简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทความนี้นำเสนอความสำคัญของการจัดการการเงินในตลาด Forex โดยเฉพาะการจัดการขนาดความเสี่ยงหรือ Position Sizing ซึ่งช่วยนักเทรดกำหนดขนาดการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อลดความเสียหายและสร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุน โดยมีขั้นตอนการคำนวณขนาด Position ที่ประกอบด้วยการกำหนดจุด Stop Loss ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ขนาด Lot และการคำนวณ Lot Size การทำ Position Sizing ช่วยให้นักเทรดควบคุมความเสี่ยงและสร้างกำไรอย่างมีประสิทธิภาพในตลาดที่ผันผวน
สวัสดีนักเทรดทุกท่าน! วันนี้แอดเหยี่ยวจะพามาทำความรู้จักกับศาสตร์แห่งการจัดการการเงิน หรือ Money Management ซึ่งมีองค์ประกอบหลากหลายรวมกันเพื่อช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญคือ Risk Management ซึ่งครอบคลุมหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นขนาดการลงทุน ความน่าจะเป็น โอกาส และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อความเสี่ยง (Risk Reward Ratio)
สำหรับวันนี้ แอดเหยี่ยวจะขอเน้นเฉพาะในส่วนของ Position Sizing หรือการจัดการขนาดความเสี่ยงที่จะลงทุน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้พอร์ตการลงทุนของนักเทรดสามารถทนต่อความผันผวนในช่วงที่พอร์ตเจอกับ Drawdown ได้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเทรดของทุกคนครับ!
.
Position Sizing คืออะไร?
Position Sizing เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) สำหรับการเทรด Forex โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคำนวณขนาดการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง ช่วยจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการเทรด เหมือนกับการเล่นเกมที่ต้องวางเดิมพันเงิน ถ้าทุ่มเงินทั้งหมดในครั้งเดียวแล้วพลาด ก็อาจจะเสียหายจนเกมต้องจบลง แต่หากแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ แล้วเล่นอย่างระมัดระวัง ก็จะมีโอกาสอยู่รอดในเกมได้ยาวนานขึ้น
การเทรดโดยไม่คำนวณขนาด Position ของการลงทุนจะทำให้มีความเสี่ยงสูงเกินไป และยากที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาว เนื่องจาก Position Sizing จะช่วยควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ให้การเติบโตของพอร์ตเป็นไปอย่างมั่นคง เป็นการเทรดที่เน้นความรอบคอบ แตกต่างจากการเสี่ยงโชคซึ่งมักมีการแกว่งตัวของพอร์ตที่รุนแรง
ความแตกต่างระหว่าง Money Management และ Position Sizing
นักเทรดบางคนอาจสงสัยว่า Money Management กับ Position Sizing นั้นเหมือนกันหรือไม่ จริงๆ แล้ว ทั้งสองอย่างนี้ต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น แม้ว่า Position Sizing จะเป็นแค่เครื่องมือหนึ่งในแผนการบริหารเงินทุน แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้นักเทรดรักษาเสถียรภาพของพอร์ตและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเทรดแต่ละครั้ง
.
ขั้นตอนการคำนวณขนาด Position Size ที่เหมาะสม
การทำ Position Sizing เป็นกระบวนการสำคัญในการจัดการความเสี่ยง โดยการคำนวณขนาด Position ที่เหมาะสมจะช่วยให้ความเสี่ยงของแต่ละออเดอร์สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบเทรดของเรา เพื่อให้เข้าใจวิธีการคำนวณ Position Size อย่างถูกต้อง เราจำเป็นต้องทำตามขั้นตอนดังนี้:
ขั้นตอนแรกของการคำนวณ Position Size คือการกำหนดจุด Stop Loss ซึ่งคือระดับราคาที่คุณจะออกจากการเทรดหากราคาตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับตำแหน่งที่เปิดไว้ การเลือกจุด Stop Loss ควรพิจารณาตามการวิเคราะห์ตลาด ไม่ใช่ตามขนาด Position ที่จะเปิด เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดร้ายแรงที่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่เกินควบคุม
ในกรณีของ Forex ระยะของ Stop Loss สามารถวัดได้ในหน่วย pips โดยตัวอย่างเช่น:
เมื่อทราบจุด Stop Loss แล้ว ก็สามารถนำไปใช้ในการคำนวณขนาด Position ที่เหมาะสมต่อไป
