือลดยอดชำระหนี้ก้อนใหญ่ๆ อย่างสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ จะเป็นทางรอดที่เห็นผลได้ชัดเจนกว่า เมื่อเทียบกับการลดรายจ่ายเพียงอย่างเดียว
จักรพงษ์ อธิบายว่า การเจรจาพักชำระหนี้ หรือลดยอดชำระหนี้ก้อนใหญ่ๆ อย่างสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ จะเป็นทางรอดที่เห็นผลได้ชัดเจนกว่า เมื่อเทียบกับการลดรายจ่ายเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม หากมีการเจรจาหนี้แนะนำให้เจรจาในระยะยาวไว้ก่อน เพราะไม่มีใครรู้ว่าวิกฤติลากยาวไปถึงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 หรือมากกว่านั้น หากสภาวะทางการเงินกลับมาเป็นปกติเร็วกว่าที่คาดค่อยยกเลิกในภายหลัง
“การสร้างรายจ่ายถาวร ในสภาวะที่รายได้ไม่ถาวร หรือ รายรับสั่นคลอนเป็นเรื่องที่อันตราย”
ทั้งนี้ หากเจรจาไว้ครบกำหนดแล้ว แต่สถานการณ์กลับแย่ลง อาจต้องพิจารณากันที่ปลายทางในมิติอื่นๆ เช่น กรณีที่รายได้ไม่กลับมาเลย อาจจะต้องพิจารณาขายทรัพย์สินเดิมๆ ที่มีอยู่ เช่น หุ้น กองทุน เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต หรืออาจจะต้องดึงเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้ในสถานการณ์แบบนี้ระหว่างที่กำลังหารายได้เพิ่มด้วย
2. ชะลอการก่อหนี้ใหม่
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะลุกลามในวงกว้างกว่าที่คาด หากเปรียบเทียบกับปี 2540 เห็นสัญญาณเศรษฐกิจแย่จากการที่ธนาคารมีปัญหา แต่สำหรับโรคระบาดในครั้งนี้ ยากที่จะคาดเดาว่าจะเกิดขึ้นสั้นหรือยาวแค่ไหน
ดังนั้น หากคิดจะสร้างอะไรใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องมีภาระหนี้สินตามมา อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือสร้างหนี้ก้อนใหญ่ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือพิจารณาให้รอบคอบก่อน ถ้าสิ่งที่กำลังจะซื้อไม่จำเป็นจริงๆ ณ เวลานี้ ก็อย่าเพิ่งรีบซื้อ เพราะการสร้างรายจ่ายถาวรในสภาวะที่รายได้ไม่ถาวร หรือรายรับสั่นคลอนเป็นเรื่องที่อันตราย
คนส่วนใหญ่อาจไม่ให้ความสำคัญและไม่อยากจะเก็บเงินสดสำรองไว้แต่สภาวะแบบนี้จะได้เห็นว่า“เงินสำรอง” มีความสำคัญแค่ไหน
3. ควบคุมรายจ่าย
การควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม คือวิธีจัดการเงินสุดเบสิกที่ยังได้ผลดี โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติเช่นนี้เป็นช่วงที่ต้อง “จัดการเงิน” สำหรับส่วนที่จำเป็นและส่วนที่ไม่จำเป็นให้ได้อย่างชัดเจนเพื่อควบคุมให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างราบรื่น
“สถานการณ์แบบนี้ช่วยให้เราเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่า อันไหนคือ need อันไหนคือ want”
สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นและต้องให้ความสำคัญก่อน เช่น การค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของลูก จะต้องถูกจัดสรรไว้เป็นอันดับแรกเมื่อมีรายได้ แล้วค่อยปรับลดค่าใช่จ่ายส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นน้อยกว่าลง อย่างสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า ค่าทำเล็บ ค่ากาแฟที่มีราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในแต่ละเดือนมากขึ้น หรือถ้าเป็นไปได้ในช่วงนี้ก็ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปเลย
4. ลงทุนอย่างระมัดระวัง เพื่อเปิดรับโอกาสในอนาคต
