简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เรียกได้ว่าได้เกิดกระแสฮือฮาเป็นอย่างมากเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาประกาศเรื่อง ห้ามธนาคารในประเทศไทยลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลเกิน 3% ของกองทุน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างมากในแวดวงนักลงทุน
เรียกได้ว่าได้เกิดกระแสฮือฮาเป็นอย่างมากเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาประกาศเรื่อง ห้ามธนาคารในประเทศไทยลงทุนในสินทรัพย์ดิจิตอลเกิน 3% ของกองทุน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เป็นอย่างมากในแวดวงนักลงทุน วันนี้ WikiBit ขอเสนอเนื้อหาที่ ส่อแววเกิดกระแสดราม่า ระหว่าง เมเนอร์เจอร์ออนไลน์ กับบิทคับ
เมื่อเว็บไซต์ข่าวชื่อดัง Manager Online หรือชื่อที่พวกเราคุ้นเคยกันอย่างดีคือ สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ ซึ่งเป็นสำนักข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการบ้านการเมืองชื่อดังได้ออกมาเผยแพร่บทความ ดีล SCB. กับบิทคับ อาจส่อแววล่ม ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 ซึ่งตรงนี้ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นผู้มาก่อนกาลได้หรือไม่? เพราะทางผู้ Manager Online ได้กล่าวถึง Big Deals ของทาง Bitkub (แพลตฟอร์มกระดานเทรด คริปโตเคอร์เร้นซี่ สัญชาติไทยที่มีผู้เปิดบัญชีอยู่กว่า 3 ล้านบัญชี)
SCBx (บริษัท โฮลดิ้งส์ เพื่อเป็นบริษัทในการลงทุนธุรกิจต่าง ๆ ของ SCB ที่เป็นธนาคารที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศไทย) ก่อนหน้านี้เคยเกิดกระแสฮือฮาจากการที่ SCBx ได้เข้าไปซื้อหุ้น จากทาง Butkub ถึง 51% ซึ่งเคยทำให้คุณท๊อป จิรายุส ถึงกลับต้องกลืนน้ำลายตัวเองมาแล้วที่ได้เข้าไปร่วมทุนกับ ธนาคาร ซึ่งอาจจะไม่ตรงวัตถุประสงค์ของการเป็น Decentralized Finance ในเรื่องการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านธนาคาร หรือการโดนควบคุมจากรัฐ
ส่วนด้านของ SCBx เองก็มีเป้าหมายที่หวังจะเข้าทางลัด เพราะต้องการสร้างการเติบโตและมูลค่าในระยะยาวตามบริบทของโลกการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Big deal ในครั้งนี้ได้มีจำนวนลงทุนมหาศาล มูลค่าการลงทุนสูงกว่า 17,850 ล้านบาท และทำให้หุ้นของ SCB และราคาเหรียญของ คับคอยน์ (KUB)ในช่วงเวลานั้นพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกว่า WIN-WIN กันทั้งสองฝ่าย
Wikibit จะสรุปให้ฟังในเนื้อหาที่ Manager Online ได้วิเคราะห์ ของดีล บิทคับ และ SCBx ไว้ดังนี้
- เหตุใดทาง Manager Online ถึงได้กล่าวว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่อแววล่มเนื่องจาก
การทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องออกมาเป็นที่น่าพอใจ หรือเรียกว่า “ตรงปก” และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสํญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน
- ความจริงเกี่ยวกับดีลในครั้งนี้ ที่ผ่านมาที่เราได้ยินกันว่า SCBx ซื้อ Bitkub นั้นเป็นเรื่องจริง แต่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เพราะทาง Manager Online ได้กล่าวไว้ว่า ขณะนี้ซูเปอร์ดีลระหว่าง SCBX กับ Bitkub อยู่ในการพิจารณาของแบงก์ชาติ ซึ่งเท่ากับว่าดีลในครั้งนี้ยังไม่ได้ถูกต้อง และในเวลาปัจจุบัน SCBx ยังไม่ได้ครอบครองหุ้น 51%
- ท่าทีของสถานการณ์โลกที่ผันผวนเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ผลกระทบจากภัยพิบัติโควิดระบาด และวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน อาจส่งผลให้ดีลในครั้งนี้น่าจะมีมูลค่าหดหายลดไปอีก
- ทาง Manager Online ยังได้ออกมาพูดถึงเรื่องที่ความจริงแล้ว ก่อนหน้าที่ดีลนี้จะจบลงที่ SCBx คุณท๊อป จิรายุส CEO ของบิทคับเอง เคยเร่เสนอขายหุ้นให้บรรดาเศรษฐีทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งน่าคิดว่า ทำไมเศรษฐีนายทุนทั้งหลายจึงปฏิเสธ ต่อมานักวิเคราะห์เชื่อกันว่า สาเหตุที่หลายคนปฏิเสธบิทคับ อาจจะเห็นว่ามูลค่าที่ท็อปเสนอมานั้นสูงเกินจริง ขณะที่คริปโตฯ เป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างจาก “บ่อนพนัน” โอกาสที่จะให้ผลประโยชน์คุ้มค่าในการลงทุนนั้นประเมินยาก
- ข้อสงสัยในเรื่อง รายได้กับวอลลุ่ม รายได้กับปริมาณการซื้อขายของ Bitkub เพราะจากข้อมูลที่นำเสนอมาด้วยวอลุ่มซื้อขายรวม 9 เดือน 1.03 ล้านล้านบาท กับค่าธรรมเนียม 0.25% นั้นไม่สามารถออกดอกผลมาเป็นรายได้ถึงระดับ 3.27 พันล้านบาทได้ และน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 พันล้านบาทเพียงเท่านั้น ซึ่งตรงนี้คงต้องรอดูว่าจะผ่านการประเมินจากเหล่า Stakeholder ของทาง SCBx หรือไม่?
-ความจริงที่ว่าจริงๆแล้ว ผู้คุมกฎอย่างแบงก์ชาติ-ก.ล.ต.จะยอมหรือไม่ เพราะหลังจากเรื่อง ดีลนี้ ถูกประกาศออกไป ได้นำไปสู่ความเข้มงวดของแบงก์ชาติมายิ่งขึ้น จนถึงตีกรอบไว้ชัดเจนเป็นกฎเหล็ก ว่าถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินอย่างไร แบงก์ต่างๆ
ยังมีหน้าที่รับเงินฝากจากประชาชน เพราะฉะนั้นการดำเนินการใดๆ ที่จะนำความเสี่ยงมาสู่แบงก์ ธปท.จะไม่ยอมให้เกิดขึ้นเด็ดขาด!
และนี่คือบทสรุปที่ทาง Wikibit ได้แกะมาจากบทวิเคราะห์ที่ทาง Manager Online ได้เขียนไว้ ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับกฎหมายที่แบงก์ชาติไทยออกแนวทางคุมห้ามธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นธุรกิจ Crypto เกิน 3% ของเงินกองทุน สกุลเงินดิจิตอล ทั้งนี้อาจจะต้องคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะหาก SCB ไม่ได้ถือหุ้นบิทคับแล้ว แล้วคงต้องคอย ดูท่าทีต่อไป บิทคับ จะออกไปในทิศทางไหน เพราะ ก.ล.ต ก็ได้ออกมาซ้ำเติมเพิ่มอีกว่าห้ามมิให้ใช้เหรียญคริปโต ในเชิงการค้า แต่ใช้ได้ในการเทรดเพียงอย่างเดียว และเท่ากับว่า ก่อนหน้านี้ที่ออกประกาศมาจะเป็นการปั่นราคาหรือไม่ หรือ คุณคิดว่าบิทคับ จะแก้เกมในครั้งนี้ได้อย่างไรลองมาแชร์กันหน่อยนะคะ
การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
FxPro
FXTM
XM
ATFX
Octa
IC Markets Global
FxPro
FXTM
XM
ATFX
Octa
IC Markets Global
FxPro
FXTM
XM
ATFX
Octa
IC Markets Global
FxPro
FXTM
XM
ATFX
Octa