简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
ตัวเลขเศรษฐกิจน่าติดตาม
วันอังคารที่ 14 พ.ย. 2023
•20.30 น. : ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือน/เดือน (CPI m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.4% ตัวเลขคาดการณ์ 0.1%
•20.30 น. : ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ปี/ปี (CPI y/y)
ตัวเลขครั้งก่อน 3.7% ตัวเลขคาดการณ์ 3.3%
วันพุธที่ 15 พ.ย. 2023
•20.30 น. : ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์กสหรัฐฯ (Empire State Manufacturing Index)
ตัวเลขครั้งก่อน -4.6 ตัวเลขคาดการณ์ -2.7
•20.30 น. : ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.5% ตัวเลขคาดการณ์ 0.1%
•20.30 น. : ดัชนีค้าปลีกสหรัฐฯ (Retail Sales m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.7% ตัวเลขคาดการณ์ -0.3%
วันพฤหัสบดีที่ 16 พ.ย. 2023
• 20.30 น. : ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 217K ตัวเลขคาดการณ์ 222K
ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน พร้อมติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดและความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย
เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากตลาดยังคงกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยเฉพาะในกรณีที่ อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด หรือ เร่งตัวขึ้นสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ในส่วนของค่าเงินบาท ปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ หลังตลาดกลับมากังวลทั้งประเด็นแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดและความเสี่ยงเสถียรภาพการคลังของไทย นอกจากนี้ ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวยังส่งผลให้ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติมีทิศทางไม่แน่นอน อนึ่ง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนออกมาดีกว่าคาด ก็อาจช่วยให้ทั้งเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น หรือ ชะลอการอ่อนค่าได้ ทั้งนี้ เราประเมินว่า การอ่อนค่าของเงินบาทอาจจำกัดอยู่ในโซน 36.25-36.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังวะทยอยขายเงินดอลลาร์
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม โดยนักวิเคราะห์ต่างมองว่า การปรับตัวลดลงของราคาพลังงานอาจส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น +0.1%m/m หรือ +3.3%y/y ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทว่า ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมผลของราคาอาหารและพลังงาน อาจยังคงเพิ่มขึ้น +0.3%m/m หรือ +4.1%y/y หลังราคาสินค้าบางส่วนอาจชะลอตัวในอัตราน้อยลง อาทิ ราคารถยนต์มือสอง ซึ่งการชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในส่วนของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ช้ากว่าที่เฟดต้องการ อาจทำให้บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดยังคงมองว่า เฟดมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือ คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (ซึ่งต้องรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้) อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า แนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ส่งสัญญาณชะลอตัวลงมากขึ้น กอปรกับแนวโน้มการบริโภคของสหรัฐฯ ที่จะชะลอลงมากขึ้น ท่ามกลางแรงกดดันจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น (หลัง 20% ชาวอเมริกันจะเริ่มกลับมาจ่ายหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ Student Loans) และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ก็อาจทำให้ เฟดไม่สามารถเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ นอกจากนี้ หากสมมติฐานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนักและเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) นั้นถูกต้อง เราคงมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยลง ได้เร็วขึ้นและมากกว่าที่ตลาด รวมถึงเฟดกำลังคาดการณ์อยู่ ซึ่งภาพดังกล่าว อาจส่งผลให้ ทั้งบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์มีแนวโน้มปรับตัวลดลงได้พอ
