简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แนวรับ แนวต้าน คือ หนึ่งในเทคนิคในการวิเคราะห์การเทรดด้วย การคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาเพื่อมองหาจุดที่จะเข้าไปทำรายการที่ได้เปรียบ
บทความนี้มือใหม่ต้องอ่าน!! เพราะการวิเคราะห์แนวรับและแนวต้าน คือหนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และเป็นกลยุทธ์ที่จะเข้ามาช่วยให้นักเทรดตัดสินใจหรือคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำขึ้น แอดเหยี่ยวอยากชวนมือใหม่ มารู้จักกับ แนวรับ แนวต้านว่ามีประเภทอะไรบ้าง รวมไปถึงเทคนิคการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดด้วยครับ
แนวรับ แนวต้าน คืออะไร?
แนวรับ แนวต้าน คือ หนึ่งในเทคนิคในการวิเคราะห์การเทรดด้วย การคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาเพื่อมองหาจุดที่จะเข้าไปทำรายการที่ได้เปรียบ
แนวรับ (Support) คือ ระดับราคาที่คาดการณ์ว่าแรงซื้อจะเข้ามาหนุนราคา เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาร่วงลงต่อ และจะเด้งกลับไปทุกที วิธีสังเกตแนวรับ คือ บริเวณที่กราฟลงมาแตะบริเวณนั้นมากที่สุด
แนวต้าน (Resistance) คือ ระดับราคาที่คาดการณ์ว่าแรงขายจะเข้ามาต้านราคา เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาพุ่งขึ้นต่อ
ส่วน “แนวต้าน” ก็จะตรงกันข้ามกับแนวรับ คือ “แนวต้าน” เป็นระดับราคาที่มักจะมีแรงขายเทลงมาเนื่องจากเป็นระดับราคาที่นักลงทุนพลาดไม่ได้ขายก่อนหน้านั้น
ดังนั้น หากให้อธิบายเพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้นล่ะก็ แนวรับและแนวต้าน เปรียบเสมือน “กำแพง” ที่มองไม่เห็นในกราฟราคา เป็นจุดที่ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มที่จะ “เด้งกลับ” หรือ “หยุด” การเคลื่อนที่
ความสำคัญของแนวรับแนวต้าน
แนวรับ แนวต้าน แสดงระดับราคาที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา
แนวรับแนวต้าน นั้นคือระดับราคาที่สะท้อนอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)
แนวต้านแนวรับ แสดงระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน ที่ถูกกำหนดขึ้นเองตามมุมมองของแต่ละคน
แนวรับ แนวต้าน คือส่วนสำคัญของตลาดการเงินทุกชนิด โดยแนวรับและแนวต้านใน Forex นั้นคล้ายกับในตลาดหุ้น
ประเภทของ แนวรับ แนวต้าน
สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.ระดับแนวรับและแนวต้านแบบคงที่
คือ จุดราคาที่เคยเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอดีต เช่น จุดสูงสุด/ต่ำสุดในช่วง 52 สัปดาห์ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ราคาที่เคยเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอดีต ซึ่งนักเทรดมักจะใช้ข้อมูลในอดีตคาดการณ์แนวโน้มของตลาดว่ามีพฤติกรรมอย่างไรในอดีตเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ในอดีตไม่สามารถนำมารับประกันผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ นักเทรดจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณในการเทรดอย่างรอบคอบ
2.แนวรับและแนวต้านแบบไดนามิก
คือ การใช้วิธีอิงจากตัวชี้วัดทางเทคนิค เช่น เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) เส้น Bollinger Bands ซึ่งแนวรับและแนวต้านประเภทนี้จะเปลี่ยนแปลงตามเวลา และมักจะมีการปรับตามการเปลี่ยนของราคาล่าสุดเพื่อวางแผนและตัดสินใจเรื่องการเข้าทำรายการ เรียกง่ายๆ ก็คือ เป็นการคาดการณ์และวางแผนกับสถานการณ์ปัจจุบันของตลาด หากมีจุดที่เห็นแล้ววิเคราะห์ได้ว่าเป็นโอกาสก็จะพร้อมปรับเปลี่ยนแผนการในการทำรายการทันที
3.ระดับแนวรับและแนวต้านแบบกึ่งไดนามิก
เป็นช่วงราคาที่ราคาทดสอบและยืนยันซ้ำๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงซื้อ/ขายที่ระดับนั้น
วิธีการเทรดด้วยเทคนิค แนวรับ แนวต้าน
การซื้อที่แนวรับ: เมื่อราคาร่วงลงมาแตะแนวรับ คาดการณ์ว่าแรงซื้อจะเข้ามาหนุนราคา จึงเป็นโอกาสซื้อ
การขายที่แนวต้าน: เมื่อราคาพุ่งขึ้นไปแตะแนวต้าน คาดการณ์ว่าแรงขายจะเข้ามาต้านราคา จึงเป็นโอกาสขาย
การตั้ง Stop-Loss: วาง Stop-Loss ไว้ใต้แนวรับ (สำหรับการซื้อ) หรือเหนือแนวต้าน (สำหรับการขาย) เพื่อจำกัดความเสี่ยง
การใช้ตัวชี้วัดอื่นประกอบ: ใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคอื่นๆ เช่น RSI, MACD เพื่อยืนยันสัญญาณซื้อ/ขาย
สรุป
แนวรับ คือ ระดับราคาที่มีความต้องการซื้อมาก ส่วนแนวต้าน คือ ระดับราคาที่มีคนต้องการขายมาก แนวรับและแนวต้าน เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักลงทุน ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของราคา สามารถคาดการณ์จุดเปลี่ยน และช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจซื้อ/ขายได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาหาความรู้ ฝึกฝน และใช้กลยุทธ์นี้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก exness
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ก่อนจะพูดถึงขนาด Lot ที่เหมาะสม เรามาทำความรู้จักกับมันกันก่อน Lot ในตลาด Forex ก็คือ "หน่วย" ของการซื้อขายครับ พูดง่าย ๆ มันเหมือนขนาดชิ้นของเค้ก ถ้าเราซื้อเค้กชิ้นใหญ่ เราก็จะอิ่ม (หรือขาดทุน) เยอะกว่าเค้กชิ้นเล็ก!
มาเป็นผู้ชนะราคาปีใหม่กันเถอะ! มาเป็นผู้ชนะราการทำนายความผันผวนของฟอเร็กซ์!
แบงก์ชาติอินโดนีเซียหั่นดอกเบี้ย 0.25%
บทวิเคราะห์ทองคำ
Neex
OANDA
Octa
TMGM
IC Markets Global
IB
Neex
OANDA
Octa
TMGM
IC Markets Global
IB
Neex
OANDA
Octa
TMGM
IC Markets Global
IB
Neex
OANDA
Octa
TMGM
IC Markets Global
IB