จักรพงษ์ อธิบายว่า สภาวะที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นวัฏจักรวงรอบช่วงเศรษฐกิจที่มักจะมีขาขึ้นขาลงเป็นปกติ แม้จะดูน่ากลัว แต่อย่ากลัวจนถึงขั้นไม่ลงทุนเลย หรือไม่ใช้จ่ายเลย เพราะว่าในช่วงเวลาที่คนอื่นกำลังกลัว เราอาจปันบางส่วนใส่ไว้ในการลงทุนบ้าง เพราะหลายครั้งจะเห็นว่าเมื่อเศรษฐกิจกลับมา เพราะคนที่ยังมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาแบบนี้ก็มักจะได้ผลลัพธ์ ในช่วงที่เศรษฐกิจกลับคืนมาค่อนข้างดีเสมอ
“ตระหนักได้ แต่อย่าตระหนก อย่ากลัวถึงขั้นไม่ลงทุน หรือ ไม่ใช้จ่ายเลย”
อย่างไรก็ตามการลงทุนในช่วงนี้ ควรลงทุนบนความระมัดระวัง สำหรับคนที่ลงทุนแบบทยอยลงทุนในระยะยาว DCA (Dollar Cost Average) เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน SSF ที่เปิดให้ลงทุนวันแรก 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา รวมถึง RMF หรือการลงทุนใดๆ ก็ตามเป็นการลงทุนอย่างต่อเนื่อง หลักการคือการทยอยลงทุนทีละน้อย สถานการณ์แบบนี้มีความจำเป็นที่ต้องลงทุนต่อไป หากเป็นการลงทุนในระยะยาวไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องของหุ้นมากนัก เพราะว่าระยะยาว หุ้นจะมีการปรับตัวกลับมาอยู่เสมอ ฉะนั้น คนที่ลงทุนต่อเนื่องจะได้รับหน่วยลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อทยอยลงทุนต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤติ
“การลงทุนระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ผู้ลงทุนจะได้รับหน่วยลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในสภาวะแบบนี้”
แต่ในกรณีที่มีการลงทุนแบบใช้เงินก้อน หรือซื้อหุ้นรายตัว ช่วงนี้ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ ให้มากขึ้น หากรู้สึกกลัวก็อาจปรับลดการลงทุนได้บ้าง ส่วนคนที่ไม่กลัวความเสี่ยงก็ต้องลงทุนอย่างระมัดระวังกว่าปกติ เพราะดัชนีที่ 1,200 จุด ไม่ได้หมายความว่าซื้อหุ้นได้ทุกตัว หรือหุ้นราคาถูกทุกตัวเพราะยังมีหุ้นบางตัวที่ยังถือว่ามีราคาแพงเกินไป ฉะนั้น ก่อนที่จะลงทุนเพื่อรับโอกาสในช่วงหุ้นร่วงอย่ามองแค่ผลตอบแทน แต่ต้องระมัดระวัง ศึกษาให้เข้าใจ และสอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนของตัวเองด้วย
ก่อนที่จะลงทุนเพื่อรับโอกาสในช่วงหุ้นร่วงอย่ามองแค่ผลตอบแทน แต่ต้องระมัดระวัง ศึกษาให้เข้าใจ และสอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนของตัวเองด้วย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ในช่วงนี้คงไม่มีประเทศไหนน่าเจ้าตามองเท่าประเทศเจ้าภาพโอลิมปิก 2020 อย่าง ญี่ปุ่น อีกแล้ว ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศแถวหน้าของเอเชีย คนญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นคนที่มีวินัยมาก ๆ เคยสงสัยไหมว่าคนที่มีวินัยขนาดนี้
ตารางบอกชีวิต:อายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ?
และแล้วโควิดก็กลับมาา คาดว่าหลายๆคนคงได้รับผลกระทบกันไม่มากก็น้อยใช่ไหมครับ ทางทีมงาน WikiFX ได้รวบรวม 6 ไอเดียวิธีที่จะหาเงินในช่วงโควิด มาให้ทุกคนกันครับ
ทุกคนรู้จักสกุลเงินนี้เป็นอย่างดีแน่นอนครับ แต่ถ้าหากวันพรุ่งนี้ ธนาคารกลางของสหรัฐออกมาประกาศว่า ธนบัตรใบละ USD100 ที่ผลิตจะถูกยกเลิกทั้งหมด แบบนี้แล้วธนบัตร USD100 จะเหลือมูลค่าเท่าไหร่กันครับ?
FBS
ATFX
TMGM
FP Markets
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
ATFX
TMGM
FP Markets
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
ATFX
TMGM
FP Markets
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
ATFX
TMGM
FP Markets
IC Markets Global
STARTRADER