ในขั้นตอนนี้ เทรดเดอร์จะต้องถามตัวเองว่า “เรายอมรับการขาดทุนได้เท่าไหร่ต่อการเทรดหนึ่งครั้ง?” การกำหนดระดับความเสี่ยงนี้จะช่วยให้คุณควบคุมการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม โดยปกติแล้ว เทรดเดอร์มักกำหนดความเสี่ยงเป็นเปอร์เซ็นต์ของขนาดพอร์ต เช่น:
ความเสี่ยงที่แตกต่างกันจะส่งผลให้ผลลัพธ์และเสถียรภาพของพอร์ตแตกต่างกันตามไปด้วย หากคุณเลือกความเสี่ยงที่สูง โอกาสในการสร้างผลตอบแทนก็อาจมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น เทรดเดอร์ควรพิจารณาระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมตามเป้าหมายและสไตล์การเทรดของตนเอง
ขนาดพอร์ต | 1% | 3% | 5% |
$ 100,000 | $ 1,000 | $ 3,000 | $ 5,000 |
$ 500,000 | $ 5,000 | $ 15,000 | $ 25,000 |
$ 1,000,000 | $ 10,000 | $ 30,000 | $ 50,000 |
$ 2,500,000 | $ 25,000 | $ 75,000 | $ 125,000 |
ในการเทรด Forex ขนาดของ Position Size จะถูกกำหนดเป็นจำนวน Lots โดยแต่ละประเภท Lot จะมีค่า Pip ที่แตกต่างกัน ซึ่งค่า Pip คือจำนวนเงินที่เปลี่ยนแปลงตามความผันผวนของราคาตลาดในแต่ละหน่วย (pip) ขนาด Lot ในการเทรดจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก:
เมื่อเลือกประเภท Lot ในการเทรด เทรดเดอร์สามารถกำหนดขนาดของ Position ได้ตามความเหมาะสม เช่น การเทรด 10 Micro Lots จะเทียบเท่ากับ 1 Mini Lot และการเทรด 10 Mini Lots จะเทียบเท่ากับ 1 Standard Lot
การตรวจสอบค่า Pip ในคู่สกุลเงินต่างๆ
นอกจากนี้ ค่า Pip จะแตกต่างกันไปตามคู่สกุลเงิน เช่น คู่เงิน EUR/USD, USD/JPY, GBP/USD เป็นต้น เทรดเดอร์สามารถใช้เว็บไซต์เช่น mataf.net เพื่อตรวจสอบค่า Pip ที่แม่นยำสำหรับแต่ละคู่สกุลเงิน โดยค่า Pip ที่แสดงนี้จะช่วยให้คุณคำนวณ Position Size ได้แม่นยำขึ้นตามสกุลเงินที่คุณกำลังเทรด
Step 4: คำนวณ lot size
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ตรงนี้ให้เรานำขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าว มาหาขนาด lot ที่จะเปิด โดยใช้สูตร
(ความเสี่ยงต่อการเทรด) / (Stop Loss ในหน่วย pips) = จำนวน Mini Lots (ใช้ Mini เพราะ 1 pip = $1)
ยกตัวอย่างเช่น:
นั่นหมายความว่า คุณควรเปิด 0.8 Mini Lots หรือ 8 Micro Lots นั่นเองครับ
เห็นไหมละครับว่า ไม่ยากเลย เพียง 4 ขั้นตอนก็สามารถคำนวณหา Position size ในการเทรดได้แล้ว ลองนำหลักการดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้การเทรดของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปกันนะครับ
สรุป
การทำ Position Sizing คือการคำนวณขนาดที่เหมาะสมของแต่ละออเดอร์ เพื่อให้ความเสี่ยงของพอร์ตอยู่ในระดับที่คงที่ ช่วยควบคุมการขาดทุนให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมและมีโอกาสสร้างกำไรตามระบบเทรดที่วางไว้ นอกจากนี้ Position Sizing ยังเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการการเงิน ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการเทรดอย่างมั่นคงในตลาดที่มีความผันผวน
ขอบคุณข้อมูลจาก forexthai
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รีวิวโบรกเกอร์ easyMarkets
บทเรียนจากประสบการณ์เทรด Forex เกือบ 10 ปีของนักเทรดเน้นว่า เครื่องมือเยอะไม่ได้ช่วยเทรดรอด แต่ควรมีระบบที่ถนัด, การแก้พอร์ตมักเสี่ยงเสียหายหนัก แนะนำตั้ง SL, มือใหม่ควรเริ่มด้วยทุนน้อยเพื่อเรียนรู้ตลาดที่ต้องใช้เวลานิ่ง, และระวังกลุ่มมิจฉาชีพหรือโค้ชปลอมที่หลอกลวงผ่านโบรกเถื่อนและการสร้างภาพ ความระมัดระวังและการเรียนรู้ด้วยตัวเองคือสิ่งสำคัญ
บทวิเคราะห์ทองคำ
การเทรด Forex ต้องเสียภาษีไหม? หรือรายได้จากการเทรดถูกจัดอยู่ในประเภทไหน? วันนี้แอดเหยี่ยวรวบรวมคำตอบมาให้ครบถ้วน
HFM
Tickmill
FP Markets
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global
HFM
Tickmill
FP Markets
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global
HFM
Tickmill
FP Markets
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global
HFM
Tickmill
FP Markets
Neex
GO MARKETS
IC Markets Global