简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจ การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาและรูปแบบราคา
สวัสดีครับนักเทรดทุกท่าน! วันนี้แอดเหยี่ยวจะพาไปทำความรู้จักกับ 2 กลยุทธ์เทรดพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ เพื่อการวิเคราะห์แนวโน้มของการซื้อขาย ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาว และกลยุทธ์เหล่านี้ยังเป็นที่นิยมใช้ในตลาด Forex และสินทรัพย์ CFD อื่น ๆ อีกด้วย ในการเทรด เรามีวิธีการวิเคราะห์หลัก ๆ อยู่สองแบบ คือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และ การวิเคราะห์ทางเทคนิค แล้วสองแบบนี้แตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
.
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์เศรษฐกิจและเหตุการณ์บ้านเมืองที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงิน เช่น GDP ของประเทศ ระดับการว่างงาน หรือภาวะการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์นี้จะถูกเรียกว่า “นักเทรดสายข่าว” เพราะต้องคอยอัปเดตข้อมูลตลอดเวลา
ตัวอย่าง: การวิเคราะห์ค่าเงิน EUR/USD
ภาวะเศรษฐกิจของยูโรโซนและสหรัฐอเมริกา: ถ้า GDP ของยูโรโซนเติบโตดีขึ้นเมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ค่าเงินยูโรอาจจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน หาก GDP ของสหรัฐฯ เติบโตดีขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็อาจจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร
นโยบายของธนาคารกลาง: ถ้าธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เพราะนักลงทุนจะมองเห็นโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ถ้าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดอัตราดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจจะอ่อนค่าลง เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนในสหรัฐฯ ลดลง
เหตุการณ์การเมืองและสังคม: ถ้ามีเหตุการณ์การเมืองที่มั่นคงในยูโรโซน ค่าเงินยูโรอาจจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของยูโรโซน ในทางตรงกันข้าม หากมีเหตุการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอนในสหรัฐฯ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจจะอ่อนค่าลง
จุดเด่น
ข้อมูลในวงกว้าง: เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาว ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินต่าง ๆ เพื่อดูแนวโน้มตลาด
การประเมินอย่างละเอียด: วิเคราะห์เชิงลึกจากหลายแหล่งข้อมูล ทำให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของสินทรัพย์
จัดการความเสี่ยงได้ดี: การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานช่วยในการจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ
จุดด้อย
ซับซ้อนและใช้เวลานาน: ต้องศึกษาและเข้าถึงข้อมูลตลาดที่เชื่อถือได้
ขึ้นอยู่กับทักษะของเทรดเดอร์: ต้องเข้าใจพื้นฐานการเทรดเป็นอย่างดี
ข้อจำกัดในการใช้งาน: ไม่เหมาะสำหรับสินทรัพย์บางประเภท เช่น commodities และ cryptocurrencies
ไม่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะสั้น: การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่สนใจความผันผวนระยะสั้น
.
การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คือ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการดูกราฟและรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตเพื่อคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต ใช้ได้ทั้งตลาดหุ้น ทองคำ Forex คริปโทเคอร์เรนซี และอื่น ๆ
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่
1.กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) ใช้วิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา พิจารณาที่บริเวณ “แนวรับ-แนวต้าน” เทรดเดอร์สามารถเห็น ราคาเปิด, ปิด, ราคาสูงสุด และต่ำสุดจากแท่งเทียน
2.กราฟราคา (Chart Pattern) ดูจากชุดของแท่งเทียนที่รวมกันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ วิธีนี้ช่วยในการระบุทิศทางแนวโน้มของราคาที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงนั้น ๆ
3.เทคนิค Fibonacci Retracement ใช้เพื่อดูทิศทางของกราฟราคา หาราคาเป้าหมายและจุดที่ราคาพักตัว
4.ใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) เช่น Moving Average ปริมาณการซื้อขาย (Volume) หรือ เครื่องมืออย่าง RSI, Stochastic เป็นต้น
ตัวอย่าง: การวิเคราะห์กราฟ EUR/USD
กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern)
หากพบรูปแบบ Bullish Engulfing ในกราฟรายวันของ EUR/USD ซึ่งประกอบด้วยแท่งเทียนสีแดงตามด้วยแท่งเทียนสีเขียวที่ครอบคลุมทั้งแท่งเทียนแดง นี่อาจเป็นสัญญาณว่าราคามีแนวโน้มจะกลับตัวขึ้น
กราฟราคา (Chart Pattern)
หากเห็นรูปแบบ Head and Shoulders ในกราฟรายวันของ EUR/USD โดยมีหัวและไหล่ชัดเจน นี่อาจเป็นสัญญาณว่าราคามีแนวโน้มจะกลับตัวลง
Fibonacci Retracement
หากราคาของ EUR/USD ลดลงจากจุดสูงสุดและฟื้นตัวขึ้นมาใกล้ระดับ 61.8% ของ Fibonacci Retracement นี่อาจเป็นจุดที่ราคาพักตัวและอาจจะกลับตัวลงอีกครั้ง
อินดิเคเตอร์ (Indicator)
หากใช้ Moving Average Crossover โดยเฉพาะค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันตัดขึ้นผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน นี่อาจเป็นสัญญาณซื้อที่แสดงถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น
จุดเด่น
เห็นภาพรวมตลาดรวดเร็ว: คาดเดาจุดซื้อขายได้ชัดเจน
บริหารความเสี่ยงได้ดี: ใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงร่วมกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้
จุดด้อย
ต้องอาศัยประสบการณ์: ต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ อย่างชำนาญ
.
ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน : ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจ
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาและรูปแบบราคา
สุดท้ายนี้ แอดเหยี่ยวอยากฝากไว้ว่าในโลกของการเทรดที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งล้วนต้องอาศัยการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเข้าใจและประสบการณ์ของนักเทรดเอง การวิเคราะห์ทั้งสองเทคนิคสามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับนักเทรดมือใหม่ แนะนำให้ศึกษาทั้งสองวิธีเพื่อค้นหาความถนัดของตัวเองหรือปรับใช้ด้วยกันให้เหมาะสมกับการเทรดของคุณนะครับ
.
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก STARTRADER
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สรุป 5 ข้อที่ต้องเช็กก่อนเข้าออเดอร์เทรด 1. วางแผนเกณฑ์การเทรดให้ชัดเจน 2. รอสัญญาณคอนเฟิร์มก่อนเข้าออเดอร์ 3. ตั้งค่า Stop Loss เป็น Pips 4. คำนวณผลตอบแทนและความเสี่ยง (Risk/Reward) 5. คำนวณ Lot Size ให้เหมาะสม
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
บทวิเคราะห์ราคาบิตคอยน์
การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มผลกำไรจากการเทรด Forex
GO MARKETS
HFM
IQ Option
Pepperstone
OANDA
XM
GO MARKETS
HFM
IQ Option
Pepperstone
OANDA
XM
GO MARKETS
HFM
IQ Option
Pepperstone
OANDA
XM
GO MARKETS
HFM
IQ Option
Pepperstone
OANDA
XM