2. ฝั่งยุโรป – ตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 อาจขยายตัวเพียง +0.1%y/y กดดันโดยภาวะเงินเฟ้อสูงและอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซนที่มีทิศทางชะลอลง อาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับล่าสุด เช่นเดียวกันกับธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ก็อาจตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง หากอัตราเงินเฟ้อ CPI อังกฤษ เดือนตุลาคม ชะลอลงสู่ระดับ 4.7% จาก 6.7% ในเดือนก่อนหน้า หลังภาพรวมเศรษฐกิจอังกฤษก็ชะลอตัวลงเช่นเดียวกันกับเศรษฐกิจยูโรโซน ทั้งนี้ ในช่วงนี้ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญฝั่งยุโรป เราประเมินว่า สกุลเงินฝั่งยุโรปอาจผันผวนไปตาม ทิศทางตลาดหุ้นยุโรป ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน
3. ฝั่งเอเชีย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจรายเดือนของจีน โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า เศรษฐกิจจีนแม้จะมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ในเดือนตุลาคม สะท้อนผ่านยอดค้าปลีกที่อาจโต ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) และยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) อาจขยายตัว ทว่า ภาพการฟื้นตัวดังกล่าวก็ยังมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนประเมินว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) อาจลดอัตราดอกเบี้ย MLF 1 ปี ลง -10bps สู่ระดับ 2.40% เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น ตลาดมองว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 อาจพลิกกลับมาหดตัวลง -0.4% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังภาคการส่งออกชะลอตัวลง ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ ขณะเดียวกัน ยอดการนำเข้าก็ปรับตัวสูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินเยนญี่ปุ่นและราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยโมเมนตัมเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ชะลอลงอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังไม่สามารถใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้ในปีนี้ ทั้งนี้ ในส่วนนโยบายการเงิน ตลาดมองว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 6.50% หลังจาก BSP ได้เซอไพรส์ตลาดด้วยการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งก่อน จากความกังวลแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงช้ากว่าที่ BSP ต้องการ
4. ฝั่งไทย –ตลาดการเงินไทยอาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อมาตรการ Digital Wallet โดย หากพิจารณาจากแรงขายหุ้นและบอนด์ รวมถึงการอ่อนค่าลงของเงินบาทล่าสุด อาจประเมินได้ว่า ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลต่อความเสี่ยงเสถียรภาพการคลังของไทยมากขึ้น
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า Bitcoin และ Ethereum จะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและมีแนวคิดแบบกระจายศูนย์เหมือนกัน แต่พวกมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง Bitcoin ถูกออกแบบมาให้เป็นทางเลือกแทนเงินสดหรือทองคำในโลกดิจิทัล มันมีโครงสร้างที่เรียบง่ายและมุ่งเน้นการเป็นแหล่งเก็บมูลค่า ในทางกลับกัน Ethereum เป็นแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นสูง ใช้สำหรับพัฒนาแอปพลิเคชัน เช่น DeFi (การเงินแบบกระจายศูนย์), NFT (สินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน) และการใช้งานอื่น ๆ ในโลก Web3 การที่ Ethereum สามารถรองรับการเขียนโค้ดในธุรกรรมได้ ทำให้มันกลายเป็น "บล็อกเชนสำหรับนักพัฒนา" และมีความเร็วในการทำธุรกรรมที่เหนือกว่า
นับถอยหลังสู่ WikiEXPO Dubai 2024
บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญต่ออนาคตของกฎระเบียบทางการเงินและการปฏิบัติตามข้อกำหนด
จิตวิทยาการเทรด หรือ Mindset คือหัวใจสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แค่การเรียนรู้กลยุทธ์หรือการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ยังต้องเรียนรู้การจัดการอารมณ์ ความกลัว ความโลภ และความอยากเอาชนะ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ Rande Howell นักจิตวิทยาการเทรดชื่อดัง แนะนำว่า การเปลี่ยนมุมมองต่อความล้มเหลว การควบคุมเสียงวิจารณ์ในใจ และการฝึกสมาธิ ช่วยให้เรารับมือกับความไม่แน่นอนในการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเทรดที่ดีต้องบาลานซ์ทั้ง ความฉลาดทางปัญญา (IQ) และ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เพราะการเทรดไม่ใช่แค่การชนะหรือแพ้ แต่คือเกมแห่งความน่าจะเป็น ที่ต้องอาศัยสติ สมาธิ และวินัยเพื่อความสำเร็จในระยะยาว
HFM
VT Markets
Tickmill
STARTRADER
FxPro
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Tickmill
STARTRADER
FxPro
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Tickmill
STARTRADER
FxPro
IC Markets Global
HFM
VT Markets
Tickmill
STARTRADER
FxPro
IC Markets Global